ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร

     19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 นายพล ออง ซาน (Aung San) วีระบุรุษนักปฏิวัติและผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ (Myanmar)บิดาของ อองซาน ซูจี (Aung San Suu Kyi) ถูกสังหารพร้อมกับรัฐมนตรีอีก 6 คน ขณะกำลังร่างรัฐธรรมนูญในที่ประชุมรัฐบาลชั่วคราว โดยฝีมือของ อู ซอ (U Saw) นักการเมืองคู่แข่ง ออง ซานเกิดในครอบครัวชาตินิยมที่ต่อต้านอังกฤษ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2458 ที่กรุงย่างกุ้ง (Rangkoon) ประเทศเมียนมาร์ ซึ่งถูกอังกฤษเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมตั้งแต่ปี 2428 ออง ซานเข้าเรียนวิชาวรรณคดีอังกฤษ ประวัติศาสตร์ และการเมืองจากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ระหว่างที่เรียนอยู่นั้นได้รับเลือกให้เป็นผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษา และเป็นบรรณาธิการหนังสือ Owei (Pea*****’s Call) เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การเมือง จนในที่สุดก็ถูกไล่ออกในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2479 หลังจากนั้นเขาก็เข้าร่วมกับกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองระดับชาติ ขับไล่จักรวรรดินิยมอังกฤษ และเรียกร้องเอกราชให้เมียนมาร์ โดยร่วมก่อตั้ง "พรรคคอมมิวนิสต์พม่า” (Communist Party of Burma : CPB) ในเดือนสิงหาคม 2482 พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นก็ได้ให้การสนับสนุนทั้งการเงินและอาวุธในการก่อตั้ง "กองกำลังปลดปล่อยพม่า” (Burmese Independence Army : BIA) ในปี 2484 เมื่อญี่ปุ่นสามารถยึดพม่าได้จากอังกฤษในวันที่ 1 สิงหาคม 2486 ก็ได้ประกาศให้พม่าเป็นเอกราช และแต่งตั้งนายพลออง ซานให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อพบว่าเอกราชที่ญี่ปุ่นสัญญาไว้ไม่เป็นความจริง ในช่วงปลายสงครามโลก จึงได้กลับไปเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อขับไล่ญี่ปุ่นออกไปจากพม่าได้สำเร็จ ในวันที่ 27 มกราคม 2490 อองซานได้เซ็นต์สัญญากับ คลีเมนต์ แอตท์ลี (Clement Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยอังกฤษยินยอมจะมอบเอกราชให้พม่าภายใน 1 ปี จากนั้นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2490 ออง ซานก็ลงนามใน "สนธิสัญญาปางโหลง” (Panglong Conference) กับหัวหน้าชนกลุ่มชาติต่าง ๆ ในลุ่มน้ำอิระวดี ในสนธิสัญญาระบุว่า เมื่อพม่าได้รับเอกราชครบ 10 ปี แต่ละชนชาติได้แก่ กะเหรี่ยง คะเรนณี มอญ ไทยใหญ่ และคะฉิ่น จะสถาปนาเอกราชของตนเอง สนธิสัญญาฉบับนี้ ทำให้นักการเมืองและทหารบางกลุ่มไม่พอใจ เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมากอยู่ในดินแดนของชนชาติอื่น ดังนั้นหากมีการแยกตัวเป็นอิสระแล้วพม่าจะมีปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในที่สุดกองกำลังลึกลับจึงบุกเข้าสังหารนายพลออง ซาน เสียชีวิตในวัยเพียง 32 ปี โดยที่ยังไม่ทันได้เห็นเอกราชของพม่า ซึ่งได้รับในวันที่ 4 มกราคม 2491 หลังจากนั้น อู นุ (U Nu) ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และอ้างว่าสัญญาปางโหลงเป็นเพียงการทำสัญญาระห่วางชนกลุ่มน้อยกับนายอองซานเท่านั้น จึงฉีกสนธิสัญญาทิ้ง ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของกองกำลังของชนชาติอิสระต่าง ๆ กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่ยังคงร้อนระอุมาจนทุกวันนี้ ภายหลังจากออง ซานเสียชีวิต ลูกสาวคือ ออง ซาน ซูจี ก็ได้เดินตามรอยเท้าพ่อ ออกมาตั้ง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) และเป็นผู้นำการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี แต่ก็ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารกักตัวไว้ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงทุกวันนี้ โดยไม่สนใจเสียงเรียกร้องของนานาชาติให้คืนอิสรภาพแก่ออง ซาน ซู จี

นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร, นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร หมายถึง, นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร คือ, นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร ความหมาย, นายพล ออง ซาน ผู้นำในการเรียกร้องเอกราชของเมียนมาร์ถูกสังหาร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

วันนี้ในอดีต : 20 กรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

วันนี้ในอดีต : เดือนกรกฎาคม

คำยอดฮิต

Sanook.commenu