ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลิลิตพระลอ, ลิลิตพระลอ หมายถึง, ลิลิตพระลอ คือ, ลิลิตพระลอ ความหมาย, ลิลิตพระลอ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ลิลิตพระลอ

        ลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์
ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต

ผู้แต่งและปีที่แต่ง

      ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก
นักวรรณคดีมักจะยกโคลงท้ายบทมาเป็นหลักฐานพิจารณาสมัยที่แต่ง ดังนี้
 
                                            659.จบเสร็จมหาราชเจ้า นิพนธ์
                                            ยอยศพระลอคน             หนึ่งแท้
                                            พี่เลี้ยงอาจเอาตน           ตายก่อน พระนา
                                            ในโลกนี้สุดแล้               เลิศล้ำคุงสวรรค์ฯ
                                            660.จบเสร็จเยาวราชเจ้า บรรจง
                                            กลอนกล่าวพระลอยง       ยิ่งผู้
                                            ใครฟังย่อมใหลหลง         ฤๅอิ่ม ฟังนา
                                            ดิเรกแรกรักชู้                 เหิ่มแท้รักจริงฯ    
 
       จากโคลงข้างบน มีผู้เสนอว่า "มหาราช" คือกษัตริย์ เป็นผู้แต่ง และ "เยาวราช"เป็นผู้เขียน (บันทึก) และสันนิษฐานว่า ผู้แต่งน่าจะเป็น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 และผู้เขียน คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 และคาดว่าน่าจะแต่งเมื่อ พ.ศ. 2034-2072

       อย่างไรก็ตาม นักวรรณคดีบางท่าน เสนอว่า น่าจะอยู่ในสมัยพระชัยราชาธิราช (พ.ศ. 2077-2089)เนื่องจากเป็นสมัยที่มีสงครามระหว่างไทยกับเชียงใหม่ และเป็นสมัยแรกที่มีการใช้ปืน (ปืนไฟ) ในการรบ

       ภาษาสำนวนในลิลิตพระลอ อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ในสมัยอยุธยา แต่ก็ยังมีศัพท์ยาก และศัพท์โบราณอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้นักวิจารณ์บางท่านเสนอว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์

คำประพันธ์

       คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ, ร่ายสอดสร้อย, โคลงสองสุภาพ, โคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง

เนื้อหา

       ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ

       เนื่องจากเมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร

กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้

        พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง

        เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด

        เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า "หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี.....ร้อยปีหรือพันปี.... ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง...ไปสู่อีปากหนึ่ง...ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน... แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี....บางครา....ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว" หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด

       กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก

       จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน

       ผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ

แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ลิลิตพระลอ


ลิลิตพระลอ, ลิลิตพระลอ หมายถึง, ลิลิตพระลอ คือ, ลิลิตพระลอ ความหมาย, ลิลิตพระลอ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu