ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หมายถึง, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ คือ, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ความหมาย, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

          ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต   ในระบบนิเวศแบ่งออกได้เป็น   ๒ ลักษณะ คือ          เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
          ๑. ภาวะการเป็นผู้อาศัย เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  ๒   ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันฝ่ายผู้อาศัยเป็นผู้ได้รับประโยชน์   ผู้ให้อาศัยเป็นผู้เสียประโยชน์ เช่น ต้นกาฝาก ซึ่งเกิดบนต้นไม้ใหญ่ มีรากพิเศษที่เจาะลงไปยังท่อน้ำและท่ออาหารของต้นไม้เพื่อดูดน้ำและธาตุอาหารหรือสัตว์ประเภทหมัด  เรือด เห็บ ปลิง ทากเหา ไร เป็นต้น
          ๒. การล่าเหยื่อ เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่ชีวิตหนึ่งต้องตกเป็นอาหารของอีกชีวิตหนึ่ง   เช่น  กวางเป็นอาหารของสัตว์  ปลาเป็นอาหารของมนุษย์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตล่าชีวิตอื่นเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า และชีวิตทีต้องตกเป็นอาหารนั้น เรียกว่า เหยื่อ
          ๓. การได้ประโยชน์ร่วมกัน  เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด   ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์กันและกัน  แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลา  นั่นคือบางครั้งอาจอยู่ด้วยกัน  บางครั้งก็อาจแยกใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังได้ เช่น นกเอี้ยงกับควาย การที่นกเอี้ยงเกาะอยู่บนหลังควายนั้นมันจะจิกกินเห็บให้กับควาย    ขณะเดียวกันก็จะส่งเสียงเตือนภัยให้กับควายเมื่อมีศัตรูมาทำอันตรายควาย  หรือแมลงที่ดูดกินน้ำหวานจากดอกไม้  มันก็จะช่วยผสมเกสรให้กับดอกไม้ไปด้วยพร้อมกัน
          ๔. ภาวะแห่งการเกื้อกูล เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิด ที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์   ส่วนอีกฝ่ายไม่เสียประโยชน์   แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์ อย่างเช่น   กล้วยไม้ป่า  ที่เกาะอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ใหญ่ในป่า  อาศัยความชื้นและธาตุอาหารจากเปลือกไม้    แต่ก็ไม่ได้ชอนไชรากเข้าไปทำอันตรายกับลำต้นของต้นไม้  ต้นไม้จึงไม่เสียผลประโยชน์  แต่ก็ไม่ได้ประโยชน์จากการเกาะของกล้วยไม้นั้น
          ๕. ภาวะที่ต้องพึ่งพากันและกัน  เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต  ๒ ชนิด ที่ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าแยกจากกัน เช่น ไลเคนซึ่งประกอบด้วยราและสาหร่าย  สาหร่ายนั้นสามารถสร้างอาหารได้เอง แต่ต้องอาศัยความชื้นจากราและราก็ได้อาหารจากสาหร่าย เช่นปลวกกินไม้เป็นอาหาร แต่ในลำไส้ของปลวกไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยเซลลูโลส  ต้องอาศัยโปรโตซัว ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวกเองเป็นตัวช่วยย่อยเซลลูโลส   และโปรโตซัวเองก็ได้อาหารจากการย่อยนี้ด้วย
          ๖. ภาวะของการสร้างสารปฏิชีวนะ เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ที่ฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับประโยชน์   แต่อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียประโยชน์เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตบางชนิดได้สกัดสารออกจากร่างกาย  แล้วสารนั้นไปมีผลต่อสิ่งมี-ชีวิตอื่น   เช่น  ราเพนิซิเลียม  สร้างสารเพนิซีเลียมออกมาแล้วไปมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของบัคเตรี
          ๗. ภาวะการกีดกัน เป็นภาวะที่การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ไปมีผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เช่น ต้นไม้ใหญ่บังแสงไม่ให้ส่องถึงไม้เล็กที่อยู่ข้างล่าง ทำให้ไม้เล็กไม่อาจเติบโตได้
          ๘. ภาวะของการแข่งขัน เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ๒ ชีวิต ซึ่งอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยหรืออาหารอย่างเดียวกันในการดำรงชีวิต และปัจจัยดังกล่าวนั้นมีจำกัด จึงเกิดการแข่งขันเพื่อครอบครองที่อยู่อาศัยหรือแย่งชิงอาหารนั้น เช่น ต้นไม้สองต้นที่ขึ้นอยู่ในกระถางเดียวกัน
          ๙. ภาวะการเป็นกลาง  เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ๒ ชีวิตในชุมชนเดียวกันแต่ต่างดำรงชีวิตเป็นอิสระแก่กันโดยไม่ให้และไม่เสียประโยชน์ต่อกัน
          ๑๐. ภาวะการย่อยสลาย เป็นการดำรงชีวิตของพวกเห็ดรา บัคเตรี ที่มีชีวิตอยู่ด้วยการหลั่งสารเอนไซม์ออกมานอกร่างกาย เพื่อย่อยซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นรูปของเหลว  แล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  ในรูปของเหลว ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารขึ้นในระบบนิเวศ

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ หมายถึง, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ คือ, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ความหมาย, ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 17

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu