กล่องเหล็ก?
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระป๋องต่าง ๆ เพราะกำลังเริ่มสะสม |นักสะสมหน้าใหม่| กรุงเทพฯ
อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระป๋องต่าง ๆ เพราะกำลังเริ่มสะสม |นักสะสมหน้าใหม่| กรุงเทพฯ
ของที่บรรจุกล่องเหล็กมีหลายชนิดตั้งแต่ลูกอมถึงใบมีด แต่ไม่มีสินค้าใดบรรจุในกล่องที่หลากหลายเท่าขนมปังกรอบ biscuit ของอังกฤษ กล่องคุกกี้ของอเมริกันอาจมีคนนิยม แต่กล่องใส่ขนมปังกรอบของอังกฤษมีมากแบบจนนักสะสมชาวอเมริกันต้องข้ามแอตแลนติกมาเสาะหา กล่องเหล็กใส่ขนมปังกรอบของอังกฤษมีราคาในนิวยอร์กมากกว่าในลอนดอน คนอังกฤษในช่วงหลายลบปีแรกของศตวรรษนี้มีขนมปังกรอบให้เลือกมาก แต่ที่เลือกไม่ใช่เลือกที่ขนมปัง แต่เลือกที่กล่อง ถ้าเด็ก ๆ ชอบรถดับเพลิงก็ชื้อยี่ห้อ Macfarlane หรือ Lang ถ้าชอบภาพโรแมนติกจากนิยายรัก มี Peek และ Frean ให้เลือก ที่มีความคิดสร้างสรรค์ก็ได้แก่ Huntley and Palmer ทำกล่องเป็นนาฬิการุ่นคุณปู่ เป็นถุงหิ้ว เป็นต้น การออกแบบกล่องขนมปังกรอบไม่ค่อยให้รายละเอียดเนื้อหายกเว้นร้านขนมปังกรอบของ Crawford ที่บริการลูกค้าทางหน้าต่างร้าน และต่อมาก็แจกกระปุกออมสิน |Bicky House| ด้วย คนสนใจกล่องกันมาก จะรีบกินขนมปังให้หมดโดยเร็วเพื่อให้เด็ก ๆ เอากล่องไปเล่นได้ ธุรกิจการทำขนมปังกรอบรุ่งเรืองในช่วงทศวรรษ ๑๘๘๐ ถึงปลายทศวรรษ ๑๙๓๐ โดยยุคทองอยู่ในช่วงปี ๑๙๐๐ ถึง ๑๙๑๕ซึ่งกล่องในช่วงนี้เองที่นักสะสมยุคปัจจุบันแสวงหา เพราะบริษัททำขนมปังกรอบงัดเอากลวิธีต่าง ๆ มาใช้เพื่อแย่งลูกค้า กลางศตวรรษที่ ๑๙ เริ่มมีการทำสติ๊กเกอร์ติดบนกระป๋องหลักฐานที่ปรากฏเป็นกล่องของ Huntley and Palmer ปี ๑๘๖๗ และใช้วิธีนี้มาจนมีการพิมพ์แบบ offset litho ในปี ๑๘๗๕ ทำให้พิมพ์ลงบนพื้นโค้งได้ กล่องกระป๋องเหล็กจึงมีรูปทรงแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก เช่น รูประฆัง ปืนใหญ่ นาฬิกา เครื่องเรือน อาคารพาหนะ ฯลฯ กล่องขนมปังกรอบราคาไม่กี่ปอนด์ยังหาในอังกฤษได้ ถ้าเป็นกล่องที่หายาก เช่น กลองของจาคอบ ปี ๑๙๓๖ เป็นรูปขบวนรถม้าเฉลิมพระเกียรติในวันราชาภิเษก มีราคาสูงถึง ๔ หลัก เงินปอนด์ ในตลาดนักสะสมของอเมริกันถ้ายังดูใหม่สมบูรณ์ดี กล่องขนมปังกรอบที่ผลิตออกมามีมากถึง ๔๐ ๐๐๐ แบบ ถ้าสะสมได้ ๑๕๐-๒๐๐ แบบก็เรียกว่าใช้ได้แล้ว นักสะสมบางคนจัดเรียงกล่องขนมปังใส่หีบ บางคนนำมาใช้งานด้วย โดยใช้เป็นภาชนะใส่ชา กาแฟ แป้ง เครื่องเทศ ต้นศตวรรษนี้ บริษัท American Can Company ทำกล่องสวย ๆ ออกมา ที่อยากได้กันเป็นพิเศษ คือ กล่องใส่อบเชยรุ่นที่ทำรูปทรงเป็นเครื่องคิดเงิน ช่วงปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ มีราคาถึง ๓๓๐ ปอนด์ ประมาณ ๑๖ ๐๐๐ บาท กล่องที่ระลึกส่วนใหญ่ เป็นการเฉลิมพระเกียรติ เป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับประธานาธิบดี และโอกาสครบรอบต่าง ๆ กล่องที่พิมพ์รูปเกี่ยวกับสงครามและการรณรงค์ต่าง ๆ มีอยู่มาก จนถึงทุกวันนี้กล่องประเภทนี้ราคา จะถูกที่สุด กล่องที่มีแบบต่าง ๆ มาก ได้แก่ กล่องชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ เครื่องเทศ เครื่องสำอาง มีดโกนหนวด และเข็มเครื่องเล่นแผ่นเสียง แต่นักสะสมจะเลือกกล่องที่มีสภาพดีเท่านั้น ประเภทมีสนิม บุบ มีรอยขีดข่วน นักสะสมจะไม่เก็บเลย ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลทางฝ่ายตะวันตก ในบ้านเราไม่ค่อยมีใครสะสมกระป๋องเป็นเรื่องเป็นราว และกระป๋องที่ผลิตในบ้านเราสวยสู้ของต่างประเทศไม่ได้ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!