บวชชีบวชอย่างไร?
ข้อสงสัยว่า nbsp หากมีผู้ต้องการจะบวชชี nbsp ต้องทำอย่างไรบ้าง nbsp และใครจะเป็นคนทำหน้าที่บวชให้ ใช่พระสงฆ์หรือไม่ ไม่ลงชื่อ จ นนทบุรี
ข้อสงสัยว่า nbsp หากมีผู้ต้องการจะบวชชี nbsp ต้องทำอย่างไรบ้าง nbsp และใครจะเป็นคนทำหน้าที่บวชให้ ใช่พระสงฆ์หรือไม่ ไม่ลงชื่อ จ นนทบุรี
ดร กาญจนา นาคสกุล เล่าเรื่องนี้ไว้ในบทความ quot ภาษาไทย-ภาษาธรรม quot ว่า แต่เดิมคำว่า ชี หมายถึงนักบวชทั่ว ๆ ไปหากปัจจุบันเป็นคำที่ใช้เรียกอุบาสิกาที่เคร่งครัดในพุทธศาสนานุ่งขาวห่มขาว โกนคิ้ว โกนผม ถือศีล สันนิษฐานว่าใช้เรียกเมื่อหมดภิกษุณีแล้ว เพราะเมื่อภิกษุณีขาดสายที่จะสืบต่อ ผู้หญิงที่มีศรัทธา ปรารถนาจะบวชบ้างก็ไม่มีโอกาส ดังนั้นจึงต้องโกนผม โกนคิ้ว นุ่งขาวห่มขาวและสมาทานศีล ๘ อนุโลมเรียกว่าเป็นการบวช การบวชนี้ไม่มีพระอุปัชฌาย์เหมือนบวชพระหรือบวชเณรและไม่มีพิธีอันเป็นหลักทางวินัย มีแต่ธรรมเนียมที่ถือและปฏิบัติกันอยู่ในขณะนี้คือ ผู้ที่ต้องการบวชชี นำเครื่องสักการะเข้าไปหาพระภิกษุผู้ที่จะถือเอาเป็นอาจารย์ บอกความประสงค์ให้ทราบ เมื่อท่านเห็นว่ามีศรัทธาจริงจึงอนุเคราะห์ให้บวช โดยให้ปลงผมละคิ้ว แล้วนิมนต์พระสงฆ์ ๕ รูป รวมทั้งพระที่ถือเป็นอาจารย์นั้นมาประชุมพร้อมกัน ผู้จะบวชถือเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย กราบพระสงฆ์ ขอรับไตรสรณคมน์ สมาทานศีล๘ แล้วกล่าวคำปฏิญญาต่อหน้าพระสงฆ์ว่า จะถือเพศเป็นนักบวชตลอดเท่าที่ยังมีศรัทธาหรือเท่าที่ตั้งใจไว้ แล้วจึงครองผ้าขาวเป็นอันเสร็จพิธี ส่วนชีพราหมณ์ ไม่ใช่ชีและไม่ใช่พราหมณ์ หากหมายถึงชายหรือหญิงที่นุ่งห่มชุดขาว ถือศีล ๘ แต่โดยทั่ว ๆ ไปมักหมายถึงอุบาสิกาผู้ประสงค์จะฝึกปฏิบัติสมาธิ ฟังธรรม จึงพักอยู่ในวัดเพื่อให้มีความสงบ และรู้สึกว่าได้ละทิ้งบ้านเรือน ทรัพย์สมบัติชั่วคราว แต่อุบาสิกาเหล่านี้ไม่ต้องการโกนผม โกนคิ้ว จึงหาคำเลี่ยงไปว่าเป็นชีพราหมณ์ เพื่อให้แตกต่างจากชีโดยทั่วไปซึ่งโกนผม โกนคิ้ว อุบาสิกาเหล่านี้เป็นผู้ตั้งใจรักษาศีล ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง บางทีท่านจึงเรียกว่า ศีลจาริณี แปลว่า หญิงผู้รักษาศีล “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!