ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

                                              สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

 - พระบรมบรรพต(ภูเขาทอง) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
     เป็นพระเจดีย์แบบกลมบนยอดเขา สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ของพระนคร เช่นเดียวกับพระเจดีย์ภูเขาทอง ที่พระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งเป็นราชธานี โดยมีขนาดวัดได้โดยรอบ 8 เส้น 5 วา สูง 1 เส้น 19 วา 2 ศอก มีบันไดเวียนขึ้นลง 2 ทาง คือทางทิศเหนือและใต้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ ย้อนกลับไปใช้ทรงกลมหรือ ทรงลังกาตามแบบสุโขทัยและอยุธยาอีกครั้ง ซึ่งเป็นพระราชนิยมประจำรัชกาลที่ 4 พระเจดีย์ได้รับการปฎิสังขรณ์ ในปี พ.ศ 2509 และบุกระเบื้องโมเสกสีทองที่องค์พระเจดีย์ พร้อมทั้งสร้างพระเจดีย์องค์เล็กๆ รายรอบพระเจดีย์องค์ใหญ่ทั้ง 4 ทิศ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุใน พระเจดีย์บนลูกแก้ว.

 -  พระอัษฎามหาเจดีย์(วัดพระศรีรัตนศาสดาราม)
    เป็นเจดีย์ทรงปรางค์ ตั้งเรียงอยู่หน้าวัดพระศรีศาสดาราม พระมหาเจดีย์ ทั้ง 8 องค์นี้มีขนาด รูปร่าง และความสูงเหมือนกันทุกประการ แต่ต่างกันออกไปด้วยสีของกระเบื้องเคลือบที่ประดับองค์พระเจดีย์ และชื่อประจำองค์พระเจดีย์เท่านั้น พระมหาเจดีย์แต่ละองค์ก่ออิฐถือปูน แบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนฐาน ส่วนเรือนธาตุ และส่วนยอดปรางค์ ส่วนฐานประกอบด้วยฐานทักษิณเป็นฐานแปดเหลี่ยมด้านไม่เท่า มีพนักระเบียงโดยรอบฐาน ส่วนเรือนธาตุเป็นแบบย่อมุมไม้สิบสอง มีซุ้นจรนำประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้ง 4 ทิศ ส่วนองค์ปรางค์อยู่เหนือส่วนเรือนธาตุ แบ่งเป็น 7 ชั้น รองรับด้วยมารแบกปูนปั้น มียอดนภศูลเป็นรูปฝักเพกาทำด้วยโลหะ.
 
 - พระที่นั่งวิมานเมฆ
    เป็นพระที่นั่งที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีรูปแบบสถาปัตยกรรมอิทธิพลตะวันตก แบบบศิลปะวิคทอเรีย มีห้องรวมทั้งสิ้น 72 ห้อง ลักษณะอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หักเป็นข้อศอกมุมฉาก บริเวณตรงกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยมสูง 3 ชั้น ในส่วนที่ใช้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นห้องแปดเหลี่ยมจะมี 4 ชั้น ชั้นล่างรูปแปดเหลี่ยมเป็นท้องพระโรง สูง 2 ชั้น และอาคารชั้นล่างสุดสร้างแบบก่ออิฐถือปูน ลักษณะเด่นของพระที่นั่งองค์นี้คือ ส่วนที่เป็นลวดลายฉลุไม้เรียกว่า "ลายขมนปังขิง" (Gingerbread) ที่จั่วหน้าบัน คอสอง และเชิงชาย มีการตกแต่งทางขึ้น-ลงภายในอาคารด้วยบันไดเวียนไม้สัก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นเฉพาะประจำรัชกาล.

 - โลหะปราสาท (วัดราชนัดดารามวรวิหาร)
    เป็นโลหะปราสาทแทนเจดีย์แห่งแรกของประเทศไทย และเป็นที่ 4 ของโลกที่ยังสมบรูณ์อยู่ทุกวันนี้ เป็นถาวรวัตถุที่จัดเป็นศิลปะไทยโดยเฉพาะ ไม่ได้สร้างให้พระสงฆ์อยู่จำวัด แต่สร้างขึ้นแทนองค์พระเจดีย์ โดยมีอุโบสถเป็นศูนย์กลางของวัด และมีโลหะปราสาทเป็นจุกเด่นของพระอาราม มีลักษณะเป็นปราสาท 3 ชั้น สูง 36 เมตร ก่ออิฐถือปูน มียอดเป็นรูปทรงคล้ายเจดีย์ และยอดปราสาทรวมทั้งสิ้น 37 ยอด ซึ่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ปราการ ตรงกลางเป็นมณฑป มีบันไดขึ้นโดยใช้เสาไม้แก่นใหญ่เป็นแกน แล้วทำขั้นบันไดวนเป็นก้นหอยรอบเสา โอบตัวขั้นบันไดควบกับตัวเสา และผนังด้านข้างเป็นรูปทรงกลมเวียนขึ้นไปสู่ฐานประทักษิณชั้นแรกและชั้นบน.

 - ตึกแถวริมถนนอัษฎางค์
   รูปแบบตึกแถวสมัยรัชกาลที่5 จัดเป็นสถาปัตย์กรรมอิทธิพลตะวันตก แสดงที่พักอาศัยขานดกลางของพ่อค้าประชาชนที่มีฐานะดี เป็นคูหาที่มีหน้ากว้างใกล้เคียงกัน แต่ลึกไม่เท่ากันแล้วแต่ขนาดที่ดิน ลักษณะเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน มีความสูง 2 ชั้น มีโครงสร้างเป็นกำแพงรับน้ำหนัก หลังคาทรงปั้นหยามีความลาดเอียงสูง โดยจะเน้นความสำคัญที่ตึกแถวคูหาสุดท้ายและส่วนหัวมุมถนน โดยยกเป็นมุมยื่นออกมาเล็กน้อยจากคูหาทั่วไป ด้านหน้ามุขก่ออิฐทำเป็นซุ้มโค้งแบบตะวันตกเรียกว่า มงกุฎ ส่วนล่างลงมามีการเน้นที่ซุ้มหน้าต่างชั้นบน ด้วยการทำบัวปูนปั้นแบบยุโรป และเน้นซุ้มประตูชั้นล่างด้วยการทำบัวปูนปั้นเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม.

 - วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
เป็นพระอุโบสถหินอ่อน สร้างตามแบบสมัยอยุธยาแต่ออกแบบตามคติแผนใหม่คือ ก่อสร้างพระอุโบสถทั้งหลังด้วยหินอ่อนจากต่างประเทศ หลังคาทรงจตุรมุขซ้อนกัน 3 ชั้น มีชั้นลดเพื่อลดความสูงไปหาระเบียงอีก 2 ชั้น ถ้ามองจากด้านหน้าของพระอุโบสถจะเห็นมุขลดกันถึง 5 ชั้น ระเบียงทำเป็นหลังคาลดชั้นคดต่อเนื่องเป็นหลังคาเดียวกันกับหลังคาพระอุโบสถ ตกแต่งหลังคาด้วยกระเบื้องลอนเคลือบสี เรียกว่ากระเบื้องกาบไผ่หรือ กะบู และปิดเชิงชายด้วยกระเบื้องลายเทพพนม ส่วนหน้าบันเป็นไม้จำหลักสลักลวดลายทั้ง 4 ทิศ ตัวพระอุโบสถใช้เสากลมบัวหัวเสา และด้านหน้ามีหน้าต่างถี่แบบที่นิยมสร้างกันในสมัยอยุธยาทั้งสิ้น.

 - ตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล(บ้านนรสิงห์)
เป็นงานสถาปัตย์กรรมที่พักอาศัยขนาดใหญ่ หรือคฤหาสน์สำหรับขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์สูง มีการจัดผังแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน คือส่วนคฤหาสน์หลังประธาน จัดให้เป็นจุดเด่นของทั้งบริเวณและส่วนของกลุ่มเรือนบริวาร มีช่างชาวต่างชาติอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ โดยนำศิลปะแบบกอธิค ที่มีศิลปไบแชนไทน์ผสมอยู่มาเป็นต้นแบบ ตกแต่งผนังภายนอกและช่องเปิดต่างๆของอาคารด้วยศิลปะแบบกอธิคตอนปลาย และตกแต่งผนังและเพดานภายในด้วยการประดับไม้สัก ลวดลายเหนือเชิงบัว จุดเด่นสำคัญภายในคฤหาสน์คือ การเขียนสีแบบปูนแห้ง บนฝ้าเพดานและผนัง ตอนใกล้ๆฝ้าเพดาน โดยแต่ละห้องมีรูปแบบต่างๆกัน.

 - พระที่นั่งชาลีมงคลอาสน์(พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม)
เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแท้ มีรูปแบบเป็นปราสาทขนาดเล็กคล้ายปราสาทในสมัยกลาง จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติด ที่ผสมผสานระหว่างปราสาทแบบเรอเนสซองของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ ของอังกฤษ เป็นอาคารสองชั้น ภายนอกอาคารมีเฉลียงโดยรอบโดยเฉพาะเฉลียงด้านตะวันออก เป็นเฉียงกว้างรูปครึ่งวงกลม เน้นสร้างจุดเด่นของตัวอาคารด้วยหอคอยทรงสูงรูปวงกลมไว้ทั้ง 4 มุม บรอเวณทางเข้าตำหนักมีมุขเล็กๆ ที่มีหลังคาคลุมยื่นออกมาจากผนัง และมีไม้ประดับผนังแบบเดียวกันกับ บ้านแบบทิวดอร์ของอังกฤษ.

 - พระเมรุมาศ(สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)
จัดเป็นสถาปัตยกรรมชั่วคราว เพื่อเทิดทูนศิลปะไทยชั้นสูง อันเป็นสมบัติของวัฒนธรรมไทย การสร้างพระเมรุมาศมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตามคติการปกครองแบบเทวนิยม คือมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม พระเมรุมาศคืออาคารขนาดใหญ่ เป็นอาคารเครื่องยอด หรือกุฎาคาร โดยเป็นยอดปราสาท ยอดมงกุฎ ยอดปรางค์ ยอดเจดีย์ หรือยอดผสมรูปแบบใดก็ได้สุดแต่สถาปิกจะเห็นสมควร หรือสุดแต่พระบรมราชโองการในพระมหากษัตริย์ ตัวอาคารสร้างด้วยไม้เป็นอาคารย่อมุขไม้สิบสอง พระเมรุมาศใช้สำหรับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง.

 - สถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)
เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบสถานีรถไฟในทวีปยุโรป ตามอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิค ลักษณะอาคารใช้หลังคาเป็นโครงเหล็กรูปโค้งเกือนครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ห้องโถงใหญ่ทั้งหมด บริเวณส่วนกลางเป็นโค้งมุงด้วยวัสดุใสเพื่อให้เกิดแสงสว่างทั่วทั้งห้อง เน้าทางเข้าด้วยโถงยาวเท่าความกว้างของโครง หลังคาห้องโถงนี้ทำเป็นหลังคาแบน มีลูกกรงคอนกรีตโดยรอบ รองรับด้วยเสา 2 ต้นคู่ ตลอดระยะมีการประดับตกแต่งหัวเสาด้วยบัวหัวเสาแบบไอโอนิค ตามแบบคลาสสิค ตั้งอยู่เป็นระยะๆไป และมีห้องลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมอยู่ปลายสุดของโค้ง เพื่อหยุดความกว้างของโค้งอาคาร.

แหล่งที่มา : https://www.baanjomyut.com/library/thai_architecture/index.html
 


สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ หมายถึง, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือ, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ความหมาย, สถาปัตยกรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu