ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หมายถึง, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คือ, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ความหมาย, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

          ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (constitutional monarchy) พระมหากษัตริย์จะทรงปกเกล้าฯ  แต่มิได้ทรงปกครองกล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะทรงเป็นประมุขปกเกล้าฯ เหล่าประชาแต่จะไม่มีพระราชดำริใดๆ  ทางการเมือง และการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นเรื่องการปกครองโดยตรง จะทรงทำตามคำแนะนำและยินยอขององค์กรทางการเมือง โดยเฉพาะคณะรัฐมนตรีหรือรัฐสภา เมื่อทรงทำตามคำแนะนำและยินยอมขององค์กรทางการเมืองก็ไม่ต้องทรงรับผิดชอบทางการเมือง แต่องค์กรทางการเมืองต้องรับผิดชอบแทน จึงมีหลักว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิดใดๆ (The king can do no wrong) เพื่อแสดงให้เห็นว่าทรงทำตาม คำแนะนำและยินยอมขององค์กรทางการเมือง จึงต้องมี ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้เป็นการลงนามกำกับการกระทำของประมุขของรัฐเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน           ประเพณีการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในประเทศไทยมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏเด่นชัด โดยเฉพาะการตรากฎหมายนั้นแต่เดิมจะใช้ตราประทับ ดังเช่น ในกฎหมายตราสามดวงจะใช้ตราราชสีห์  คชสีห์  และบัวแก้วโดยพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยและไม่มีผู้ใดลงนามรับสนองพระบรมราชโองการการตรวจความถูกต้องใช้การตรวจตราประทับดังข้อความตอนท้ายของประกาศพระบรมราชปรารภกฎหมายตราสามดวงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า “...ครั้นชำระแล้วให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามฉบับ ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ไว้หอหลวงฉบับหนึ่ง ไว้  ณ ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง ปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ บัวแก้ว ทุกเล่มเป็นสำคัญถ้าพระเกษม พระไกรสี เชิญพระสมุดพระราชกำหนดบทพระอัยการออกมาพิพากษาคดีใดลูกขุนทั้งปวงไม่เห็นปิดตราพระราชสีห์ พระคชสีห์บัวแก้ว สามดวงนี้ไซร้ อย่าให้เชื่อฟังเอาเป็นอันขาดทีเดียว” ประเพณีที่ไม่มีการลงพระปรมาภิไธยและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนี้ยึดถือกันเรื่อยมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ดังจะเห็นได้จากกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์พุทธศักราช  ๒๔๖๗  ก็ยังไม่มีการลงพระปรมาภิไธย และการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

          การลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย หรือ การอื่นเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน มาปรากฏครั้งแรกในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองตามหลักฐานในประชุม กฎหมายประจำศกปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินพุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นฉบับแรกโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  และประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาลง วันที่  ๒๖  มิถุนายน พุทธศักราช  ๒๔๗๕  กฎหมายฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช  ๒๔๗๕  ซึ่งก็ทรงลงพระปรมาภิไธยท้ายพระราชบัญญัติโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเช่นกัน แต่การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการมาปรากฏในประกาศจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร  ซึ่งลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๖  กรกฎาคม  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประธานคณะกรรมการราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  ที่เป็นเช่นนี้  เพราะพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  มาตรา  ๗  บัญญัติว่า  “การกระทำใดๆ  ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”

          แม้ในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่  ๑๐  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  ก็ทรงลงพระปรมาภิไธยก่อนคำปรารภ  ดังเช่นที่ปฏิบัติมาตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติยกเลิกอากรนาเกลือ  พุทธศักราช  ๒๔๗๕  (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่  ๑๗  กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๔๘๒) และพระยาม โนปกรณ์นิติธาดา ประธานคณะกรรมการราษฎรลงนามรับสนองพระบรมราชโองการตอนท้ายของรัฐธรรมนูญ  ธรรมเนียมการลงพระปรมาภิไธยและการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็ต้องปฏิบัติตังนี้มาจนถึงปัจจุบัน

          ปัจจุบัน ในทางปฏิบัติ การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็คือ เมื่อมีกฎหมายหรือข้อราชการใดในการบริหารราชการแผ่นดินสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก็จะทำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับคติสากลที่ว่า  ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการคือผู้ถวายคำแนะนำนั่นเอง

การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หมายถึง, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คือ, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ความหมาย, การลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu