ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย หมายถึง, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย คือ, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย ความหมาย, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย

          การเพิ่มจำนวนรังผึ้งเพื่อขยายกิจการการเลี้ยงผึ้งนั้น   เราจำเป็นจะต้องมีผึ้งนางพญาที่มีคุณภาพดีจำนวนมาก เพื่อให้เป็นแม่รังใหม่หรือใช้เปลี่ยนแม่รังเดิมที่มีประสิทธิภาพการวางไข่ต่ำ  ตลอดจนใช้ทดแทนให้กับรังของแม่รังเก่าในกรณีที่เราจับผึ้งมาเลี้ยง หรือนางพญาสูญหายไป  ซึ่งตามสภาพธรรมชาตินั้น การเกิดของนางพญาตัวใหม่จะเกิดได้เพียง ๓ กรณี คือ

          ๑. ผึ้งนางพญาเก่าตาย หรือสูญหายไปอย่างกระทันหัน
          ๒. ผึ้งนางพญาตัวเดิมแก่เกินไป  ประสิทธิภาพในการวางไข่ต่ำ
          ๓. สภาพของรังแข็งแรง สมบูรณ์เต็มที่ผึ้งต้องการแยกรังใหม่
          เมื่อเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็มาถึงวิธีการเพาะ ซึ่งเราจะต้องทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานเสียก่อนว่า การเพาะผึ้งนางพญานั้น เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องอาศัยความละเอียดนุ่มนวล รวดเร็ว และช่างสังเกตมาประกอบกันจึงจะประสบความสำเร็จ

          ๑. จัดเตรียมรังผึ้งที่แข็งแรง อาหารสมบูรณ์มีจำนวนคอนประมาณ ๗  -๘ คอน ประกอบด้วยคอนอาหาร ๓ คอน คอนตัวอ่อน ๑ คอน และคอนดักแด้ที่แก่จนเริ่มมีผึ้งคลานออกมาเป็นตัวเต็มวัย ๓-๔ คอน เพื่อใช้สำหรับเป็นรังเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเกิดเป็นผึ้งนางพญา

          ๒. จับผึ้งนางพญาเก่าภายในรังออกไป เพื่อให้มีสภาพที่ขาดผึ้งนางพญาเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ วัน ตรวจและทำลายหลอดรวงนางพญาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้หมด

          ๓. เตรียมถ้วยเพาะนางพญาติดกับคอนให้เรียบร้อย ในคอนหนึ่งติดถ้วยให้ห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว (ประมาณ ๒๐ - ๓๐ ถ้วย)
          ๔. นำคอนเพาะนางพญาจากข้อ ๓ ไปใส่ในรังสำหรับเพาะเลี้ยง เพื่อให้ผึ้งงานทำความสะอาดและยอมรับอย่างน้อยครึ่งวัน จึงนำออกมาหยดรอยัลเยลี หรือน้ำผึ้งอย่างใดอย่างหนึ่งลงที่ก้นถ้วยเพาะ ๑ หยดเล็กๆ

          ๕. เลือกคอนตัวอ่อนที่มีอายุไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมง มาจากรังผึ้งซึ่งมีประวัติดี

          ๖. ย้ายตัวอ่อนโดยใช้ไม้สำหรับย้ายตัวอ่อนนำมาใส่ลงในถ้วยเพาะนางพญาโดยวางตัวอ่อน ให้อยู่ตรงกลางถ้วยและอยู่บนหยดรอยัลเยลลีหรือน้ำผึ้งที่เตรียมไว้พอดี หลักสำคัญในการย้ายตัวอ่อน ก็คือ ต้องกระทำอย่างรวดเร็วที่สุด และไม่ทำให้ตัวอ่อนบอบช้ำ

          ๗. นำคอนที่ย้ายตัวอ่อนเสร็จแล้วกลับไปใส่ในรังเพาะเลี้ยง โดยวางคอนให้อยู่ระหว่างคอนที่มีอาหารและมีตัวอ่อนวัยแรกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผึ้งงานนำอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อนที่จะเป็นนางพญาได้ง่าย

          ๘. เลี้ยงน้ำหวานในรังเพาะทันทีและเลี้ยงทุกวันจนกระทั่งหลอดปิด

          ๙. ประมาณ ๒-๓ วัน กลับมาตรวจผลการย้ายตัวอ่อน ถ้าหากมีการเจริญดีมีอาหารสมบูรณ์ก็ปล่อยให้เจริญต่อไปได้เลย  แต่ถ้าหากการย้ายหนอนไม่ค่อยได้ผลดีก็ทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยตักตัวอ่อนตัวเก่าทิ้งไป แล้วย้ายตัวอ่อนตัวใหม่ที่มีอายุไม่เกิน ๒๔ ชั่วโมงลงไปใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้ผึ้งงานยอมรับมากขึ้น และได้ผึ้งนางพญาที่มีความสมบูรณ์มากกว่าการย้ายตัวอ่อนเพียงครั้งเดียว ในระยะนี้ถ้ามีหลอดรวงนางพญาตามธรรมชาติเกิดขึ้นให้ทำลายให้หมด

          ๑๐. หลังจากการย้ายตัวอ่อนประมาณ ๑๐ วัน จะต้องทำการแยกหลอดผึ้งนางพญานำไปติด ในรังผสมพันธุ์ขนาดเล็ก ซึ่งจัดเตรียมคอนอาหารใส่เอาไว้ด้วย เพื่อที่จะให้เป็นอาหารสำหรับผึ้งนางพญาที่จะออกมาต่อไป และคอนที่มีผึ้งงานเต็มอีก ๒-๓ คอน
          ๑๑. หลังจากนี้ประมาณ ๑-๓ วัน ผึ้งนางพญาในหลอดจะออกเป็นตัวเต็มวัย จำเป็นที่จะต้องให้อาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากขาดอาหารผึ้งนางพญาอาจตายได้โดยง่าย  ผึ้งนางพญาจะบินไปผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ ๓ - ๗ วัน และจะกลับมาวางไข่ภายใน ๒-๓ วัน

การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย หมายถึง, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย คือ, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย ความหมาย, การผลิตนางพญาผึ้งโพรงไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 15

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu