ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

CEO (Chief Executive Officer (CEO), CEO (Chief Executive Officer (CEO) หมายถึง, CEO (Chief Executive Officer (CEO) คือ, CEO (Chief Executive Officer (CEO) ความหมาย, CEO (Chief Executive Officer (CEO) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
CEO (Chief Executive Officer (CEO)

           ในทศวรรษนี้ ศาสตร์การบริหารที่ได้รับความนิยมในภาคธุรกิจเอกชนเป็นอย่างมาก คือ หลักการบริหารแบบ CEO เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้นักบริหารธุรกิจเอกชนให้ความสนใจหลักการบริหารแนวใหม่นี้ เพราะสามารถนำพาให้องค์กรฝ่าฟันวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นทั่วโลกเมื่อปี 2540 และทำให้องค์กรอยู่รอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่งได้ใช้หลักการบริหารแบบนี้ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และวิกฤตเศรษฐกิจที่มีผลกระทบมาจากเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถูกผู้ก่อการร้ายถล่มเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งบริษัทหลายแห่งประสบความสำเร็จและสามารถอยู่รอดได้จนถึงปัจจุบันนี้ (สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารราชการจังหวัด 2547, 3)


ความหมาย

           Webster

แนวคิด CEO

          แนวคิดซีอีโอในภาคเอกชน มีแนวคิดสำคัญ คือ ประธานหรือหัวหน้าฝ่ายบริหารสูงสุดของบริษัทได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่จากคณะกรรมการอำนวยการ หรือบอร์ดของบริษัทให้มีอำนาจในการจัดการซึ่งรวมถึงการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจ และการใช้อำนาจจัดการบริษัทอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเนื่องจากหัวหน้าฝ่ายบริหารดังกล่าวจะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการทำให้บริษัท มีกำไรหรือขาดทุน เจริญหรือเสื่อม จึงจำเป็นต้องมีอำนาจดังกล่าว ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นซีอีโอของภาคเอกชนจึงได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจหรือคณะกรรมการอำนวยการของบริษัท โดยต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถสูง และซื่อสัตย์สุจริต บริษัทจะให้ค่าตอบแทนสูง มอบอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พร้อมกับจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ให้ซีอีโอ เพื่อทำให้สามารถจัดการกิจการทั้งหลายของบริษัทให้ประสบผลสำเร็จทางวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน แต่ถ้าซีอีโอปฏิบัติงานล้มเหลวหรือไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจหรือคณะกรรมการอำนวยการของบริษัทก็จะสั่งปลดได้ (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ 2546, 52)


          แนวคิดซีอีโอ ซึ่งอาจเรียกว่า

คุณสมบัติของ CEO

คุณสมบัติของ CEO (สุวิทย์ ยิ่งวรพันธุ์ 2544, 6)

          1. ความสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างดีเยี่ยงนักการทูต รวมทั้งการวางตัวสง่าผ่าเผย

เหมาะสมกาลเทศะ

          2. ความสามารถในการวางแผนและการระดมทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบริหารงานได้ตามคำสั่ง หรือข้อบังคับของบริษัท

          3. ความสามารถในการมอบอำนาจการปฏิบัติงานให้กับลูกน้อง หรือเพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

          4. ความสามารถในการควบคุมและประเมินผลงานทุกขั้นตอน และทุกตำแหน่ง

          5. ความสามารถในการเผชิญปัญหา และกล้าตัดสินใจด้วยข้อมูลสถิติ เหตุผลที่ตรวจสอบเรียบร้อยอยู่ในกรอบของอำนาจหน้าที่

          6. ความคิดริเริ่มในการที่จะให้สัมฤทธิ์ผล ความคิดริเริ่มใหม่ ๆ มิใช่นั่งรอ แต่โอกาส หรือรองาน

          7. ปฏิบัติงานด้วยจิตใจที่มั่นคง เมื่อเผชิญกับปัญหา หรือความกดดันจากฝ่ายตรงข้ามทุกฝ่าย

          8. ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเผชิญกับงานชนิดใด ความรับผิดชอบ หรือประชาชนไม่ว่าจะมาในรูปใด

          9. ปฏิบัติงานด้วยความมั่นคงแน่วแน่ต่อแผนที่ได้วางไว้ด้วยความรอบคอบ (ไม่โลเล) จนกว่าแผนจะบรรลุตามเป้าหมาย หรือปฏิบัติไม่ได้จริง ๆ


แนวทางการสร้างพลังความเป็นผู้นำของ CEO (เสริมพงษ์ รัตนะ 2544, 83)

          แนวทางการสร้างพลังความเป็นผู้นำของ CEO มีหลัก 9 ประการ คือ

          1. ให้ความสำคัญกับคน ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

          2. ให้มีการชี้แจงจุดมุ่งหมายของการบังคับบัญชา และการควบคุม ผู้นำ จะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความเชี่ยวชาญในงานขององค์การของคน และสนับสนุนให้ผู้ร่วมงานนำนโยบายไปปฏิบัติ

          3. การสร้างสภาวะแวดล้อมผู้นำ โดยพิจารณาปรับโครงสร้างองค์การให้สะดวกต่อการส่งเสริมและให้โอกาสในการเป็นผู้นำ

          4. พลังในการติดต่อสื่อสาร ผู้นำ ต้องมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารในลักษณะสื่อสารสองทาง (Two way communication) และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ Emotion Quotient)

          5. ความสามารถในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Internet เพื่อติดต่อกับบุคคลทั้งภายใน และภายนอกองค์การ

          6. การเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน

          7. การมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยผู้นำต้องมีความรับผิดชอบ และมีระบบการควบคุมงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน ให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

          8. ความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการ ผู้นำต้องสามารถผลักดันให้ผู้ร่วมงานทำงานสำเร็จตามเป้าหมายในลักษณะทีมงาน

          9. การยอมรับต่อบุคคล ผู้นำต้องให้เกียรติต่อผู้ร่วมงานเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน และทำให้ทีมงานแสดงพลังออกมาได้อย่างเต็มที่



หน้าที่ความรับผิดชอบทั่วไปของ CEO

          โดยทั่ว ๆ ไป แบ่งได้ ดังนี้

1. ในฐานะผู้นำ

          - ให้คำปรึกษาแนะนำกรรมการของหน่วยงาน

          - เป็นตัวแทนขององค์กร ในการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรอื่น และเป็นผู้แนะนำองค์กรให้ผู้อื่นรู้จัก

2. ในฐานะผู้บริหาร ผู้มองการไกล

          - เป็นผู้รับรู้ข่าวสารใหม่ ๆ เกี่ยวกับองค์กรและบุคลากรเสมอ

          - มองไปยังอนาคตเพื่อสร้างโอกาส

          - มีการพบปะกันระหว่างผู้บริหารและบุคลากร

          - มีการติดต่อกันระหว่างองค์กรและสังคมภายนอก

3. ในฐานะผู้ตัดสินใจ

          - นำเสนอนโยบายและแผนงานแก่กรรมการบริหาร

          - ตัดสินใจหรือแนะนำการปฏิบัติงานให้กับบุคลากร


4. ในฐานะผู้จัดการ

          - บริหารจัดการองค์กร

          - ปรับปรุงแผนงาน

          - บริหารจัดการ ทรัพยากรบุคคลในองค์กร

          - บริหารจัดการ เงิน และทรัพยากรทางกายภาพ

5. ในฐานะนักพัฒนา

          - ช่วยในการคัดเลือกและประเมินสมาชิกของกรรมการบริหาร

          - ให้คำแนะนำ ปรึกษา สนับสนุนการทำงาน

          - สนับสนุนการประเมินกรรมการบริหารระดับสูง

 
หน้าที่หลักของ CEO

          1. เป็นกรรมการบริหาร และสนับสนุนการทำงานขององค์กร

          2. รับผิดชอบด้านการออกแบบ วางแผนการตลาด การประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ

          3. บริหารจัดการด้านการเงิน ภาษี การจัดการความเสี่ยง

          4. บริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร

          5. การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์องค์กรให้เป็นที่รู้จัก

          6. การจัดการด้านงบประมาณเพื่อการพัฒนาองค์กร


CEO กับ Knowledge Management

          CEO ต้องเป็นผู้ให้ความสำคัญกับความรู้ เป็นผู้ที่สนับสนุนให้เกิดความรู้ขึ้นในองค์กร โดยเฉพาะความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นตัวผลักดันให้องค์กรเกิดการพัฒนาโดยกระบวนการในการจัดการความรู้ที่ CEO ต้องดำเนินการ คือ (Dauphinais 2000, 311-322)

          1. การกำหนดว่าความรู้ใดเป็นความรู้ที่มีความสำคัญกับองค์กร และจำเป็นต้องใช้ในการทำงาน

          2. การพิจารณาความรู้ที่จะจัดเก็บว่าจะนำไปใช้ในด้านใดบ้าง ซึ่งการจะทราบว่าความรู้ที่ได้จัดเก็บไว้นั้นจะนำไปใช้ในส่วนใด อาจพิจารณาได้จากหลายทาง เช่น จากลูกค้า จากบุคลากรในองค์กร เป็นต้น

          3. การกำหนดวิธีการในการเข้าถึงความรู้ที่ได้ทำการจัดเก็บไว้ ซึ่งในส่วนนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการ

          4. การกำหนดภาษาที่ใช้ในการจัดการความรู้ ควรเป็นภาษาที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

          5. การสร้างความรู้เสมือน คือ การสร้างแหล่งความรู้ให้สามารถเข้าใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา

          6. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร

          7. วัดผลที่ได้รับจากการสร้าง ระบบการจัดการความรู้ ที่ใช้ในองค์กร ซึ่งอาจวัดได้จากกำไรที่ทางบริษัทได้รับ

          8. CEO ต้องสามารถคาดคะเนได้ว่าสิ่งที่ลงทุนไปนั้นจะเป็นสิ่งที่มีความคุ้มค่ากับองค์กร

          9. CEO ต้องมีความกระตือรือล้นในการพัฒนาความรู้ขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้องค์กรมีความรู้ใหม่ ๆ ในการพัฒนางาน


ที่มา กรมบัญชีกลาง
       รวบรวมโดย นายไพบูลย์ ปะวะเสนะ บรรณารักษ์ 3 ห้องสมุดกรมบัญชีกลาง (1 ธันวาคม 2547)



ความรู้และทักษะของ CEO

          CEO เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในองค์กร ดังนั้นตำแหน่งนี้จึงต้องการบุคคลที่มีความสามารถดำรงตำแหน่ง ซึ่งความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ ได้แก่

          1. ความรู้ในด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำ ได้แก่
          - การบริหารจัดการตนเอง
          - ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการองค์กร
          - สมรรถนะความเป็นผู้นำ
          - ความสามารถในการบริหารจัดการ

          2. ความรู้ในด้านการวางแผน ได้แก่

          - การวางแผนทางธุรกิจ

          - การวางแผนกลยุทธ์


          3. ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่

          - การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

          - การบริหารจัดการบุคลากร

          - การบริหารจัดการกลุ่มภายในองค์กร

          - การบริหารจัดการธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ

          - การปรับปรุงองค์กรทางธุรกิจของตน


          4. ความรู้ความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ ได้แก่

          - เป็นผู้นำของทุก ๆ คน

          - เป็นผู้นำของกลุ่ม

          - เป็นผู้นำขององค์กร


          5. ความรู้ในด้านการจัดการกิจกรรมและทรัพยากรในองค์กร ได้แก่

          - มีจริยธรรมในระบบการบริหารจัดการ

          - การจัดการด้านการเงิน

          - การจัดการด้านงบประมาณ

          - การบริหารจัดการบุคลากร

          - การบริหารจัดการกลุ่มในองค์กร

          - การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง

          - การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์และบริการ

          - การบริหารจัดการการตลาด และการประชาสัมพันธ์

          - การคิดอย่างเป็นระบบ



บทบาทของ CEO

          CEO ควรจะมีบทบาทสำคัญในด้านต่อไปนี้ (ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ 2545, 43-47)

          1. เป็นผู้วางกลยุทธ์ ให้บริษัทอยู่รอดทางธุรกิจ และเจริญรุ่งโรจน์ต่อไป การวางกลยุทธ์ได้ดี ต้องวางอย่างมีวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์ในที่นี้ไม่ได้หมายความแค่จินตนาการ คิดปุ๊บแล้วสั่งให้ทำปั๊บ CEO จะต้องลงไปคลุกคลีกับงานจนรู้แจ้งแทงตลอด เข้าใจกระบวนการทั้งหมด จากนั้นจึงแสดงวิสัยทัศน์ชี้นำ และมอบหมายอำนาจให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติ ไม่ใช่จะมากล่าวยกย่องกันเอง แต่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานใหญ่ของเครือซี.พี. คือ ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้ เพราะท่านทำงานชนิด

CEO (Chief Executive Officer (CEO), CEO (Chief Executive Officer (CEO) หมายถึง, CEO (Chief Executive Officer (CEO) คือ, CEO (Chief Executive Officer (CEO) ความหมาย, CEO (Chief Executive Officer (CEO) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu