ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข หมายถึง, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข คือ, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข ความหมาย, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข

      การมองเห็นของคนสายตาปกติ เกิดขึ้นเมื่อแสงของวัตถุวิ่งผ่านกระจกตาและเลนส์ตาไปตกพอดีบนจอประสาทตา จากนั้นจอประสาทตาจะส่งภาพซึ่งอยู่ในรูปของคลื่นไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อแปลเป็นภาพที่เราเห็น ซึ่งหากภาพที่ชัดเจนตกบนจอประสาทตาพอดี เราจะเห็นภาพนั้นได้คมชัด ถ้ากำลังการรวมแสงของตาไม่ตกพอดีที่จอประสาทตา จะทำให้เกิดภาวะสายตาผิดปกติ ซึ่งแยกได้ดังนี้

สายตาสั้น (Nearsightedness หรือ Myopia)
เกิดจากการที่กระจกตาโค้งเกินไป หรือขนาดลูกตายาวเกินไป ทำให้กำลังการรวมแสงของตามากเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา จนทำให้แสงจากวัตถุไปโฟกัสก่อนถึงจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นภาพในที่ไกลไม่ชัด

สายตายาวโดยกำเนิด (Farsightedness หรือ Hyperopia)
เกิดจากการที่กระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของลูกตาสั้นเกินไป ส่งผลให้กำลังการรวมแสงน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา ทำให้จุดโฟกัสแสงจากวัตถุไปตกเลยจอประสาทตา ทำให้การมองเห็นภาพไม่ชัดทั้งใกล้และไกล


สายตาเอียง (Astigmatism)
เกิดจากการที่กระจกตามีความโค้งไม่เท่ากันในแต่ละแนว ทำให้กำลังการรวมแสงของตาในแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน จุดโฟกัสในแต่ละแนวจึงไม่เป็นจุดเดียวกัน ทำให้มองเห็นภาพซ้อนจึงมองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล

สายตายาวตามอายุ(Presbyopia)
ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยปกติในคนอายุน้อยเลนส์ตาสามารถปรับเปลี่ยนจุดโฟกัสแสงให้ตกที่จอประสาทตาพอดีทั้งในการมองระยะใกล้และไกล ทำให้สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน แต่เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถของเลนส์ตาในการปรับเปลี่ยนโฟกัสก็จะลดลง ทำให้ต้องใส่แว่นที่มีกำลังเป็นบวกหรือเลนส์สายตายาวช่วนในการอ่านหนังสือ

การแก้ไขภาวะสายตาที่ผิดปกติ

     หลักการแก้ไขภาวะสายตาที่ผิดปกติ คือ ต้องทำการปรับกำลังในการหักเหแสงทั้งหมดให้พอดีกับความยาวของลูกตา ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ได้แก่

1.
แว่นตา เป็นวิธีที่มีการใช้มานาน แพร่หลาย ประหยัด และปลอดภัยที่สุด มีลักษณะและคุณสมบัติให้เลือกมากมาย ขึ้นกับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยการใช้เลนส์ในการหักเหแสงวางไว้หน้าตา แต่ก็สามารถแก้ไขได้ไม่ทั้งหมด มีผู้ป่วยบางส่วนที่ไม่สามารถใส่แว่นสายตาได้ หรือ ไม่สะดวกในการใส่แว่นสายตา


2.คอนแทคเลนส์ เหมือนกับการใส่เลนส์เพื่อหักเหแสงไว้ติดกับกระจกตา ซึ่งบางครั้งสามารถแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติได้มากกว่าการใช้แว่น มีความสวยงามเนื่องจากมีคอนแทคเลนส์ซึ่งย้อมสีทำให้เมื่อใส่แล้วดูเหมือนสีตาดำเปลี่ยนไป แต่ก็มีข้อเสียมาก ในเรื่องของการเลือกเลนส์ที่เหมาะกับสภาพตาของแต่ละคน การดูแลรักษา การทำความสะอาด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก เพราะอาจตามมาด้วยอีกหลากหลายปัญหา เช่น กระจกตาติดเชื้อซึ่งอาจรุนแรงจนถึงตาบอดได้ การแพ้เลนส์หรือ น้ำยาทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ทำให้ไม่สบายตาและไม่สามารถใส่คอนแทคเลนส์ได้นาน


3.การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงความโค้งของกระจกตา จะขอกล่าวเฉพาะวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและมีการพูดถึงอย่างแพร่หลาย คือ LASIK และ PRK ซึ่งหลักการคือ การยิงเลเซอร์เพื่อขัดเกลาผิวกระจกตาเพื่อให้ได้ความโค้งที่เหมาะสม จึงเป็นการแก้ไขสายตาที่ปรากฏในขณะนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป

LASIK คือ การเปิดฝากระจกตา แล้วยิงเลเซอร์ หลังจากนั้นจึงปิดฝากระจกตา วิธีนี้ สามารถทำได้รวดเร็ว ไม่เคืองตาหลังการทำผ่าตัดหรือเคืองตาเพียงเล็กน้อย ข้อเสียคือ มีความเสี่ยงกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเปิดฝากระจกตา


PRK แตกต่างจากการทำ LASIK คือ การเอาผิวกระจกตาออกก่อนยิงเลเซอร์ ข้อดีคือ ไม่ต้องเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการเปิดฝากระจกตา แต่หลักผ่าตัดอาจจะมีอาการเคืองได้มากกว่า LASIK สายตาคงที่ใช้เวลานานกว่า

โดยทั้ง 2 วิธี ยังมีข้อเสียที่เกิดจากการยิงเลเซอร์ เช่น การสูญเสียความคมชัดของภาพ การมองเห็นแสงแตกในเวลากลางคืน การเห็นแสงสว่างในเวลากลางคืนน้อยลง


4.การผ่าตัดใส่เลนส์เข้าไปในตา สามารถทำได้ทั้งที่มีเลนส์เดิมอยู่หรือ เอาเลนส์เดิมออกก่อน โดยที่การใส่เลนส์เข้าไปในตาที่มีเลนส์อยู่นั้น ตานั้นยังสามารถปรับภาพได้ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ถ้าเอาเลนส์เก่าออกด้วยตานั้นจะสามารถรับภาพได้ชัดเฉพาะระยะที่เลนส์ใหม่กำหนด ข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถแก้ไขสายตาที่ผิดปกติได้มาก โดยที่สามารถเปลี่ยนหรือเอาออกได้ถ้าไม่พอดี ไม่ต้องเสียเนื้อกระจกตา สามารถแก้ไขภาวะต้อกระจกถ้ามีร่วมด้วยได้ ข้อเสียคือ ต้องทำผ่าตัดในตาซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่น การติดเชื้อในลูกตา ต้อกระจก ต้อหิน อาจเกิดความเสียหายต่อกระจกตา ม่านตา เลนส์ตา ได้

โดยทั่วไปแล้วการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติ สามารถใช้ได้หลายวิธี ซึ่งการจะเลือกใช้วิธีใดที่จะเกิดผลดีกับผู้ป่วยมากที่สุด ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วย


เรียบเรียงโดย Sanook! Guru

ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข หมายถึง, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข คือ, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข ความหมาย, ภาวะสายตาผิดปกติและวิธีการแก้ไข คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu