ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วูซู, วูซู หมายถึง, วูซู คือ, วูซู ความหมาย, วูซู คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วูซู

ประวัติกีฬาวูซู

 
   
       กีฬาวูซูเป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวจีน และเป็นศิลปะทางวัฒนธรรมที่มีความยาวนาน และมีบทบาทสำคัญในทุกยุคสมัยที่มีการรบทัพจับศึกของประเทศจีนแต่โบราณกาล คำว่า วูซู แปลตรงตัวว่า วิทยายุทธ แต่ชาวจีนโพ้นทะเลที่นำวิชาวูซูไปเผยแพร่ในนามเรียกขานตามภาษาพื้นเมืองว่า กังฟู ประกอบกับประเทศจีนในยุคนั้นเป็นยุคปิดประเทศ ผู้คนทั่วไปจึงรู้จักวิชาวูซูภายใต้ชื่อเรียกขานว่า กังฟู ต่อมาเมื่อจีนเปิดประเทศ และได้ให้การพัฒนาวิชาวูซูเป็นกีฬา จึงได้ให้การเรียกขานให้ถูกต้องว่า วูซู (WUSHU) นอกจากนี้ วิชาวูซูยังเป็นวิชาต้นแบบของวิชาต่อสู้ป้องกันตัวที่มีชื่อในหลายวิชาของทวีปเอเชียอีกด้วย
      ประเทศไทยได้รับอิทธิพลวิชาวูซู นับตั้งแต่ชาวจีนอพยพเข้าสู่ประเทศไทยแต่ครั้งโบราณ และมีการฝึกสอนและถ่ายทอดกันเฉพาะแก่ลูกหลานชาวจีน จึงไม่เป็นที่แพร่หลาย แม้แต่ปัจจุบัน ชาวไทยจะรู้จักวิชาวูซูแต่เพียงการรำมวยจีนเพื่อสุขภาพเท่านั้น เนื้อหาสาระในทางลึกนั้น ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อวิชาวูซูได้รับการพัฒนาเข้าสู่ระบบกีฬาแล้ว วิชาวูซูในทางลึกก็ค่อยกระจ่างขึ้น
 
 
ประวัติการก่อตั้งสมาคม

      ก่อนเป็นสมาคมวูซู ได้มีการจัดตั้งสถาบันวูซู-กังฟูขึ้น เพื่อให้การเผยแพร่วิชาวูซู(ซึ่งยังต้องใช้ชื่อเรียกว่ากังฟู) เป็นแห่งแรกของเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. 2521 โดยอาจารย์บลู ดิษยบุตร และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นสมาคมกีฬาวูซูในปี พ.ศ. 2529 และในเวลาต่อมา โดยการสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬา วูซู ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นสมาคมสหพันธ์วูซูแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
      เพื่อให้การส่งเสริมพัฒนากีฬาวูซูภายในประเทศให้มีระดับมาตรฐาน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านวิทยาการวูซูแก่สโมสรสมาชิก เพื่อการพัฒนาสุขภาพพลานามัยแก่บุคคลทั่วไป ทั้งยังเป็นองค์กรบริหารกิจการกีฬาวูซูภายในประเทศ และเป็นผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาวูซูในระดับซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์อีกด้วย
 



กติกาวูซู

ในการแข่งขันกีฬาวูซูที่ผ่านมา ตั้งแต่กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 16 ที่ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 17 ที่สิงคโปร์และครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่เป็นการแข่งขันในเชิงยุทธลีลา (รำมวย) เท่านั้น ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ที่ อินโดนีเซียมีการแข่งขันแบบประลองยุทธเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่งด้วย โดยมีประเภทยุทธลีลา 7 ชนิด และประลองยุทธ 6 รุ่นด้วยกัน ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ก็เหมือนกัน
ประเภทยุทธลีลา 7 ชนิด คือ
1.ยุทธลีลาสฉางฉวน (มวยยาวหรือมวยเหนือ)
2.ยุทธลีลาหนาวฉวน (มวยใต้)
3.ไท้จี๋ฉวน (มวยไทเก็ก)
4.ยุทธลีลากระบี่
5.ยุทธลีลาดาบ
6.ยุทธลีลาไม้พลองยาว
7.ยุทธลีลาทวน
การแข่งขันยุทธลีลา ใช้เวลาในการแสดงไม่ตำกว่า 1 นาที 20 วินาทีเกณฑ์การตัดสินทั้ง 7 ประเภท
เริ่มจากค่าคะแนน 10   คะแนนแบ่งเป็น 3 ส่วน
 * ท่าทางยุทธลีลา  6 คะแนน
 * การประสานพลังยุทธต่อเนื่อง 2 คะแนน
 * คุณสมบัติที่มี 6 ประการ  2  คะแนน

การแข่งขันประลองยุทธ เป็นการต่อสู้ตัวต่อตัว ปัจจุบันจึงมีเฉพาะแต่ในประเภทชายเท่านั้น มีทั้งประเภททีมและบุคคล เวลาชก ยกละ 2 นาที พัก 1 นาที กำหนดคู่ละ 3 ยก ถ้าชนะกัน 2 ยกก็ถือว่าชนะเลย แต่ถ้าชนะกันคนละยกก็ต้องชกยกที่ 3 เพื่อตัดสิน แบ่งตามรุ่นน้ำหนักมีรุ่น 52 - 56 - 60 - 65 - 70 - 75 - 80 - 85 - 90 และ 90 กก.ขึ้นไปนักกีฬาคนหนึ่งเข้าแข่งขันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ในเวลาต่างกัน)
การได้และเสียคะแนน
* ฝ่ายใดตกเวที 1 ครั้ง คู่ต่อสู้จะได้ 3 คะแนน
* เตะคู่ต่อสู้ถูกลำตัว 1 ครั้ง ได้ 2 คะแนน
* เตะหน้าขาคู่ต่อสู้ 1 ครั้ง ได้ 1 คะแนน
- ถ้าฝ่ายหนึ่งถูกเตือน อีกฝ่ายจะได้ 1 คะแนน
- ถ้าเหวี่ยงล้มทั้งคู่ ฝ่ายล้มทีหลังจะได้ 1 คะแนน
การต่อสู้ที่คะแนนตามจุดของร่างกายคือ จุดที่ลำตัว หัว แขนและขา จุดที่ผิดกติกาคือ
1.จู่โจมท้ายทอย ท้องน้อย คอหอย ผ่าหมาก
2.หัวชน ศอก เข่า
3.จู่โจมศีรษะแบบต่อเนื่อง (ซ้ำ)
4.จับหักข้อต่อ
5.ทำให้คู่ต่อสู้ล้มหัวฟาดพื้น
6.จู่โจมซ้ำเมื่อคู่ต่อสู้ล้มลง
7.เข้ากวดคู่ต่อสู้อย่างเดียวไม่ต่อสู้
การปรับให้แพ้ในหลายกรณีเช่น
1.ในแต่ละยกถ้าไม่กลับเข้าสู่สภาพพร้อมที่จะต่อสู้ภายใน 10 วินาที ก็จะปรับให้แพ้ทันที
2.แพ้เพราะฟาวล์
3.ถูกนับ 8 สองหน ปรับให้แพ้ในยกนั้น
การหยุดการแข่งขันชั่วคราวทำได้ต่อเมื่อ
1.นักกีฬาล้มลงหรือตกเวที , บาดเจ็บ
2.นักกีฬากอดกันนานเกินกว่า 2 วินาที
3.จรดท่าต่อสู้กันนานเกินกว่า 8 วินาที
4.จากเหตุอื่นๆ อีก


วูซู, วูซู หมายถึง, วูซู คือ, วูซู ความหมาย, วูซู คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu