ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ หมายถึง, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ คือ, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ ความหมาย, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์


     วิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและรุนแรงต่อตลาดหุ้นทั่วโลก สถาบันการเงินชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นไม่มีประเทศใดสามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติการณ์ได้เลย รวมถึงตลาดหุ้นซึ่งเป็นปรอทวัดภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศก็พากันทรุดลงถ้วนหน้าอย่างน่าใจหาย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน หลายฝ่ายคาดกันว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวไปเป็นแรมปีทีเดียว คล้ายกับวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ประเทศไทยต้องใช้เวลาเกือบ 10 ปี กว่าจะฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่เดิมได้ สำหรับประเทศไทย อาจจะเป็นโชคดีอย่างหนึ่งที่มีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับปัญหา Subprime น้อยและอยู่พอในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ เนื่องจากไทยเพิ่งฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บสาหัสจากผลพวงของวิกฤติเศรฐกิจในปี 2540 ได้ไม่นาน จึงยังไม่แข็งแรงมากนัก ประกอบกับ กฎระเบียบเข้มงวดที่ไม่เอื้อต่อการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศ มีเพียงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเท่านั้นที่เริ่มมีการอนุญาตให้บุคคลธรรมดาไปลงทุนในต่างประเทศโดยผ่านทางกองทุนรวม FIF (Foreign Investment Fund) ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมต่างๆ แม้ว่าโดยรวมแล้วพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาที่ร้ายแรงเช่นเดียวกับอีกในหลายๆประเทศทั่วโลก แต่ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศเองกลับส่งผลร้าย อีกทั้งยังถูกซ้ำเติมจากปัจจัยภายนกประเทศในเรื่องของความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกับทุกวันนี้

     ในช่วงนี้ เครื่องมือทางการเงินที่ได้รับการกล่าวถึงกันมาก แม้ว่าจะไม่ใช่พระเอกก็คืออนุพันธ์ทางการเงิน (Financial Derivatives) ธุรกรรมทางการเงินในสหรัฐอเมริกาเติบโตและทวีความยุ่งยากสลับซับซ้อน จากการที่สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ออกอนุพันธ์ที่ผูกค่าอยู่กับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภท รวมถึงมีการนำอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินไปค้ำประกันความเสี่ยงให้กับตราสารหนี้ แต่เมื่อสถาบันการเงินที่มีอันดับความน่าเชื่อถือสูงเหล่านี้สะดุดขาตนเองล้ม ก็ได้ส่งผลกระทบไปยังสถาบันการเงินอื่นๆทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรปและเอเชีย จนกระทั่งซวนเซกันไปทั่วทั้งโลก รับบาลของหลายๆประเทศได้ประกาศแผนการกู้วิกฤติเพื่ออุ้มสถาบันการเงินของตน เพื่อป้องกันการล่มสลายอย่างต่อเนื่อง

     ธุรกรรมการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงินเหล่านี้เป็นการค้าขายกันเองระหว่างสถาบันการเงิน ที่เรียกว่า ตลาดโอทืซี (Over the Counter Market หรือ OTC) โดยผู้ที่เข้ามาทำธุรกรรมในตลาด OTC จะต้องทำการประเมินเครดิตหรือความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินคู่ค้าหรือคู่สัญญาของตนเอง ซึ่งได้แก่ สถาบันการเงิน กองทุนทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อมีเหตุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถทำตามสัญญาหรือล้มไป จะส่งผลให้ตราสารที่ออกไว้ รับรองไว้ หรือค้ำประกันไว้ ไม่สามารถดำเนินการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้

     นอกจากนี้ ยังมีอนุพันธ์ที่ทำการซื้อขายในตลาดที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือที่เราเรียกกันว่าตลาด Exchange ซึ่งให้บริการเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ประเภทต่างๆ หรับในประเทศไทยในปัจจุบันมีสองตลาดที่เป็น Exchange คือ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) ที่มีการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ซึ่งมีสินค้าเป็น SET 50 Index Futures และ SET 50 Index Options ซึ่งในปัจจุบันตลาดอนุพันธ์ของไทยจะมีโครงสร้างที่ชัดเจนแยกออกจากตลาดหุ้น ซึ่งต่างจากอนุพันธ์ส่วนใหญ่ในต่างประเทศที่มักจะมีสองตลาดอยู่รวมกัน เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง เกาหลีใต้ ยุโรปและอเมริกา อย่างไรก็ตาม ตลาดอนุพันธ์ทั่วโลกจะทำหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงด้านเครดิต หรือด้านความมั่นคงทางการเงินของบริษัทนายหน้าต่างๆอย่างเข้มงวดเหมือนๆกัน ดังนั้น รายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์จึงได้รับการดุแลในเรื่องความเสี่ยงของคู่ค้า (Counterparty Risk) เป็นอย่างดี เนื่องจากสำนักหักบัญชีหรือ Clearing House จะเป็นผู้ค้ำประกันการชำระราคาระหว่างคู่สัญญา ทำให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าจะได้รับเงินส่วนกำไรอย่างแน่นอน อย่างไรก็ดี การค้ำประกันของสำนักหักบัญชีมิได้หมายความถึงการค้ำประกันว่าผู้ลงทุนจะได้กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์

     นายหน้าซื้อขายอนุพันธ์ที่อยู่ในระบบของ TFEX และในระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะถูกตรวจสอบและประเมินความมั่นคงทางการเงินอยู่ตลอดเวลา โดยบริษัทสมาชิกต้องมีส่วนของทุนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้และต้องมีสินทรัพย์มาวางไว้เป็นหลักประกันที่บริษัทสำนักหักบัญชี ทั้งนี้ เงินทุนที่บริษัทนายหน้านำมาไว้ในปัจจุบันจะมีอัตราส่วนสูงกว่าที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดไว้ถึงสามเท่าตัว นอกจากนี้ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นในตลาด TFEX จะมีการชำระเงินกันทุกสิ้นวันทำการ และยังมีการประเมินความเสี่ยงในระหว่างวันอีกด้วย นายหน้าซื้อขายรายใดที่มีสัญญาณความเสี่ยงเกิดขึ้นจะถูกเรียกให้นำเงินมาวางเป็นหลักประกันเพิ่มเติมภายในสองชั่วโมงต่อไปของวันทำการนั้นๆ ในปัจจุบันสำนักหักบัญชีมีเงินประกันทั้งหมดสูงกว่า 2,000 ล้านบาท

     ตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชีจึงมีความมั่นใจในระบบงานด้านการบริหารความเสี่ยงที่จะสามารถดุแลความมั่นคงของการซื้อขายและการชำระราคาในระบบของตลาดอนุพันธ์ ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตลาดอนุพันธ์ทั่วโลกมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก โดยตลาดอนุพันธ์ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งของการบริหารความเสี่ยงแก่ผู้ที่เข้ามาซื้อขาย และสร้างความมั่นใจในระบบของตลาดอนุพันธ์ว่ามีการบริหารจัดการด้านเครดิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะเกิดวิกฤติในตลาด OTC ก็ตาม

โดย คุณวีระชาติ ชุตินันท์วโรดม
ที่มา TSI Investment Wiki
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
     https://www.tsi-thailand.org/
     https://www.set.or.th/

การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ หมายถึง, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ คือ, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ ความหมาย, การบริหารความเสี่ยงของตลาดอนุพันธ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu