ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เครื่องกฐิน, เครื่องกฐิน หมายถึง, เครื่องกฐิน คือ, เครื่องกฐิน ความหมาย, เครื่องกฐิน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เครื่องกฐิน

          ในพระพุทธศาสนา นอกจากมีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล ตามที่ว่ามาแล้ว ยังมีการทอดกฐิน นิยมกันว่า เป็นกุศลประจำปีอันสำคัญอย่างหนึ่ง การทอดกฐิน แปลกกับการทำบุญอย่างอื่น ด้วยมีเวลากำหนดทำได้เฉพาะแต่วันแรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากกำหนดนี้ทำไม่ได้ และเฉพาะในวัดหนึ่งๆ ก็มีแต่หนเดียว พระที่รับผ้ากฐินก็รับได้แต่หนเดียวเหมือนกัน ชาวบ้านจึงนิยมทอดกฐินมีทั่วไปทุกวัด ส่วนวัดหลวงพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จไปพระราชทานพระกฐินเป็นกระบวน ทั้งทางน้ำและทางบกเป็นที่รื่นเริงของประชาชน พากันมาคอยดูกระบวนเสด็จเป็นการครึกครื้นมาก วัดที่มิได้เสด็จ ก็พระราชทานเครื่องพระกฐินให้เจ้านายหรือขุนนางนำไปทอดแทน 

          เครื่องกฐิน ที่สำหรับให้เป็นกฐินแท้ๆ นั้น ก็คือ ผ้าผืน ๑ จะเป็นผ้าสังฆาฏิหรือผ้าจีวร สบงก็ใช้ได้ ไม่ใช่ต้องใช้ทั้ง ๓ ผืน ครั้งเมื่อชาวบ้านยังทำสบงจีวรไม่เป็น พระท่านต้องช่วยกันทำเอง วิธีทำเอาไม้แบบที่เรียกว่าไม้สะดึงทาบลงบนผ้าให้ได้กับแบบแล้วจึงตัดตามนั้น จึงเรียกผ้านั้นว่า "ผ้ากฐิน" หมายความว่า "ผ้าที่ทาบไม้สะดึง" นั้นเอง คำว่า "กฐิน" นั้นแปลว่า "ไม้สะดึง"  ครั้นเมื่อชาวบ้านรู้จักเย็บย้อมผ้าสบงจีวรได้แล้ว ก็เย็บย้อมเสียให้เสด็จแล้วนำไปทอดบ้าง ที่นำเอาแต่ผ้าขาวพอทำสบงหรือจีวรได้ผืนหนึ่ง ไปทอดให้พระท่านเย็บย้อมเองบ้าง จึงนิยมกันว่า ผ้าสำหรับทอดกฐิน จะเป็นผ้าเหลืองหรือผ้าขาวก็ได้

          ต่อมาชาวบ้านมีศรัทธามากขึ้น จึงจัดหาผ้าให้มากขึ้นรวมเข้าเป็นผ้าไตร และมีสิ่งของต่างๆ เช่น บาตร ย่าม ที่นอน มุ้ง และเครื่องใช้อื่นๆ เพิ่มเข้า มีของถวายตลอดถึงพระองค์อื่นๆ ที่รวมอยู่ในวัดนั้นด้วย และมีการแห่แหนกันเป็นการสนุกสนาน

          เมื่อนำเครื่องกฐินไปถึงวัดแล้ว นำผ้าเข้าไปในโบสถ์วางลงในที่ประชุมสงฆ์แล้วถวาย ตั้ง นโม จบ ๓ หน แล้วว่า "อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสสํ สงฆสส โอโณชยาม" ๓ หน การถวายจะว่าแต่คนเดียว หรือหลายคนว่าพร้อมกันก็ได้ และคำถวายนั้นจะว่าให้มากออกไปอีกก็ได้ เมื่อถวายจบแล้ว พระท่านพร้อมกันรับว่า "สาธุ" เป็นหมดหน้าที่ของชาวบ้าน ต่อนี้ไปพระท่านทำอปโลกน์ คือเปิดโอกาสให้สงฆ์ออกเสียงเลือกผู้ที่จะได้ครองผ้ากฐิน เมื่อสงฆ์เห็นควรแก่พระภิกษุรูปใดพร้อมกันแล้ว พระภิกษุรูปนั้นเป็นผู้ครองผ้ากฐิน การเลือกตามที่ปฏิบัติกันมาแต่ก่อนเคยเลือกพระภิกษุที่มีผ้าเก่ากว่าผู้อื่น ภายหลังผู้รู้ความประสงค์เรื่องนี้ เห็นควรเลือกท่านผู้ที่มีความรู้ในพระวินัยเป็นผู้ครองผ้ากฐิน การปกครองพระพุทธศาสนาก็ยกย่องท่านผู้ที่ความรู้ให้เป็นใหญ่ปกครองพระสงฆ์ในวัดนั้นๆ อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเลือกท่านผู้เป็นใหญ่อยู่ในวัดนั้นที่เรียกกันว่า เจ้าอาวาส หรือสมภารเจ้าวัด เป็นผู้ครองผ้ากฐินเป็นธรรมเนียมนิยมกันสืบมาจนทุกวันนี้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  • ตำนานการทอดกฐิน และอานิสงค์ของการทอดกฐิน
  • ในเทศกาลทอดกฐิน ทำไมต้องปักธงจระเข้ไว้หน้าวัด


  • ที่มา บ้านฝันดอทคอม


    เครื่องกฐิน, เครื่องกฐิน หมายถึง, เครื่องกฐิน คือ, เครื่องกฐิน ความหมาย, เครื่องกฐิน คืออะไร

    ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

    คำยอดฮิต

    Sanook.commenu