ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคหอบจากอารมณ์, โรคหอบจากอารมณ์ หมายถึง, โรคหอบจากอารมณ์ คือ, โรคหอบจากอารมณ์ ความหมาย, โรคหอบจากอารมณ์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคหอบจากอารมณ์


     บางคนเมื่อมีเรื่องขัดใจ หรือมีอารมณ์เครียด ก็เกิดอาการหายใจหอบลึก และมือเท้า 2 ข้างจีบเกร็งคล้ายเป็นตะคริว อาจมีอาการแน่นิ่งไม่พูดไม่จา หรือเอะอะโวยวาย คล้ายเสียสติ สร้างความตกใจให้ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงที่พบเห็น บางชุมชนเข้าใจว่าเป็น "โรคผีเข้า" พาไปทำพิธีไล่ผีตามความเชื่อของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งมักจะหายได้เช่นเดียวกับพาไปรักษาที่โรงพยาบาล
     อาการดังกล่าว แพทย์เรียกว่า "กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน" หรือ "โรคหอบจากอารมณ์" ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ ไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ และสามารถแก้ไขด้วยวิธีง่ายๆ
ชื่อภาษาไทย              โรคหอบจากอารมณ์, กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน, กลุ่มอาการหายใจเกิน
ชื่อภาษาอังกฤษ           Hyperventilation Syndrome, Psychogenic Dyspnea
สาเหตุ         โรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด พบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มในการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก (แทนกะบังลมและกล้ามเนื้อท้อง) ซึ่งทำให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพและมักมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นให้เกิด อาการที่สำคัญได้แก่ ความเครียดทางจิตใจและอารมณ์ (เช่น ความกลัว วิตกกังวล โกรธ ขัดใจ น้อยใจ เสียใจ เป็นต้น) บางครั้งก็ถูกกระตุ้นด้วยอาการเจ็บปวดรุนแรง (เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบ หายใจลึก หรือหายใจเร็ว ส่งผลให้ร่างกายขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากเกิน เกิดภาวะเลือดเป็นด่าง (alkalosis) และภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ เกิดอาการผิดปกติของร่างกายหลายระบบพร้อมๆ กัน   อาการ
      ในรายที่เป็นเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการระบายลมหายใจเกิน เช่น หายใจลึก หายใจถี่ หรือทั้งลึกและถี่ ซึ่งมักเกิดขึ้นทันทีหลังจากมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจหรือมีความเครียดทางอารมณ์ บางรายอาจเกิดหลังจากมีอาการเจ็บปวดรุนแรง
      อาจบ่นปวด ศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น เจ็บหน้าอก แน่นอึดอัดในหน้าอก ชารอบปาก ชาปลายมือปลายเท้า หรือมีลมในท้อง ท้องอืดเฟ้อ
      อาจมีอาการร้องเอะอะ โวยวาย ดิ้นไปมา สับสน ประสาทหลอน หรือนอนแน่นิ่งเหมือนเป็นลม บางรายมีอาการหลับตามิดและขมิบหนังตาแน่น
      ผู้ป่วยมักมีอาการมือและเท้าจีบเกร็งทั้ง 2 ข้างคล้ายเป็นตะคริว ทั้งนี้เนื่องจากเกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia) ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาลูกโซ่จากการระบายลมหายใจเกิน จึงเกิดอาการชักเกร็ง (tetany หรือ carpopedal spasm) ของมือและเท้า
      อาการเหล่านี้ อาจทุเลาได้เอง ถ้าผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองให้กลับมาหายใจแบบปกติ แต่ถ้ายังมีการหายใจผิดปกติ อาการเหล่านี้ก็จะเป็นต่อเนื่อง อาจนานเป็นชั่วโมงๆ ทำให้ญาติตกใจกลัว จนต้องรีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
      ในรายที่เป็นเรื้อรัง มักไม่มีอาการหายใจผิดปกติและมือเท้าจีบเกร็งให้เห็นเด่นชัด ผู้ป่วยมักบ่นว่ามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น เจ็บหน้าอก รู้สึกหายใจไม่อิ่มหรือแน่นอึดอัดในหน้าอก นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เวียนศีรษะ ศีรษะโหวงๆ หรือรู้สึกโคลงเคลง ชาหรือเสียวๆ บริเวณรอบปากหรือปลายมือปลายเท้า มีลมในท้อง คลื่นไส้ และมักมีอาการถอนหายใจหรือหาวบ่อย
      ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ มีความรู้สึกกลัวอย่างไม่มีเหตุผล มีปมด้อย ขาดความอบอุ่นทางจิตใจ หรือมีปัญหาในการปรับตัว
      ในรายที่เป็นเรื้อรัง ซึ่งมักมีอาการไม่เด่นชัดแบบรายที่เป็นเฉียบพลัน ถ้าให้ผู้ป่วยหายใจลึกและเร็ว (นาทีละ 30-40 ครั้ง) ก็มักชักนำให้เกิดอาการมือและเท้าจีบเกร็ง และถ้าให้หายใจในกรวยกระดาษอาการต่างๆ ก็มักจะทุเลาได้
การแยกโรค
ในรายที่มีอาการหายใจหอบ อาจเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่นๆ เช่น        

โรคหอบจากอารมณ์, โรคหอบจากอารมณ์ หมายถึง, โรคหอบจากอารมณ์ คือ, โรคหอบจากอารมณ์ ความหมาย, โรคหอบจากอารมณ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu