ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัฒนธรรมไทย, วัฒนธรรมไทย หมายถึง, วัฒนธรรมไทย คือ, วัฒนธรรมไทย ความหมาย, วัฒนธรรมไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัฒนธรรมไทย

     วันนี้ สังคมได้ตระหนักถึงวัฒนธรรมไทยกันอย่างมาก แม้แต่รัฐบาลเองก็ตั้ง "กระทรวงวัฒนธรรม" ซึ่งแยกออกมาจากกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การจัดการ และการบริการงานวัฒนธรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  การจัดการที่ดีจะต้องอาศัยพลังจากคนไทยในสังคมร่วมกันสืบสาน อนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้เป็นสิ่งที่สังคมต้องตระหนักว่า..ถึงเวลาแล้วที่จะรักษา สืบทอดและอนุรักษ์ของดีๆเอาไว้  โดยพลังของสังคมเอง  ไม่ต้องมีใครบอก  ไม่ต้องมีใครรณรงค์หรือบังคับ แต่ขอให้เกิดจากใจของคนไทยทั้งหลาย  แล้วเราจะมีวัฒนธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์อยู่คู่ประเทศไทย.



วัฒนธรรมสากล

     การผูกมิตรไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาวัฒนธรรมสากล เพราะมีความจำเป็นในการศึกษาเปรียบเทียบ และปรับเปลี่ยนขนบธรรมเนียมประเพณีให้เหมาะสมแก่การยอมรับเชื่อถือของนานาอารยประเทศ นอกจากนั้นการผูกไมตรีที่ดีต่อกันด้วยการไปมาหาสู่ยังเป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและสร้างสายสัมพันธ์ให้กระชับแน่นด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันสามารถผ่อนคลายปัญหาความไม่เข้าใจ ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ให้กลับเป็นเรื่องเล็ก และกลายเป็นไมตรีที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในที่สุดวิถีแห่งการสร้างไมตรีนี้จึงเป็นหนทางการสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่การพัฒนาวัฒนธรรมสากลอีกด้านหนึ่งอย่างเด่นชัด
 
     ด้วยเหตุนี้ในช่วงระยะเวลา 8 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2510 จึงเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เพื่อปฏิบัติพระราชภารกิจทางต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาวัฒนธรรมสากลโดยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย สหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และออสเตรเลีย รวมทั้งสิ้น 23 ประเทศ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆนั้น พระองค์ได้ทรงทำหน้าที่แทนประชาชนชาวไทยเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ ทรงศึกษาความก้าวหน้าของวิทยาการโลก และทรงทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรมขอชาติ พระราชภารกิจนั้นหนักแทบจะไม่ทรงมีเวลาพักผ่อนพระวรกาย เพื่อนำผลประโยชน์และความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย การเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศแต่ละครา ล้วนสร้างความประทับใจและเป็นที่กล่าวขานถึในพระบารมีจนเลื่องลือขจรไกล ด้วยพระราชจริยวัตรอันงดงามสง่าของทั้งสองพระองค์ โดยเฉพาะพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเล่าถึงตอนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ที่ลอสแอนเจลิส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่วุ่นวาย ดุร้าย มากกว่าหนังสือพิมพ์ในรัฐใดๆ มีความตอนหนึ่งว่า " รั้งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกให้นักหนังสือพิมพ์เฝ้า ข้าพเจ้ายังจำได้ไม่มีวันลืมว่า ข้าพเจ้านั่งนิ่งไม่กระดุกกระดิกอยู่ข้างที่ประทับ มือเย็นเฉียบด้วยความกลัวเครื่องขยายเสียง เครื่องอัดเสียงเต็มไปหมด ไฟฉายตั้งส่องมาสว่างจ้าจนตาพร่า ทั้งมีแสงว้อบแว้บๆ อยู่ไม่ขาดระยะ ผู้คนช่างมากันมากมายเหลือเกิน นัยน์ตาทุกคู่จ้องเป๋งมาที่เราทั้งสอง เขาทั้งถ่ายรูป ถ่ายหนัง ถ่ายโทรทัศน์ ทั้งถวายสัมภาษณ์พร้อมกันไปหมด ข้าพเจ้าได้แต่นั่งภาวนาขออย่าให้ใครมายุ่งกับตัวข้าพเจ้าเลย ซึ่งก็นับว่าโชคดีพอใช้ เขาไม่ค่อยยุ่งด้วยเท่าไรนักดอก นอกจากฉายไฟส่องหน้าและถ่ายรูปถ่ายหนัง แล้วเขาต่างก็เข้าไปรุมซักไซร้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นการใหญ่ พอทรงตอบคนนั้นเสร็จ คนนี้ก็ถาม พอคนนี้เสร็จคนโน้นก็เริ่มถามอีกวนเวียนกันไปเรื่อยๆ เป็นเวลาตั้ง 40 นาทีเต็มๆ ที่ท่านถูกนักหนังสือพิมพ์อเมริกันรุม ดูๆแล้วก็คล้ายกับการซักซ้อมจำเลยมากกว่าการถวายสัมภาษณ์ในที่สุดการเสด็จออกให้นักหนังสือพิมพ์เข้าเฝ้าเป็นครั้งแรกในชีวิตของเราทั้งสองก็สิ้นสุดลง ข้าพเจ้าแอบถอนใจยาวด้วยความโล่งอก เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์อเมริกันซึ่งมาประจำเราอยู่ เข้ามาทูลถามพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวว่าทรงรู้สึกเป็นอย่างไรบ้างทรงหนักพระทัยไหม รับสั่งตอบว่า ตอนแรกๆ ก็เป็นบ้าง เพราะยังไม่เคยมาก่อนเลย เขากลับชมเปาะว่าทรงเก่งมากสำหรับเป็นครั้งแรก ภาษาที่ทรงใช้ก็ไม่ใช่ภาษาของท่านเอง เขาไม่เห็นทรงมีท่าทางสะทกสะท้านเลยแม้แต่น้อย เขาเคยติดตามคนสำคัญของประเทศต่างๆมาหลายรายแล้ว โดยทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ หลายครั้งที่เขาได้เห็นคนสำคัญออกให้นักหนังสือพิมพ์สัมภาษณ์แบบนี้ บางคนเหงื่อแตกท่วมตัว บางคนก็ติดอ่างจนพูดจาไม่รู้เรื่อง เสียบุคลิกลักษณะหมด ครั้นออกมาในโทรทัศน์แทนที่คนดูจะเห็นใจกลับหัวเราะเยาะหาว่า ไม่ได้ความเสียอีกก็มี…"

     การพระราชทานสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการครั้งนั้นมีเนื้อความโดยสังเขปว่า การที่เสด็จฯมาพบนักหนังสือพิมพ์ครั้งนี้เป็นการพบปะระหว่างเพื่อนฝูง เพราะต้องทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างมวลชนของโลก พระองค์เสด็จฯมาเพื่อนำมิตรภาพและสันถวไมตรีของชาวไทยมาให้กับชาวอเมริกันและประชาชนแห่งสหรัฐก็ได้แสดงมิตรภาพและความปรารถนาดีให้พระองค์นำสันถวไมตรีของชาวอเมริกันกลับไปเช่นกัน 

     กระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานในงานพิธีต่างๆนั้น แสดงถึงความมีพระราชอัจฉริยภาพอย่างสูง กระแสพระราชดำรัสมีเนื้อหาสาระที่เข้ากับเหตุการณ์ โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้มีความคิดความรู้สึกสอดคล้องไปตามกระแสพระราชดำรัส ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่สภานิติบัญญัติของรัฐฮาวาย มีความตอนหนึ่งว่า " ฮาวายอาจเป็นรัฐที่เยาว์วัยที่สุดของสหรัฐฯ แต่ความเจริญก้าวหน้าอันน่าชื่นชมของมลรัฐนี้ ได้เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ฮาวายเป็นศูนย์กลางที่สำคัญยิ่งตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเชื่อมประชาชนของสหรัฐฯกับประชาชนประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มรดกทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม ซึ่งส่วนมากมีกำเนิดในเอเชีย สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจดีและส่งเสริมมิตรภาพให้มีตลอดไประหว่างชาติของเรา ท่านสามารถจะทำหน้าที่เป็นผู้อธิบายขนบธรรมเนียมและสถาบันของเราในทุกขณะที่อาจจะมีบางคนที่ยังไม่เข้าใจได้ง่าย…"

     ความอีกตอนหนึ่งของกระแสพระราชดำรัสที่จับอกจับใจผู้ได้ยินได้ฟังโดยเฉพาะคนอเมริกันทำให้เกิดมโนคติโน้มน้าวจิตใจให้เกิดความคิดเห็นสอดคล้อง
ไปกับกระแสพระราชดำรัสว่า

     " ในส่วนตัวของข้าพเจ้าเองแล้ว การมาครั้งนี้นับว่าเป็นความสำคัญมากอยู่ ข้าพเจ้าเกิดในประเทศนี้เอง ฉะนั้นจึงพูดได้ว่า สหรัฐอเมริกาเป็นเมืองมารดาของข้าพเจ้า การมาเยือนคราวนี้ทำให้รู้สึกตื่นเต้นมาก
รู้สึกดีใจเหมือนได้เดินทางกลับบ้าน…"

     สรุปโดยรวมใจความในกระแสพระราชดำรัสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ทรงมีความปรารถนาอยู่ 3 ประการ คือ

       1. เพื่อทอดพระเนตร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอเมริกัน
       2. เพื่อทรงนำมิตรภาพและความปรารถนาดีของประชาชนชาวไทยมาพระราชทานแก่ประชาชนชาวอเมริกันด้วยพระองค์เอง
       3. มีพระราชประสงค์จะเสด็จพระราชดำเนินเยือนสถานที่เสด็จพระราชสมภพ เพื่อความภาคภูมิใจในความเจริญของประเทศตน

 
     พร้อมกันนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาที่ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นตั้งแต่พุทธศักราช 2402 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา และตรัสชมสหรัฐอเมริกาที่ให้ความช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียให้รักษาอิสรภาพ และช่วยเหลือประเทศไทยด้วย ทรงหวังว่าวันหนึ่งข้างหน้าประเทศไทยจะพึ่งตนเองได้

ที่มา

https://www.geocities.com

 

 



วัฒนธรรมราษฎร์

     วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ความเป็นไปที่ก่อให้เกิดแบบแผนปฏิบัติหรือวัฒนธรรมไทยนั้น เริ่มต้นที่หน่วยเล็กที่สุดในสังคม คือ ปัจเจกบุคคลไปถึงกลุ่มคน และสิ่งแวดล้อมรอบตัวคน วัฒนธรรมจะพัฒนาได้ก็ต้องอาศัยการพัฒนาส่วนประกอบย่อยเหล่านี้อย่างเหมาะสม ถูกกาละเทศะ และถูกทิศทาง
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อพัฒนาภาพชีวิตของราษฎรไทย
โดยเฉพาะชาวชนบทในทุกด้านดังกล่าวคือ
       - พัฒนาคน
       - พัฒนาสังคม
       - พัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
    โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากพระราชกรณียกิจ พระราชประสงค์และพระราชดำริของพระองค์ท่าน เพื่อพัฒนางานวัฒนธรรม
 มีมากมายสุดที่จะนำมากล่าว และขอนำเสนอพอสังเขป ดังนี้



วัฒนธรรมหลวง

     เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่ตกอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ ความเจริญทางวัตถุไหลบ่าเข้ามาตามกระบวนการสื่อสารแบบไร้พรมแดน วิถีชีวิตของคนและวิธีสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนน่าหวาดวิตกว่าถ้าไม่รู้เท่าทันกระแสและปล่อยให้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นมรดกของชาติที่น่าภาคภูมิใจเกิดการผสมผสานกับแนวนิยมใหม่ ๆ ที่ฉาบฉวยจนเจือจางเลือนลางไปแล้วอนุชนรุ่นหลังอาจไม่สามารถย้อนหลังดูร่องรอยความเป็นมา หรือรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมของเราได้

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่อนุรักษ์ ดัดแปลงและกอบกู้วัฒนธรรมไทย
ให้คงอยู่ดังสภาพที่เห็นในทุกวันนี้โดยมีพระราชกรณียกิจส่วนหนึ่งในการสืบสานพระราชพิธีต่าง ๆ
ทรงเล็งเห็นคุณานุประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับคนในชาติทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงทรงส่งเสริมและทำนุบำรุง
ประเพณีศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาอันยาวนานกว่า 50 ปี

     คำว่าพระราชพิธี จำกัดความหมายเฉพาะเป็นงานที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาให้จัดทำขึ้นตามลัทธิประเพณี
เพื่อความเป็นสวัสดิมงคลของประเทศและประชาชน หรือเพื่อความเป็นสวัสดิมงคลแก่สิริราชสมบัติพระบรมราชวงศ์และองค์พระมหากษัตริย์เอง หรือเพื่อน้อมนำให้ระลึกถึงความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา หรือเพื่อสำแดงความกตัญญูธรรมและระลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในรัชกาลก่อน ๆ ตลอดจนพระบรมราชบูรพการีที่ได้ทรงกระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนมาแล้วในอดีต  การพระราชพิธีนั้นจะทำกันแบบเดิมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้างนั้นเห็นจะไม่ได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมแก่กาลเทศะบ้างเป็นธรรมดา ในหลักการนั้นหากจะเปลี่ยนแปลงก็จะต้องได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนได้ แต่ก่อนที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนแปลงอะไรนั้น ก็จะต้องทรงไตร่ตรองอย่างรอบคอบ เพราะความรู้สึกนิดคิดและความนิยมเชื่อถือจากประชาชนนั้นมีหลายฝ่าย บ้างก็เป็นหัวสมัยเห็นว่าลัทธิหรือประเพณีเก่าอะไรต่าง ๆ นั้นไม่ใช่ของจำเป็น แต่ที่ยังมีความนิยมชมชอบเพราะเห็นว่าเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นผู้มีคติธรรมและวัฒนธรรมของบรรพชน ฉะนั้นในการปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรเกี่ยวกับพระราชพิธีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงได้ทรงถือหลักในทางสายกลาง คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในหลักการและความมุ่งหมายของพระราชพิธีนั้น ๆ จะเปลี่ยนแปลงก็เฉพาะในข้อปลีกย่อย เช่น ตัดทอนวันเวลาในการประกอบการพระราชพิธีให้น้อยลงบ้าง เปลี่ยนแปลงให้เกิดความประหยัดขึ้นบ้าง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาน้ำใจและขวัญของประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่าไว้โดยเสมอกัน


วัฒนธรรมไทย, วัฒนธรรมไทย หมายถึง, วัฒนธรรมไทย คือ, วัฒนธรรมไทย ความหมาย, วัฒนธรรมไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu