ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด คือ, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด ความหมาย, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด

      ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป เช่น เด็กคนนี้ถูกพ่อแม่ตัดหางปล่อยวัดเพราะประพฤติกรรมทำตัวเกเรไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ สำนวนนี้มีที่มาจากการตัดหางไก่แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ในสมัยโบราณ มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่นมีการทะเลาะวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกใน พระราชวังต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีประกาศกล่าวถึงการนำไก่ไปปล่อยที่วัดเพื่อสะเดาะเคราะห์ สันนิษฐานว่า ไก่ที่จะนำไปปล่อยที่วัดจะตัดหางเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นไก่ที่ปล่อย เพื่อการสะเดาะเคราะห์ด้วย

+สำนวนไทยที่ว่า ควันหลง มีที่มาอย่างไร


ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด หมายถึง, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด คือ, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด ความหมาย, ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu