ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ถึงเวลาของ |โรคหย่อน|, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| หมายถึง, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| คือ, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| ความหมาย, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ถึงเวลาของ |โรคหย่อน|

หญิงมีบุตรเสี่ยงเป็นโรคกะบังลมหย่อน แต่หากรู้วิธีป้องกันและออกกำลังกายสม่ำเสมอ เท่านี้ก็หายห่วง

หากโรคไส้เลื่อนเป็นสิ่งที่คู่กับผู้ชาย โรคกะบังลมหย่อนก็น่าจะเป็นสงวนสิทธิ์ไว้ให้ผู้หญิงโดยเฉพาะ

      ผู้หญิงที่มีลูกแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอดหรือภูมิแพ้ ซึ่งทำให้มีอาการไอจนแรงดันในท้องมากขึ้น ผู้ที่มีประวัติยกของหนักเป็นประจำ มีพฤติกรรมเบ่งถ่ายอุจจาระเนื่องจากท้องผูกเป็นประจำ รวมถึงครอบครัวมีประวัติกล้ามเนื้อกะบังลมไม่แข็งแรง บุคคลเหล่านี้จัดว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกะบังลมหย่อน
  
     "ผู้หญิงที่ผ่านการคลอดบุตรด้วยการเบ่งคลอด ซึ่งออกแรงเบ่งคลอดด้วยตัวเอง กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกรานมีความเสี่ยงจะเกิดความหย่อนและเสื่อมของกะบังลมก่อนวัยอันควร รวมถึงสตรีวัยทองที่อยู่ในภาวะขาดฮอร์โมน และผู้ที่อยู่ในภาวะโรคอ้วนซึ่งมักมีลมในท้องมาก ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน" นพ.วันชัย นพนาคีพงษ์ สูติ-นรีแพทย์ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น กล่าว

     สตรีที่มีปัญหากะบังลมหย่อน จะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่างกัน เช่น รู้สึกถ่วงในช่องคลอด บางรายมีก้อนซึ่งก็คือมดลูกโผล่ออกมาจากช่องคลอด มีปัญหาปัสสาวะเล็ดหรือถ่ายอุจจาระลำบากร่วมด้วย นอกจากนี้โรคกะบังลมหย่อนอาจทำให้มีอาการเจ็บที่ปีกมดลูก หรือปวดถ่วงท้องน้อยเหมือนมีอะไรมาจุกอยู่ที่ปากช่องคลอด กลัวว่าจะมีอะไรหลุดออกมา

     คุณหมอ อธิบายว่า อาการปวดหน่วงๆ ถ่วงๆ เกิดจากการที่อวัยวะภายใน เช่น ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือเหนือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน มีการหย่อนตัวลงมากองอยู่ที่กล้ามเนื้อกะบังลมที่เกิดการหย่อน ในบางคนที่เป็นมากอาจมีเนื้อปลิ้นออกมาทางช่องคลอด และเสียดสีกับเสื้อผ้าจนเป็นแผลได้
 
     แม้ว่าอาการโดยรวมของโรคนี้จะไม่ร้ายแรง แต่มีผลต่อความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เพราะในบางคนอาจปวดปัสสาวะบ่อย หรือมีปัญหาเรื่องการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ทำให้ไม่อยากที่จะเดินทางไปไหน
 
     วิธีสังเกตว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ประการแรกหากไม่เคยคลอดบุตรมาก่อน ก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่หากเคยคลอดบุตรมาแล้วให้ลองลุกขึ้นยืน หากรู้สึกปวดหน่วงตรงอุ้งเชิงกราน เหมือนอวัยวะจะหลุด ก็ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคสำหรับรับการรักษาต่อไป

     การตรวจและรักษาโรค แพทย์จะตรวจด้วยวิธีการอัลตราซาวด์สำหรับหญิงที่ยังไม่เคยมีบุตร แต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ส่วนหญิงที่ผ่านการมีบุตรแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ตรวจภายใน เพื่อคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกไปด้วย

     วิธีการรักษามี 2 รูปแบบขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยคือ การผ่าตัดซึ่งมีทั้งการผ่าเอามดลูกออก การผ่าตัดที่ตัดชิ้นเนื้อที่ปลิ้นออกมาออกและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อใหม่ การผ่าตัดรักษาอาการปัสสาวะเล็ด การผ่าตัดปิดช่องคลอด และการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ด้วยการขมิบนั่นเอง

     "การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือคนที่รู้ตัวว่าเสี่ยงจะเกิดโรค ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองเป็นประจำปีละครั้ง รวมถึงหมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออยู่เสมอ" คุณหมอกล่าว
 
      โรคนี้สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ ด้วยการฝึกขมิบช่องคลอดและทวารหนัก และทำให้บ่อยๆ เพราะยิ่งบ่อยยิ่งดี เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกะบังลม หรือนอนหงายแล้วยกตัวขึ้นในท่าสะพานโค้งก็ช่วยได้

แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/27965


ถึงเวลาของ |โรคหย่อน|, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| หมายถึง, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| คือ, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| ความหมาย, ถึงเวลาของ |โรคหย่อน| คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu