ขมิ้นกับปูน?
ทำไมจึงเปรียบคนไม่ถูกกันว่าขมิ้นกับปูนคะ ภัทรวรรณ กรุงเทพฯ
ทำไมจึงเปรียบคนไม่ถูกกันว่าขมิ้นกับปูนคะ ภัทรวรรณ กรุงเทพฯ
ใครที่เคยเป็นแฟนละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน ของ จุลลดาภักดีภูมินทร์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ อาจคุ้นกับเพลงนำละครท่อนที่ว่า “ ดั่งขมิ้นกับปูนเคล้ากัน ไม่มีวันเข้ากันได้ ” เผลอ ๆ ก็อาจเข้าใจผิดไปตามเนื้อเพลงว่าของสองสิ่งนี้ผสมกันไม่ได้ หรือผสมแล้วไม่เข้ากัน แต่จริง ๆ แล้วของสองสิ่งนี้ผสมเข้ากันได้ดีและจะขาดเสียมิได้ในการผลิตปูนแดง อาจารย์สมบัติ พลายน้อย เขียนไว้ในวารสารวัฒนธรรมไทยว่า “ ที่บ้านของผู้เขียนในตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยาเดิมทีเป็นบ่อผสมปูนแดง บ่อปูนแห่งนี้จะมีอายุนานสักเท่าใดยังสืบไม่ได้ความ เท่าที่สอบถามจากท่านผู้ใหญ่ก็ว่าเคยเห็นบ่อผสมปูนนี้ เมื่อ ๕๐ ปีมาแล้ว เรื่องนี้เขียนเมื่อ พ ศ ๒๕๐๔ - |ซองคำถาม| ผู้เขียนเคยขุดดินบริเวณนั้นลงไปลึก ๆ ก็เคยพบปูนขาวและขมิ้นแยกกันอยู่บ้าง ผสมเป็นปูนแดงแล้วบ้าง ปูนแดงที่กล่าวถึงนี้ก็คือปูนที่ใช้กินกับพลูในสมัยก่อนนั้นเอง เขาเอาปูนขาวมาผสมกับขมิ้นเพื่อฆ่าฤทธิ์ปูนให้อ่อนลง เวลาผสมกันแล้วปูนจะมีสีแดง “ ขมิ้นกับปูนนี้เป็นสำนวนไทยที่ใช้กันแพร่หลายสำนวนหนึ่งมีความหมายไปในทางไม่ดี คือหมายถึงคนที่ไม่ถูกกันเมื่อมาพบกันก็มักจะมีเรื่องคือเกิดปฏิกิริยาทันที เหมือนปูนกับขมิ้นผสมกันเข้าก็เกิดเป็นสีแดง หรือทำลายฤทธิ์ของปูนให้อ่อนลง นี่เป็นความหมายของขมิ้นกับปูนในสำนวนไทย ” “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!