ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women หมายถึง, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women คือ, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women ความหมาย, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women

วันสตรีสากล (International Women's Day) หรือชื่อเดิมคือ วันสตรีแรงงานสากล (International Working Women's Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกวัน นับว่าเป็นที่แต่ละภูมิภาคของโลกให้ความสำคัญในการจัดงานเฉลิมฉลอง ตั้งแต่เฉลิมแลองความับถือ ความซาบซึ่งและความรักที่มีต่อเพศหญิงสำหรับความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของผู้หญิงทั่วไป ในตอนแรกที่เกิดวันนี้ขึ้นงานที่จัดจะเป็นลักษณะของงานการเมืองสังคมนิยม จากนั้นวันหยุดนี้ก็ได้กลืนวัฒนธรรมส่วนของประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มตะวันออกบางภูมิภาค ซึ่งวันดังกล่าวนั้นทำให้เสียรสทางการเมือง และกลายเป็นเพียโอกาสสำหรับบุคคลที่จะแสดงความรักแก่เพศในวิธีซึ่งคล้ายกับ วันแม่ และ วันวาเลนไทน์ ผสมผสานกัน แต่ในบางภูมิภาค แก่นของการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่สหประชาชาติก็ยังคงกำหนดให้มีวันนี้อยู่เช่นเดิม เพื่อให้เกิดความตระหนักทางการเมืองและสังคมของการตู้สู้ของผู้หญิงทั่วโลก มีการใช้สัญลักษณ์เป็นการสวมริบบิ้นสีม่วง

ประวัติของวันสตรีสากล

วันสตรีสากล เกิดขึ้นจากกรรมกรหญิงที่อยู่ในโรงงานทอผ้าในรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา พวกเธอได้พากันลุกฮือขึ้นประท้วงเพื่อให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ ซึ่งบรรดากรรมกรหญิงเหล่านี้ทนไม่ไหวต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ทารุณของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากพวกเธอต้องทำงานหนักถึงวันละ 16 - 17 ชั่วโมงแบบไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ ส่งผลให้เธอเกิดเจ็บป่วยและล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่คุ้มกับค่าจ้างที่ได้เพียงน้อยนิด และหากหญิงคนใดตั้งครรภ์ เธอก็จะถูกไล่ออก

ด้วยความอัดอั้นตันใจนี้ทำให้ คลารา เซทคิน นักการเมืองสตรีสังคมนิยมชาวเยอรมัน ตัดสินใจที่จะปลุกระดมให้เหล่ากรรมสตรีพากันหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2400) พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งยังเรียกร้องให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง รวมถึงให้สตรีมีสิทธิที่จะออกเสียงเลือกตั้งด้วย

แต่แล้วการออกมาเรียกร้องในครั้งนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจสกเหตุการณ์การประท้วงที่เกิดขึ้นนี้ มีสาเหตุมาจากการลอบวางเพลิงโรงงานที่พวกเธอกำลังชุมนุมกันอยู่  ส่วนแรงงานหญิงที่เหลือกว่าร้อยคนก็ถูกจับกุม แต่ใช่ว่าการออกมาเรียกร้องในครั้งจะไม่ประสบความสำเร็จเสียทีเดียว เพราะสตรีทั่วโลกที่ได้รู้เรื่องนี้ก็ออกมาสนับสนุนการกระทำของ คลารา เซทคิน และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกหันมาตระหนักถึงสิทธิของตัวเองที่ควรจะได้รับมากขึ้น

ต่อมาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ออกมาร่วมกันเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ก เพื่อเรียกร้องให้มียุติการใช้แรงงานเด็ก โดยใช้คำขวัญในการรณรงค์ว่า ขนมปังกับดอกกุหลาบ ที่หมายถึงการได้รับอาการที่เพียงพอ พร้อมๆ กับการได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2453) ความพยายามของสตรีกลุ่มนี้ที่เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็กก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรีในระบบสาม 8 ดังนี้

  • 8 ที่ 1 : นายจ้างยอมลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง
  • 8 ที่ 2 : เปิดโอกาสให้ลูกจ้างมีเวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง
  • 8 ที่ 3 : มีเวลาพักผ่อน 8 ชั่วโมง

นอกจากนั้นก็ยังได้มีการปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย ทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย พร้อมกันนั้นที่ประชุมก็ยังได้รับรองข้อเสนอของ คลารา เซทคิน ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันสตรีสากล

8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women หมายถึง, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women คือ, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women ความหมาย, 8 มีนาคม วันสตรีสากล (International Women คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu