ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย หมายถึง, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย คือ, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย ความหมาย, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย

          เกี่ยวกับการบริจาคโลหิต  มีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เข้าใจถูกต้องว่า ความจริงเป็นการบริจาคโลหิตเพียงส่วนหนึ่งของจำนวนเลือดสำรอง ที่ร่างกายมีสำรองไว้เท่านั้น  ไม่ใช่บริจาคส่วนที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้อยู่ ส่วนใหญ่ประชาชนทั่วไปยังมีความสงสัย และมีความกลัวกันอยู่ ปัญหาที่ผู้อยู่ในวงการธนาคารเลือดได้ยินได้ฟังเป็นประจำ   และควรให้ความกระจ่างเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตเพื่อความเข้าใจถูกต้องของประชาชน ได้แก่
 
๑. ทำไมเราจึงต้องบริจาคเลือด
           การให้เลือดเพื่อทดแทนส่วนที่เสียไป เป็นหนทางเดียวที่จะแก้ไขภาวะช็อก (shock) เนื่องจากการเสียเลือด ในสถานที่ที่ไม่มีเลือดเพียงพอความต้องการ การตายจากการเสียเลือดพบได้บ่อยในกรณีต่อไปนี้
          ๑. อุปัทวเหตุเหตุบนท้องถนนและในโรงงานอุตสาหกรรม
          ๒. ตกเลือดภายหลังคลอดบุตร
          ๓. การผ่าตัดใหญ่
          ๔. โรคโลหิตจางบางสาเหตุ
          เนื่องจากไม่มีโรงงานสร้างเลือด เลือดจึงต้องได้มาจากการบริจาคโดยศรัทธาจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น
 
๒. การบริจาคเลือดมีอันตรายเกิดขึ้นได้หรือไม่
           ผู้ที่เคยบริจาคเลือด ย่อมสามารถยืนยันได้ว่าการบริจาคเลือดนั้นไม่มีอันตรายเลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งนี้เนื่องจากการบริจาคเลือดครั้งหนึ่งๆ นั้น ผู้บริจาคเลือด จะเสียสละเลือดส่วนสำรองเพียงบางส่วนเท่านั้น ตามปกติร่างกายมีเลือดสำรองเก็บไว้ประมาณ ๔ ส่วนของเลือดที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด ๑๒ ส่วน แต่ในการบริจาคเลือดครั้งหนึ่งนั้น ผู้บริจาคได้บริจาคได้เพียง ๑ ส่วนของจำนวนเลือดที่มีสำรองไว้เท่านั้น

๓. ท่านจะต้องมีคุณสมบัติเช่นไรบ้าง จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้
          ผู้ใดก็ตามที่มีอายุระหว่าง  ๑๘-๖๐ ปีบริบูรณ์ มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ดี เมื่อผ่านการตรวจสุขภาพที่จำเป็นก่อนการบริจาคเลือด เช่น วัดอุณหภูมิของร่างกาย ชีพจร ความดันโลหิต ความเข้มข้นของเลือด ก็สามารถบริจาคเลือดได้ แต่เลือดของท่านอาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยได้ หากท่านเป็นหรือเคยเป็นโรคตับอักเสบ หรือดีซ่าน โรคมาลาเรีย และ โรคซิฟิลิส 

๔. การบริจาคเลือดครั้งหนึ่งๆ นั้น ใช้เวลานานเท่าใด      
           เวลาที่ใช้จริงๆ ในการบริจาคเลือดนั้นประมาณไม่เกิน ๑๐ นาที แต่ถ้ารวมเวลาที่เสียไปในการลงทะเบียน ตรวจร่างกายนั่งพักผ่อน ดื่มเครื่องดื่มภายหลังบริจาคเลือดด้วยแล้ว จะใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณไม่เกิน ๔๕ นาที

๕. หมู่เลือดของคนเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
          หมู่เลือดเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวซึ่งได้รับการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์มาจากบรรพบุรุษ ดังนั้นจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ในบางโอกาสซึ่งพบได้น้อยมาก อาจมีการรายงานหมู่เลือดผู้บริจาคเลือดผิดพลาดไปได้ เนื่องจากการตรวจผิดหรือลงผลผิด
 
๖. หมู่เลือดมีความสำคัญในการให้เลือดหรือไม่ 
          เกี่ยวกับการให้เลือด หมู่เลือดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมู่เลือดระบบเอบีโอ มีความสำคัญมาก ต้องเลือกหมู่เลือดเอบีโอชนิดเดียวกัน (บางทีหมู่เลือดอาร์เอ็ชด้วย) ที่ตรวจแล้ว พบว่าเข้ากันได้ ก่อนที่จะให้เลือดทุกครั้ง บางคราวแม้จะมีเลือดเอบีโอ ชนิดเดียวกับผู้ป่วย  ก็ยังอาจเสียชีวิตจากการให้เลือดได้ เนื่องจากเข้าไม่ได้ในหมู่เลือดระบบอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญทางคลินิก เช่น ระบบคิดด์ (Kidd) ระบบเลวิส (Lewis) ระบบดัฟฟี (Duffy)  เป็นต้น  การเสียชีวิตอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากเลือกวิธีตรวจการเข้าได้ (cross - matching) โดยวิธีที่ไม่ไวพอ นอกจากนั้นแล้ว ความผิดพลาดของผู้ปฏิบัติการ ก็เป็นความผิดพลาดอีกประการหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต ซึ่งมีทางป้องกันได้ แต่ไม่สามารถขจัดให้สูญสิ้นไปได้ จึงยังคงเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการให้เลือด

๗. หมู่เลือดที่มีความสำคัญที่สุด มีอะไรบ้าง
          
หมู่เลือดที่มีความสำคัญที่สุด ได้แก่
          หมู่โอ พบได้ประมาณร้อยละ ๓๘ ของประชากรไทย
          หมู่เอ พบได้ประมาณร้อยละ ๒๐ ของประชากรไทย
          หมู่บี พบได้ประมาณร้อยละ ๓๕ ของประชากรไทย
          หมู่เอบี พบได้ประมาณร้อยละ ๗ ของประชากรไทย
          หมู่เลือดเอบีโอ แต่ละชนิด จะพบว่าประมาณ ๑ ถึง ๓ คน ใน ๑,๐๐๐ คน เป็นหมู่เลือดอาร์เอ็ชลบ

๘. เลือดสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานเท่าใด 
          เลือดภายในร่างกาย เม็ดเลือดแดงเม็ดหนึ่งๆ มีอายุอยู่ในกระแสโลหิตได้ประมาณ ๑๒๐ วัน
          ส่วนการบริจาคเลือด เลือดจะถูกผสมกับน้ำยากันเลือดแข็งในสัดส่วนที่พอเหมาะก่อน น้ำยากันเลือดแข็งที่นิยมใช้ใน ปัจจุบัน ได้แก่ น้ำยา เอซีดี และน้ำยา ซีพีดี ทำให้สามารถเก็บเลือดไว้ใช้นานถึง ๒๑ วัน และ ๒๘ วัน ตามลำดับ เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ +๒ องศา ถึง +๔ องศาเซลเซียส นอกจากนั้นแล้วหากเก็บไว้โดยขบวนการพิเศษเก็บเป็นเลือดแข็ง (Frozen blood)จะสามารถเก็บไว้ใช้ได้เป็นเวลานานนับปี

เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย หมายถึง, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย คือ, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย ความหมาย, เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu