ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หมายถึง, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คือ, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ความหมาย, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร  รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวนที่ ๙  มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สืบแทนสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเสด็จสู่สวรรคาลัยโดยกะทันหัน

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒  ค่ำ เดือนอ้าย  ปีเถาะ จุลศักราช  ๑๒๘๙  รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่  ๕  ธันวาคม พุทธศักราช  ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น (Mount Aubum) เมืองเคมบริดจ์  รัฐแมสสาชูเซทท์ สหรัฐอมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช" ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์ มีพระนามเดิมและพระอิสริยยศต่อมาตามลำดับดังนี้

          หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า โนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเเละทรงได้รับการสถาปนาพระฐูานันดรศักดิ์ เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๗๘ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๘  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ให้ทรงมีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

          หม่อมเจ้าชายอานันทมหิดล ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน  พุทธศักราช  ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม  พุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ รัฐบาลจึงได้ทูลเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ ทรงพระปรมาภิไธยว่าพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๘๙ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง

          สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสโนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ทรงได้รับการสถาปนามีพระยศทรงกรมว่า กรมหลวงสงขลานครินทร์ ได้เสด็จทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และทรงสำเร็จวิชาแพทยศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงสำเร็จการศึกษาวิชาพยาบาลจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙ ต่อจากนั้นทรงได้รับทุนการศึกษาของสมเด็จพระศรีสวรนทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปทรงเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมราชชนก ขณะดำรงพระยศ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๖๓

         เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช  ๒๔๗๑ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๑ พรรษา สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทย ครั้งนั้นได้ประทับที่วังสระปทุม ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า อีกหนึ่งปีต่อมา ในเดือนพฤษภาคม  พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประชวร และสิ้นพระชนม์ ในวันที่ ๒๔ กันยายน ในปีนั้น

         ในพุทธศักราช  ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร เป็นเวลา ๕ เดือน หลังจากนั้นได้เสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช  ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชไม่ทรงแข็งแรง จำเป็นต้องประทับในสถานที่ซึ่งอากาศดีและไม่ชื้น พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระปิตุลา ทรงแนะนำให้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์เเลนด์ พระองค์ใด้ทรงเข้าศึกษาชั้นประกมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ (Ecole Mieremont) เมืองโลซานน์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชต่อมาโนวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๘ (คริสต์ศักราช ๑๙๓๕) ทรงย้ายมาศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอลนูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvelle de la Suisse Romande) เมืองเเชลลี ซูร โลซานน์ (Chailly-sur-Lausanne)

          เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘  ทรงรับประกาศนียบัตรการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส  คลาสสิค กังโตนาล (Gymnase  Classique Cantonal) แห่งเมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ แผนกวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ ๕  ธันวาคม  พุทธศักราช  ๒๔๘๘  ได้เสด็จนิวัตถึง ประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ โดยเสด็จสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช หลังจากเคยเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยชั่วคราวครั้งที่ ๑ เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๘๑  ครั้งหลังนี้ได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวังจนกระทั่งถึงวันที่  ๙  มิถุนายน พุทธศักราช  ๒๔๘๙  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จสวรรคตโดยกะทันหัน คณะรัฐบาลในขณะนั้นได้กราบบังคมทูลอัญเชิญ  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชในวันเดียวกัน

          เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชภารกิจในการศึกษาต่อ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่  ๑๙  สิงหาคม ของปีนั้น รวมเวลาที่เสด็จประทับโนประเทศไทยได้ ๙ เดือน ในการทรงศึกษาต่อครั้งนี้ ทรงเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่แต่เดิมก่อนเสด็จนิวัตประเทศไทย

          เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ได้ทรงหมั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากรผู้ซึ่งต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  สถาปนาพระอิสริยยศขึ้นเป็น  พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคลและในพุทธศักราช  ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนิวัตประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช๒๔๙๓  ประทับ ณ  พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในเดือนมีนาคม ปีนั้น

           ในวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส  ณ  พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี  พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม มีพระบรมราชโองการไปรดเกล้าฯ  สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์  และเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเดือนต่อมา

          พระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี มีขึ้นเมื่อวันที่  ๕  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๔๙๓  ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธย  ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร” ในวันนั้นได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

           เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔  สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ณ โรงพยาบาลมองชัวซีศ์ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์เเลนด์ ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ ตามที่แพทย์ได้ถวายคำแนะนำ หลังจากนั้นได้เสด็จนิวัตประเทศไทย และประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน สวนดุสิตเป็นการชั่วคราว เนื่องจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สำหรับเป็นที่ประทับ สมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินี ได้มีพระประสูติกาลพระราชโอรส และพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ

           สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณบรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาลอภิคุณประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมารประสูติเมื่อ วันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช  ๒๔๙๕  ในพุทธศักราช ๒๕๑๕  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิติยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์  มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร มุสิกนาม

           สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่  ๒  เมษายน  พุทธศักราช  ๒๔๙๘  ในพุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

          สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษญ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๔  กรกฎาคม  พุทธศักราช ๒๕๐๐

          เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช  ๒๔๙๙  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และประทับจำพรรษา ณ  พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินี  เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างที่ทรงพระผนวชอยู่  ๑๕  วัน เมื่อทรงลาพระผนวชแล้วมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องจากทรงปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการได้อย่างเรียบร้อย

          ในวันที่  ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช  ๒๕๐๐ การต่อเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เสร็จเรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต  กลับไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน

          ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๒ เริ่มเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีโดยระหว่างวันที่ ๑๘-๒๑ ธันวาคม พุทธศักราช๒๕๐๒ เสด็จพระราชดำเนินเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรก

          นับตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓  ซึ่งเป็นปีแรกที่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชกิจอันเป็นประโยชน์ และก่อให้เกิดความสุขแก่ประชาชนชาวไทยโดยสม่ำเสมอ  ด้วยทศพิธราชธรรม มิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและประโยชน์ส่วนพระองค์ โครงการพัฒนาทุกด้านที่เกิดจากพระราชดำริและโดยพระราชประสงค์ ที่ทรงดำเนินการด้วยพระองค์เอง และที่ทรงมอบหมายให้แก่หน่วยราชการและองค์กรเอกชน นับได้จำนวนสองพันกว่าโครงการ  มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเจริญ ช่วยลดปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในระยะเวลาที่เสวยราชย์มากว่า ๕๐ ปี

          สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชโอรสและพระราชธิดารวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงมีส่วนอย่างมากในการสนองพระราชประสงค์ และพระราชปณิธาน ไม่ว่าในการดำเนินการหลายอย่างจะต้องทรงเหนื่อยยากอย่างไร ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์  “เดินตามรอยเท้าพ่อ” ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ที่ขออัญเชิญบางตอนมาดังนี้

“ฉันเดินตามรอยเท้าอันรวดเร็วของพ่อโดยไม่หยุด
ผ่านเข้าไปในป่าใหญ่ น่ากลัว ทึบ
แผ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด มืด และกว้าง
มีต้นไม้ใหญ่ เหมือนหอคอยที่เข้มแข็ง
พ่อจ๋า...ลูกหิวจะตายอยู่แล้วและเหนื่อยด้วย
ดูซิจ๊ะ...เลือดไหลออกจากเท้าทั้งสองที่บาดเจ็บของลูก...
....
ลูกเอ๋ย...ในโลกนี้ไม่มีที่ไหบดอกที่มีความรื่นรมย์
และความสบายสำหรับเจ้า
ทางของเรามิได้ปูด้วยดอกไม้สวยสวย...
...
เพื่อมนุษยชาติ  จงอย่าละความกล้า
เมื่อเผชิญกับความทุกข์ให้อดทนและสุขุม
และจงมีความสุขที่ได้ยึดอุดมการณ์ที่มีค่า
ไปเถิด..ถ้าเจ้าต้องการเดินตามรอยเท้าพ่อ”

พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หมายถึง, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คือ, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ความหมาย, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu