น้ำกับสงกรานต์?, น้ำกับสงกรานต์? หมายถึง, น้ำกับสงกรานต์? คือ, น้ำกับสงกรานต์? ความหมาย, น้ำกับสงกรานต์? คืออะไร
น้ำกับสงกรานต์?
nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp nbsp ldquo สารคดี rdquo คิดจะทำเรื่องน้ำหรือไม่ โดยเฉพาะในประเด็นที่เมืองไทยเป็นสังคมที่อิงอยู่กับน้ำ พิธีกรรมต่าง ๆ ของไทยก็ล้วนผูกพันหรืออิงอยู่กับน้ำทั้งสิ้น nbsp หวังว่าจะได้อ่านเรื่องนี้บ้าง
เรื่องน้ำน่าสนใจจริง ๆ “ ซองคำถาม ” จะลองตอบคำถามนี้ดู โดยจะมองเรื่องชีวิตไทยกับน้ำด้วยการใช้ประเพณีสงกรานต์เป็นโจทย์ ไทยเป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียที่ดำรงชีวิตแบบ “ ชาวน้ำ ” ด้วยการตั้งบ้านเมืองอิงแม่น้ำเป็นสำคัญ ยึดอาชีพเกษตรกรรมโดยอาศัยน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตมาช้านาน น้ำจึงแทรกซึมอยู่ในทุกส่วนของความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมจิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ศิลปะพื้นบ้าน และพิธีกรรม โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทยที่เราจะเห็นถึงความสัมพันธ์ของน้ำกับพิธีกรรมได้อย่างชัดเจนที่สุด เหตุที่ไทยเรายึดเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ในสมัยก่อน ก็เพราะเป็นช่วงที่พ้นฤดูหนาวกับเป็นฤดูหลังการเก็บเกี่ยวจึงเป็นช่วงเวลาดีที่จะมีงานเฉลิมฉลองกัน ในเทศกาลสงกรานต์ชาวบ้านทุกคนจะหยุดงานเป็นเวลานานเพื่อทำบุญ เที่ยวเตร่สนุกสนาน ฉลองวันปีใหม่อย่างอิสระเต็มที่ พร้อมหน้าพร้อมตากับญาติพี่น้องทั้งครอบครัว พิธีกรรมในวันสงกรานต์จัดขึ้นเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตและชุมชน ก่อนถึงวันงาน ชาวบ้านจะปัดกวาด ทำความสะอาดบ้านเรือน เตรียมเสื้อผ้าชุดใหม่ไว้แต่งตัว ตระเตรียมอาหารคาวหวาน ขนมจีน ข้าวเหนียวแดง กะละแม เพื่อนำไปถวายพระและแจกจ่ายเพื่อนบ้าน ในวันงานหลังจากทำบุญตักบาตรเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงพิธีสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่และเล่นสาดน้ำ ซึ่งแน่นอนว่าองค์ประกอบสำคัญในพิธีและการละเล่นเหล่านี้คือ “ น้ำ quot “ น้ำ ” ในวันสงกรานต์มีความหมายและความสำคัญเพียงใด ถ้าพิจารณากันอย่างผิวเผิน การได้ประพรมน้ำหรือเล่นสาดน้ำกันในฤดูกาลที่ร้อนและแล้ง ย่อมนำมาซึ่งความสดชื่นเย็นฉ่ำ ความเย็นฉ่ำของน้ำทำให้บรรยากาศเฉลิมฉลองรื่นเริงยิ่งขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้ว น้ำในวันสงกรานต์มิใช่ให้แค่ความเย็นเท่านั้น หากยังถือเป็นเครื่องชำระล้างมลทิน และถือกันว่าเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะเมื่อมีน้ำ การเพาะปลูกทำไร่ไถนาก็ได้ผล เมื่อพระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ หรือที่เรียกเป็นพิเศษว่ามหาสงกรานต์ คนไทยจึงใช้น้ำประกอบพิธีกรรมทุกขั้นตอนของวันสงกรานต์ เริ่มตั้งแต่สรงน้ำพระพุทธรูปด้วยน้ำอบ สรงน้ำพระสงฆ์ที่เคารพนับถือด้วยน้ำเย็นเพื่อแสดงความเคารพบูชาและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว จากนั้นก็ไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่แต่เดิมนั้นไม่ได้รดน้ำกันธรรมดา แต่ลูกหลานจะอาบน้ำให้พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อชะล้างโรคภัยและสิ่งไม่ดีให้หมดไปแต่ภายหลังได้ย่นย่อลงเพียงรดน้ำหรือพรมน้ำที่ตัวหรือมือเท่านั้นหลังจากนั้นผู้ใหญ่จะให้พรตามธรรมเนียม ถือเป็นการให้ความสุขปีใหม่แก่ลูกหลาน ในวันท้าย ๆ ของเทศกาลสงกรานต์ น้ำมีบทบาทอย่างยิ่งยวดในการเล่นสาดน้ำ เล่นมอมหน้า หนุ่มสาวชาวบ้านต่างรอคอยโอกาสนี้ด้วยใจจดจ่อ การเล่นสาดน้ำจะเป็นไปอย่างสนุกสนาน ต่างรดน้ำเปียกโชกทั่วกันไปหมดเหมือนกับว่าพญานาคเล่นน้ำ พญานาคเป็นตัวให้น้ำให้ฝนตามความเชื่อของไทย และต้องรดน้ำให้มากที่สุด เพราะหากไม่เปียกโชกจริง ๆ แล้ว ย่อมหมายความว่าปีนั้นฝนจะตกน้อย ที่สำคัญการเล่นสาดน้ำเป็นโอกาสเดียวในรอบปีที่หนุ่มสาวจะได้ใกล้ชิดและได้แตะเนื้อต้องตัวกันโดยไม่ผิดประเพณี ด้วยเหตุนี้ น้ำในวันสงกรานต์จึงมีความหมายพิเศษ เป็นปรากฏการณ์ที่ “ เปิดเผย ” แต่ “ แฝงนัย ” มาเป็นเวลายาวนานนับตั้งแต่น้ำได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
น้ำกับสงกรานต์, น้ำกับสงกรานต์ หมายถึง, น้ำกับสงกรานต์ คือ, น้ำกับสงกรานต์ ความหมาย, น้ำกับสงกรานต์ คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!