ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก), เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) หมายถึง, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) คือ, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) ความหมาย, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก)

          สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดต่าง ๆ ในเขตภาคใต้นั้น มีลักษณะเป็นภูเขา ที่ราบ และชายฝั่งทะเล ผู้อยู่อาศัยประกอบอาชีพหลายอย่าง เช่น ทำเหมืองแร่ ทำไร่ ทำนา ทำสวนยางพาราและทำประมง ลักษณะเรือนพักอาศัยของผู้ที่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมคล้าย ๆ กับเรือนพื้นบ้านภาคกลาง จะผิดกันแต่ส่วนปลีกย่อยเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนเรือนชาวประมงของภาคใต้ (ชาวเล)นั้นมีเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนเรือนชาวประมงภาคกลาง เรียกว่า "เรือนชาวเล" ซึ่งปลูกสร้างเป็นกลุ่มกระจัดกระจายทั่วไปตามริมฝั่งทะเล ตามชายฝั่งในมหาสมุทรอินเดีย แถบอ่าวภูเก็ต และทะเลอันดามัน นับตั้งแต่จังหวัดระนอง  พังงา กระบี่ สตูล เช่น หมู่บ้านเกาะหลีแป๊ะ จังหวัดสตูล เกาะลันตา เกาะจำ จังหวัดกระบี่ เกาะพีพี (บ้านลำปี) จังหวัดพังงา เกาะสิเหร่ หาดราไวน์ จังหวัดภูเก็ต
         การรวมตัวกันขึ้นจนกลายเป็นหมู่บ้านนั้นกลุ่มหนึ่งมีประมาณ ๒๐-๔๐ หลังคาเรือน มีสภาพไม่แออัด ร่มรื่ม เย็นสบาย ความเคยชินต่อการร่อนเร่อยู่ในทะเล ทำให้ชาวเลไม่พัฒนาที่พักอาศัย คงสร้างเป็นแบบเรือนพื้นบ้านชั่วคราวประเภทเรือนเครื่องผูก

         ชาวเลที่อยู่ใกล้ทะเลจะเลือกสร้างบ้านเรือนอยู่ในป่าไม้ใกล้ชายฝั่งด้านใน สำหรับพวกที่อยู่ตามเกาะต่าง ๆ จะเลือกที่ตั้งอยู่ทางด้านหลัง ใช้ภูเขาเป็นที่กำบังลม  พวกที่อยู่ลึกจากทะเลแต่ใกล้แม่น้ำและลำคลอง จะเลือกที่ตั้งในดงป่าไม้ริมน้ำ ซึ่งสามารถหลบลมพายุที่พัดมาเป็นประจำได้


เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก), เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) หมายถึง, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) คือ, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) ความหมาย, เรือนพื้นบ้านชาวประมง (ฝั่งทะเลตะวันตก) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 13

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu