ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายถึง, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความหมาย, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

                                                     อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของไทย

                            นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเลือกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ ก็ต้องเจอกับเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงอย่างรุนแรงมากมายตลอดสมัยการดำรงตำแหน่ง แต่ขณะเดียวกัน กลุ่มที่ให้กำลังใจนายอภิสิทธิ์ ก็มีจำนวนมากไม่แพ้กัน เนื่องจากเห็นว่าเป็นคนหนุ่มไฟแรง ตั้งใจทำงาน วันนี้ เราลองมาย้อนเส้นทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คนนี้กัน

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เขาเป็นลูกชายคนเดียวและคนสุดท้องในจำนวน 3 คนของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ ปัจจุบันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีพี่สาวสองคน คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ ศาสตราจารย์หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก และนางสาวงามพรรณ เวชชาชีวะ นักประพันธ์รางวัลซีไรท์ประจำปี พ.. 2549 
ด้านชีวิตสมรส นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีบุตร-ธิดาด้วยกัน 2 คน คือ นางสาวปราง เวชชาชีวะ และนายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ด้านการศึกษา หลังจากครอบครัวได้เดินทางกลับเมืองไทยขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีอายุได้เพียง 1 ขวบ เขาก็ได้เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และที่โรงเรียนอีตัน ที่ประเทศอังกฤษ นับเป็นช่วงที่นายอภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี และถูกควบคุมด้วยกฏระเบียบที่ค่อนข้างเข้มงวด อีกทั้งโรงเรียนยังส่งเสริมให้เด็กนักเรียนทุกคนเล่นกีฬา ทำให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สนใจกีฬาหลายประเภท แต่ที่ถนัดมากที่สุดคือกีฬาฟุตบอล และมีสโมสร "นิวคาสเซิล" แห่งพรีเมียร์ลีกอังกฤษ เป็นสโมสรในดวงใจ และติดตามการแข่งขันฟุตบอลคู่สำคัญ ๆ มาโดยตลอด
หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด จนจบการศึกษาด้วยดีกรีเกียรตินิยมอันดับ 1 ภายในเวลา 3 ปี และนับเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ต่อจากพระยาศรีวิศาลวาจา

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และเข้ารับราชการทหารโดยได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี จากการเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่โรงเรียนนายร้อย จปร.ที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก ในช่วงปี พ..2530-2531 ก่อนที่จะลาราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง และหลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาโทแล้ว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้กลับมาสอนหนังสืออีกครั้ง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ช่วงปี พ..2533-2534 และในระหว่างนี้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ศึกษาต่อในคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนได้รับปริญญาตรีจากรามคำแหงอีกใบหนึ่งด้วย

แหล่งที่มา : https://hilight.kapook.com/view/31942 



เส้นทางการเมือง

เรียกได้ว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นผู้ที่สนใจและมุ่งมั่นจะทำงานด้านการเมืองมาตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ ดังจะเห็นได้จากสาขาที่เลือกศึกษาต่อ และความสนใจติดตามข่าวสารบ้านเมือง รวมทั้งทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ดังเช่นช่วงปิดภาคเรียนที่อังกฤษ เขาได้มาทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น 
กระทั่งได้โอกาสลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ในปี พ.ศ.2535 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งทั้งที่เป็น ส.ส.หน้าใหม่ และในขณะที่เขามีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น จึงถือเป็น ส.ส.ที่อายุน้อยที่สุด แต่ที่ฮือฮากว่านั้นก็คือ ในการเลือกตั้งครั้งนั้นเอง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กลายเป็น ส..พรรคประชาธิปัตย์ เพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากขณะนั้นได้เกิดกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" ขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และพรรคพลังธรรมกวาดที่นั่งไปเกือบหมด
หลังจากนั้นในการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ มา อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ยังคงเหนียวแน่นได้รับเลือกตั้งผูกขาดเป็น ส..กรุงเทพมหานครตลอดมา และได้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ ในแวดวงการเมืองมาหลายตำแหน่ง ทั้งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ,รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ,ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ,โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 
ด้วยความสามารถเป็นที่ประจักษ์แก่คนในพรรค ทำให้ในปี พ.ศ.2548 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่อจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่ลาออก และในที่สุด แม้ว่าการเลือกตั้งเมื่อปี พ..2550 พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้พรรคพลังประชาชน แต่มรสุมการเมืองที่รุมเร้าขั้วตรงข้าม ก็ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการสนับสนุนจากพรรคร่วมรัฐบาล จนได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทยได้สำเร็จ
แต่อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเข้าใจว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดของประเทศไทย ซึ่งจริง ๆ แล้ว บุคคลที่คาดว่าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย คือ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วยอายุเพียงแค่ 40 ปีเท่านั้น แต่สิ่งที่ทั้งคู่เหมือนกันก็คือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เหมือนกันนั่นเอง

ทั้งนี้ ในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ความวุ่นวายทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นมาตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ยังคงเป็นขวากหนามในการทำงานของรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ ดังเช่นกรณีที่กลุ่ม นปช. หรือ คนเสื้อแดง ซึ่งจัดชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอยู่บ่อยครั้ง จนนำไปสู่เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงกลางเดือนเมษายน ปี พ..2552 และเหตุการณ์จลาจลในกรุงเทพมหานคร และหลาย ๆ พื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม พ..2553 อีกทั้งยังมีกลุ่มพันธมิตรฯ หรือคนเสื้อเหลือง ออกมาชุมนุมประท้วง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนปราสาทเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชาที่ยืดเยื้อมานานหลายสิบปีอีกด้วย 
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้นำรัฐบาลมีมรสุมรุมเร้าพรรคประชาธิปัตย์มาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งจากปัจจัยภายใน และภายนอก จนทำให้มีผู้ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาล แต่บรรดาผู้ที่ชื่นชอบในนโยบายต่าง ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งชื่นชอบในตัว "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็ยังมีอีกเป็นจำนวนมากไม่แพ้กัน และแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 และประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค แต่ภายในพรรคก็ยังคงไว้วางใจเลือกนายอภิสิทธิ์ กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป พร้อม ๆ กับแรงเชียร์จากแฟนคลับหลาย ๆ คนทั่วประเทศ 



ประวัติส่วนตัว,การศึกษา,ประวัติการทำงาน,เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ประวัติส่วนตัว อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 

           
เกิดวันที่ 3 สิงหาคม 2507 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ

           
เป็นลูกชายคนเดียวและคนสุดท้องในจำนวน 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ และ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ

           
สมรสกับดร. พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตร - ธิดา 2 คน คือนางสาวปราง เวชชาชีวะ และนายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ

  การศึกษา

           ปริญญาตรีด้านปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

           ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

           ปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

           ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง


  ประวัติการทำงาน

           พ.ศ.2530-2531 อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ 

           พ.ศ.2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

           พ.ศ.2533-2534 อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

           พ.ศ.2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 (สาธร, ยานนาวา, บางคอแหลม) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2538 ,พ.ศ.2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 (ดินแดน, ห้วยขวาง, พระโขนง, คลองตัน) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2535-2537 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

           พ.ศ.2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์)

           พ.ศ.2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร

           พ.ศ.2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

           พ.ศ.2542 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2544 ,พ.ศ.2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2550 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วนกลุ่ม 6 พรรคประชาธิปัตย์

           พ.ศ.2551 นายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

           
พ.ศ. 2535 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)

           
พ.ศ. 2536 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

           
พ.ศ. 2538 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)

           
พ.ศ. 2540 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

           
พ.ศ. 2541 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) 


นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หมายถึง, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คือ, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความหมาย, นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu