ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมายถึง, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความหมาย, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

     ความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ นั้น ถือเป็นสิ่งปกติในสังคมที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด ความเห็น ดังที่มีการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมาทุกฉบับ รวมทั้งได้มีการกำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ด้วย

     พัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีวัฏจักรของการล้มเลิก การเปลี่ยนแปลงและการแก้ไขดังปรากฏในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยมาโดยตลอด มีการยอมรับและไม่ยอมรับ และมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ความพยายามที่หากเมื่อมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับก็มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดียิ่งขึ้น ดังเช่นความพยายามของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้เช่นกัน

     ในกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับ ย่อมก่อรูปขึ้นโดยพื้นฐานสำคัญจากการรวบรวมความคิดเห็นส่วนใหญ่ของประชาชนและการเรียนรู้ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญในอดีต เพื่อนำมาประมวลไว้ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ นี้ ก็ได้ดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าวเช่นเดียวกัน และได้ดำเนินการยกร่างขึ้นบนพื้นฐานและหลักของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ทั้งนี้ อาจมีบางมาตราที่มีผู้ “ไม่เห็นด้วย” หรือ “ไม่ถูกใจ” แต่สิ่งที่ผู้มีหน้าที่ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พึงตระหนักและไม่ละทิ้ง ก็คือ “ความถูกต้อง”

     ดังนั้น การพิจารณาระหว่าง “ความถูกใจ” กับ “ความถูกต้อง” จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่สังคมไทยจะต้องใช้ความเป็นเหตุเป็นผลอย่างผู้มีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ในการพิจารณาวินิจฉัยเพื่อลงประชามติ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ซึ่งจะเป็นการลงประชามติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบทั้งฉบับ ทั้งนี้ แม้จะมีบางส่วนหรือบางมาตราอาจไม่ถูกใจ แต่ส่วนใหญังคงถูกต้องและดีขึ้นกว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หากประชาชนลงประชามติ “เห็นชอบ” ก็จะนำพาประเทศไทยไปสู่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วจัดตั้งรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามครรลอง
ของการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อไป

ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมายถึง, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คือ, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ความหมาย, ข้อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu