ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เพลงลูกทุ่งไทย?, เพลงลูกทุ่งไทย? หมายถึง, เพลงลูกทุ่งไทย? คือ, เพลงลูกทุ่งไทย? ความหมาย, เพลงลูกทุ่งไทย? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

เพลงลูกทุ่งไทย?

เพลงลูกทุ่งไทยมีความเป็นมาอย่างไร นคร nbsp เวียงคำ แพร่

คำตอบ

        มีหนังสืออยู่   ๓   เล่ม   ที่จะให้คำตอบแก่คุณนครได้กระจ่างที่สุด   คือ   หนังสือกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย   ๒   เล่ม   พิมพ์โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ   และหนังสือดวลเพลงกลางทุ่ง   จากเพลงพื้นบ้านถึงเพลงลูกทุ่ง   พิมพ์โดยสมาคมกิจวัฒนธรรม   แต่หนังสือ   ๓   เล่มนี้หาอ่านยากสักหน่อยเพราะพิมพ์น้อย   ถ้าสนใจจริง   ๆ   อาจถามไปที่คุณเอนก   นาวิกมูล   ศูนย์สังคีตศิลป์   ธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า         รศ ดร   จินตนา   ดำรงค์เลิศ   อธิบายวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งไว้ในหนังสือกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย เล่ม   ๒   ดังนี้         “ ถ้าจะพิจารณาถึงกำเนิดของเพลงลูกทุ่งแล้ว   อาจกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานเท่ากับเพลงไทยสากลเนื่องจากแรกเริ่มเดิมทีนั้น   ยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง   ถือว่าเป็นเพลงกลุ่มเดียวกัน นักแต่งเพลงและผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีหลายท่านในช่วงต้นล้วนแล้วแต่ไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกเพลงไทยสากลออกเป็นเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง         อย่างไรก็ตาม   ปรากฏว่าในยุคแรกมีนักร้องเพลงไทยสากลที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งนิยมร้องเพลงที่มีสาระบรรยายถึงชีวิตชาวชนบท   หนุ่มสาวบ้านนาและความยากจน   ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า |เพลงตลาด|   หรือ   |เพลงชีวิต|   เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลานี้มีนักร้องแนวเพลงตลาดอยู่หลายคนที่ แต่งเพลงเองด้วยอาทิ   ไพบูลย์   บุตรขัน   ชลอ   ไตรตรองสอน พยงค์   มุกดา   มงคล   อมาตยกุล   เบ็ญจมินทร์ ตุ้มทอง   โชคชนะ   สุรพล   สมบัติเจริญ   เป็นต้น   ส่วนวงดนตรีที่เด่น   ๆ   ของเพลงแนวนี้ได้แก่   วงดนตรี |จุฬารัตน์|   ของมงคล   อมาตยกุล   วงดนตรี   |พยงค์   มุกดา| และวงดนตรี |สุรพล สมบัติเจริญ|   นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่งจำนวนมากในกาลต่อมา         นักร้องที่ร้องเพลงแนวดังกล่าวในระยะต้นยังไม่เรียกกันว่า   |นักร้องลูกทุ่ง| นักร้องชายที่รู้จักชื่อเสียงกันดี เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์   ชาญ เย็นแข นิยม   มารยาท ก้าน   แก้วสุพรรณ   ชัยชนะ   บุณยโชติ   ทูล ทองใจ ฯลฯ   ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี   วรนุช     ศรีสอางค์   ตรีเนตร         เพลงลูกทุ่งแยกออกเป็นเอกเทศชัดเจนจากเพลงลูกกรุงนับตั้งแต่   ประกอบ   ไชยพิพัฒน์   จัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์โดยตั้งชื่อรายการว่า   |เพลงลูกทุ่ง|   เมื่อปลายปี พ ศ ๒๕๐๗ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์   พ ศ   ๒๕๐๙   มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่   ๒   ปรากฏว่า   สมยศ   ทัศนพันธ์   ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม จากเพลงชื่อ |ช่อทิพย์รวงทอง|   ในการจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ ศ ๒๕๐๗   ยังไม่มีเพลงลูกทุ่งส่งเข้าประกวด         ผู้ที่ทำให้เพลงลูกทุ่งพุ่งผงาดอยู่ในความนิยมของวงการเพลงด้วยลีลาและรูปแบบเฉพาะตนคือ   สุรพล   สมบัติเจริญ   ซึ่งแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่   เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ   สุรพล ชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง   ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่เช่น   เพลง   |เสียวไส้|   |ของปลอม|   ฯลฯ   ยุคของสุรพล   สมบัติเจริญอาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอดเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่งอยู่ระหว่าง ปี พ ศ ๒๕๐๖-๒๕๑๓   เป็นช่วงเวลาที่มีผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น   ตัวอย่างเช่น พีระ   ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ   ทัศนพันธ์   ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์   ได้แก่   พร   ภิรมย์   สุชาติ เทียนทอง   และ ชาย   เมืองสิงห์   นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ   มีอาทิ เพลิน   พรหมแดน   จิ๋ว   พิจิตร   สำเนียง   ม่วงทอง ฉลอง การะเกด   ชาญชัย   บัวบังศร   สมเสียร   พานทอง   ฯลฯ         ในช่วงยุคทองของเพลงลูกทุ่งนี้   มีนักร้องเกิดขึ้นใหม่หลายคนนักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่   ไวพจน์   เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน   พร   ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์   ศรคีรี   ศรีประจวบ ฯลฯ   quot สำหรับวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่งในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน   โปรดหาอ่านจากหนังสือที่ให้ชื่อไว้ข้างต้น         และหากจะถามว่า คำจำกัดความของเพลงลูกทุ่งคืออะไรในหนังสือกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยก็ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ เพลงลูกทุ่ง   หมายถึงเพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต   สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย   โดยมีท่วงทำนอง   คำร้อง สำเนียงและลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน   มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศของความเป็นลูกทุ่ง ”         เราจะเข้าใจคำจำกัดความนี้ได้ดีขึ้น   เมื่อลองพิจารณาเนื้อเพลง   |มนต์รักลูกทุ่ง|   คำร้องทำนอง   โดย   ไพบูลย์   บุตรขัน   ขับร้องโดย   ไพรวัลย์   ลูกเพชร         “ หอมเอย หอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟางเห็ดตับเต่าขึ้นอยู่ริมเขาท่านาง   มองเห็นบัวสล้างลอยปริ่มริมบึง อยากจะเด็ดจะดอมหอมหน่อย   ลองเอื้อมมือค่อย ๆ ก็เอื้อมไม่ถึงอยากจะแปลงร่างเป็นแมลงภู่ผึ้ง แปลงได้จะบินไปถึง   เคล้าเจ้าบัวตูมบัวบาน หอมดินเคล้ากลิ่นไอฝน   ครวญระคนหอมแก้มนงคราญ   ขลุ่ยเป่าแผ่วพลิ้วผ่านทิวแถวต้นตาล   มนต์รักเพลงชาวบ้านลูกทุ่งแผ่วมา ได้คันเบ็ดสักคันพร้อมเหยื่อ   มีน้องนางแก้มเรื่อนั่งเคียงตกปลาทุ่งรวงทองของเรานี้มีคุณค่า   มนต์รักลูกทุ่งบ้านนาหวานแว่วแผ่วดังกังวาน โอ้เจ้าช่อนกยูง   แว่วเสียงเพลงมนต์รักลูกทุ่ง   ซ้ำหอมน้ำปรุงที่แก้มนงคราญ quot “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

เพลงลูกทุ่งไทย, เพลงลูกทุ่งไทย หมายถึง, เพลงลูกทุ่งไทย คือ, เพลงลูกทุ่งไทย ความหมาย, เพลงลูกทุ่งไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu