ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ หมายถึง, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ คือ, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ ความหมาย, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้

          จากลวดลายต้นแบบข้างต้น ซึ่งเป็นลายง่ายๆ ที่มนุษย์อาจจะคิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เสริมต่อจนเป็นรูปร่างที่ชัดเจนขึ้นจนผู้ดูสามารถเข้าใจความหมายได้ลวดลายที่พัฒนาจนสื่อความหมายได้มีปรากฏอยู่ในผ้าพื้นเมืองของไทยอย่างมากมาย

          ๑. จากเส้นตรง/เส้นขาด ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลายที่เกี่ยวกับน้ำและความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ในชุมชมเกษตรกรรม เช่น ลายฝนตก ลายน้ำไหล ลายนกฮูก ลายคลื่นน้ำ ลายปลา ลายดอกหญ้า ลายต้นไผ่ ลายขนมเปียกปูน

          ๒. ลายฟันปลา ได้มีการพัฒนาเป็นรูปต่างๆ เช่นดังรูป ลายฟันปลา ลายนาค ลายนก ลายพญานาคหรืองู ลายปราสาท ลายตะขอ

          ๓. กากบาทและขนมเปียกปูน ได้มีการพัฒนาเป็นรูปลายต่างๆ  เช่น รูปขนมเปียกปูนภายในบรรจุรูปดาว ๘ เหลี่ยม และภายในของดาว ๘ เหลี่ยม มักจะมีกากบาทเส้นตรงอยู่ หรือบางทีก็ย่อลงเหลือขนมเปียกปูน กากบาทนั้นเป็นลายที่พัฒนาที่พบเห็นบ่อยๆ  ในตีนจก และขิตของล้านนา และในมัดหมี่ของภาคอีสาน นอกจากนี้  ยังพบในผ้าของหลายประเทศ เชื่อกันว่าลวดลายดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์หรือโคมไฟ ในภาคอีสานเรียกลายนี้ในผ้ามัดหมี่ว่า ลายโคม ลายนี้มีลักษณะขนมเปียกปูนผสมกับลายขอหรือขนมเปียก มีขายื่นออกมา ๘ ขา พบในผ้าตีนจก  หรือขิต  และมัดหมี่ เรียกชื่อกันต่างๆ เช่น ลายแมงมุม หรือลายปลาหมึก บางทีลายนี้อาจจะมีขาเพียง ๔ ขา เรียกว่า ลายปู ปรากฏบนผ้ายกดอกหรือผ้ามัดหมี่  ซึ่งบางแห่งนิยมเรียกว่า ลายดอกแก้ว หรือ ลายดอกพิกุล

          ๔. จากลายตัวขอหรือก้นหอย
ได้มีคนนำมาเป็นลายต่างๆ เช่น
               ลายชูต้นสน ลายนี้ปรากฏอยู่ทั่วไปบนผ้าจก และขิตของไทยลื้อในภาคเหนือ และบนลายมัดหมี่ของภาคอีสาน มักจะเรียกว่า ลายขอ หรือขอนาค เพราะต่อๆ มาพัฒนาเป็นลายนาคเกี้ยว หรือลายนาคชูสน
               ลายนกฮูก ลายนี้ปรากฏบนผ้าตีนจกของล้านนาเกือบทุกผืนมักจะเข้าใจว่าเป็นนก หรือหงส์ หรือห่านและมักจะปรากฏอยู่เป็นคู่ๆ โดยมีลายเหมือนฝนตกอยู่ข้างบน  และมีลายภูเขาหรือลายน้ำไหลอยู่ข้างล่างด้วย ลายนกนี้ยังปรากฏบนผ้าของไทยลื้อ เช่น  ผ้าเช็ดหน้า 
               ลายตากบ ลายนี้พบบ่อยๆ ตามเชิงผ้าตีนจกของภาคเหนือและผ้าของชาวเขา และยังพบบ่อยๆ บนผ้าและพรมของประเทศอื่นๆ ในประเทศไทยยังไม่มีใครอธิบายลายนี้ไว้ชัดเจน  นอกจากว่าเป็นลายที่พัฒนามาจากลายขอหรือลายก้นหอย   บางคนเห็นว่าเป็นสัญลักษณ์ของกบและลูกอ๊อด

ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ หมายถึง, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ คือ, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ ความหมาย, ลวดลายที่พัฒนาจากต้นแบบจนเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu