ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา หมายถึง, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา คือ, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา ความหมาย, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา

     เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าวิกฤติด้านการเงินหรือ Sub-Prime Crisis ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเกิดจากเงินเฟ้อฟองสบู่จากสินทรัพย์หรือที่เรียกว่า Asset Price Inflation ซึ่งโดยข้อเท็จจริงได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว วิกฤติการทางการเงินในสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้เกิดจากการปล่อยสินเชื่อคุณภาพต่ำ (Sub-Prime Credit) ในรูปแบบของตราสารอนุพันธ์ทั้งที่เป็นแบบ Derivatives และ Securitization เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ต่ำกว่าเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ ทำให้ลูกหนี้ของธนาคารไม่สามารถชำระหนี้ ส่งผลให้เกิดหนี้เสียและเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงในระบบสถาบันการเงินของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ระบบการเงินของสหรัฐอเมริกามีการสั่นคลอนและขาดความเชื่อมั่น ทำให้สถาบันการเงินและวาณิชธนกิจชั้นนำของโลก เช่น Bear Sterns และ The Lehman Brothers Group ต้องล่มสลายไปในที่สุด และส่งผลกระทบถึงสถาบันการเงินชั้นนำอื่นๆ เช่น The American International Group (AIG)

     ผลกระทบของ Sub-Prime Crisis ได้ก่อให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นอย่างรุนแรงในระบบสถาบันการเงิน มีประชาชนไปแห่ถอนเงินจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงและมีการตึงตัวของสินเชื่อที่เรียกว่า Credit Crunch จนกระทั่งในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงินหลายแห่ง อย่างรุนแรง เช่น การที่ FED ใช้เงิน 20,000 ล้านดอลลาร์เข้าไปครอบงำกิจการของสถาบันสินเชื่อเคหะรายใหญ่ 2 รายของสหรัฐ ได้แก่ The Fannie Mae และ The Freddie Mac สถาบันการเงิน เช่น The Lehman Brothers Group ซึ่งมีหนี้สินสูงถึง 6.13 แสนล้านดอลลาร์ ต้องล้มละลาย นอกจากนี้ Merrill Lynch ซึ่งเป็นวาณิชธนกิจชั้นนำของโลกก็ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จน The Bank of America ต้องเข้าไปครอบงำกิจการ

     กรณีของประเทศไทย ผลกระทบทางตรงของวิกฤติการทางการเงินของสหรัฐอเมริกาคงจะไม่รุนแรงมากนัก เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยค่อนข้างมีระเบียบวินัยในการลงทุน อาจมีบางธนาคารซึ่งเข้าไปซื้อตราสารหนี้และอนุพันธ์ของสหรัฐบ้าง แต่ก็เป็นจำนวนเล็กน้อย ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินของไทยไม่มาก ผลกระทบต่อวิกฤติทางทางการเงินของสหรัฐจึงไม่น่าส่งผลกระทบในทางตรงต่อประเทศไทยมากนัก แต่ปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทยเองมากกว่าที่จะทำให้ไทยถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการกู้เงินจากต่างประเทศของไทยสูงขึ้นในที่สุด (Risk Premium)

     ทั้งนี้ วิกฤติทางการเงินในสหรัฐอเมริกาจะทำให้เกิดเงินทุนไหลออกไปเป็นจำนวนมาก เพราะเกิดการตึงตัวในระบบการเงินของโลก ทำให้ธุรกิจต่างชาติในประเทศไทยมีการปิดความเสี่ยงสภาพคล่อง (Liquidation) ด้วยการดึงเงินกลับประเทศ เพื่อนำเงินไปลงทุนหรือหาแหล่งการลงทุนหรือฝากเงินในที่ที่มีความปลอดภัยที่เรียกว่า

ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา หมายถึง, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา คือ, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา ความหมาย, ประเทศไทยกับผลกระทบวิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu