พหูสูต คือใคร??
เคยได้ยินคำว่า พหูสูต มาตั้งนาน แต่ยังไม่เคยทราบความหมายเลยครับ อยากขอความรู้จากท่านผู้รู้ด้วยครับ nbsp ขอบคุณครับ เด็กคอม
เคยได้ยินคำว่า พหูสูต มาตั้งนาน แต่ยังไม่เคยทราบความหมายเลยครับ อยากขอความรู้จากท่านผู้รู้ด้วยครับ nbsp ขอบคุณครับ เด็กคอม
พหูสูต โดย ศ จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านผู้ฟังคงจะเคยได้ยินเวลาที่ใครเขาพูดถึงผู้ใดผู้หนึ่งในเชิงยกย่องว่าเป็นผู้คงแก่เรียนหรือเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตว่า ท่านผู้นั้นเป็นพหูสูต คำว่า “ พหูสูต ” นี้ ที่ “ สูต ” เขียนเป็น ส เสือ สระอู ต เต่าสะกด คำนี้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ ศ ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ ว ผู้สดับตรับฟังมาก ผู้ศึกษาเล่าเรียนมาก ” ถ้าหากหมายถึงภาวะ คือ ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ได้ศึกษาเล่าเรียนค้นคว้ามามาก ท่านใช้ว่า “ พาหุสัจจะ ” แต่ก็มีบางคนไม่ทราบที่มาของคำคำนี้จึงเขียนเป็น “ พหูสูตร ” ที่ “ สูต ” มี ร กล้ำด้วย ถ้าหากเขียนเป็น “ พหูสูตร ” จะมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่งเลย อย่างในนวนิยายเรื่อง “ เลือดเข้าตา ” โดย ชาครีย์ ธนาธิป ซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อ “ แปลก ” ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๔๓๔ ประจำวันอังคารที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๒๗ มีข้อความตอนหนึ่งว่า “ เทคนิคการทำมวยต้องเรียนรู้กันเยอะ และเขาเองก็พหูสูตรอยู่เหมือนกัน ” คำว่า “ พหูสูต ” ในนวนิยายเรื่องนี้ ที่ “ สูต ” มี ร กล้ำครับ ถ้าเขียนเป็น “ พหูสูตร ” ที่ “ สูต ” มี ร กล้ำ ก็จะมีความหมายว่า “ หลายสูตร ” ทั้งนี้เพราะเป็นการนำคำว่า “ พหู ” ซึ่งแปลว่า “ มาก ” มาเข้าสมาสกับ “ สูตร ” ซึ่งหมายความว่า “ น ข้อความที่แต่งขึ้นเป็นแบบ กฎสำหรับจดจำ เช่น สูตรคูณ สูตรเลข เป็นชื่อเรียกธรรมในสุตตันตปิฎก ” คำว่า “ สุตตันตปิฎก ” นั้นเป็นชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก ทั้งนี้เพราะพระไตรปิฎก ประกอบด้วยปิฎก ๓ คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก ข้อความที่ว่า “ เขาเป็นพหูสูต ” นั้นหมายถึงเขาเป็นคนที่ได้ยินได้ฟังหรือได้ศึกษาค้นคว้ามามาก เพราะฉะนั้นจึงต้องเขียนว่า “ พหูสูต ” ที่ “ สูต ” ไม่ต้องมี ร กล้ำครับนะครับ ขืนเอา ร ไปกล้ำเข้ากับ ต เป็น “ สูตร ” จะต้องมีความไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมิใช่ความหมายที่เราต้องการในที่นี้ ผู้เขียน ศ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ที่มา ภาษาไทยไขขาน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แพร่พิทยา ๒๕๒๘ หน้า ๙-๑๐
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!