ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สารต้านอนุมูลอิสระ, สารต้านอนุมูลอิสระ หมายถึง, สารต้านอนุมูลอิสระ คือ, สารต้านอนุมูลอิสระ ความหมาย, สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สารต้านอนุมูลอิสระ

          อนุมูลอิสระ ( Free Radical ) คือ โมเลกุลที่มีธาตุที่ไม่มั่นคงเนื่องจากขาด อิเลกตรอน ไป 1ตัว
 
          ปกติแร่ธาตุทั้งหลายในร่างกายของเราจะมีอีเลกตรอนอยู่วงรอบเป็นจำนวนคุ่ ซึ่งทำให้โมเลกุลนั้นคงตัว
ในกรณีที่มีการสูญเสีย อิเลกตรอน หรือรับ อิเลกตรอน มาอีกเพียง 1 ตัวจะทำให้โมเลกุลนั้นไม่มั่นคง กลายเป็นตัวอันตรายและตัวเจ้าปัญหาคือพอเจอใครเขาดีๆก็แย่ง อิเลกตรอน มาจากเขาแทน 1 ตัว  ผู้ถูกแย่งก็กลายเป็นตัวเจ้าปัญหาแทนเพราะตนไม่มั่นคง ต้องไปแย่งคนอื่นมาเป็นทอดๆ ยกเวันตัวที่ไม่มั่นคง 2 ตัวมาเจอกันก็จะรวมกันกลายเป็นมั่นคงก็หมดเรื่องไป

          ตัวอย่างของ อนุมูลอิสระ ได้แก่
          - O2- Superoxide anion อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์
          - OH- Hydroxyl radicle อนุมูลไฮดรอกซิล
          - ROO Peroxy radicle อนุมูลเปอร์ออกซี
          - H2O2 Hydrogen Peroxide ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

          นอกจากนี้ก็ยังมีอีกมาก  อนุมูลอิสระจึงเป็นสารพิษต่อเซลล์ร่างกาย ถ้ามีมากในเซลล์ก็เป็นอันตรายได้โดยจะทำลาย ดีเอนเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และอื่นๆ แต่เซลล์ร่างกายพวกเม็ดเลือดขาว ก็ใช้สารพวกนี้กำจัดแบคทีเรีย หลังจากที่เซลล์กินแบคทีเรียเข้าไปในตัวแล้ว

          เชื่อว่าอนุมูลอิสระ มีผลต่อการอักเสบ และการทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้น ในระยะยาวอาจมีผลต่อ ความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารการก่อมะเร็ง และโรคหัวใจ ต้อกระจก

          อนุมูลอิสระ มีที่มาทั้งแหล่งภายนอกร่างกาย ได้แก่ มลพิษในอากาศ โอโซน ไนตรัสออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ฝุ่น ควันบุหรี่ อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ( แก้ได้โดยใส่วิตามิน อี ลงไปด้วย ) หรือธาตุเหล็กมากกว่าปกติ แสงแดด ความร้อน รังสีแกมม่า ยาบางชนิด เช่น Doxorubicin , Penicillamine, paracetamol, CCl4 เป็นต้น และแหล่งภายในร่างกายได้แก่ ออกซิเจน เป็นต้น

          ร่างกายก็มีกลไกที่จะกำจัด อนุมูลอิสระ เหล่านี้โดย 2 วิธี คือ ใช้เอนไซม์ต่างๆในร่างกายเช่น Superoxide dismultase ( SOD ) และไม่ใช้เอนไซม์ ได้แก่ วิตามิน อี ( a tocopherol   เบตาคาโรทีน ( Betacarotene ) และ วิตามิน ซี  เนื่องจากมีผู้สังเกตว่า เอนไซม์ต่างๆที่ใช้กำจัด อนุมูลอิสระ เช่น SOD มีได้จำกัด แต่สารที่เราสามารถทานเสริมได้แก่ วิตามิน อี วิตามิน ซี เบต้าคาโรทีน   ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระหรือมีอีกชื่อว่า Antioxidant  เนื่องจาก เบต้าคาโรทีน
มีมากในผักและผลไม้บางชนิด จึงมีการสนับสนุนให้ทานสิ่งเหล่านี้เพิ่มมากชึ้น โดยมีความเชื่อว่าอาจลดการก่อมะเร็ง ลดการเป็นโรคหัวใจ ขาดเลือดและ โรคอื่นๆ

          สำหรับ อาหารที่มีเบต้าคาโรทีนสูง ได้แก่ ผักใบเขียว (เช่น ตำลึง และ ผักบุ้ง) อาหารที่มีสีเหลือง (เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก มะเขือเทศ ฟักทอง) อาหารที่ให้วิตามินซีสูง คือ พืช ผักสีเขียว และผลไม้รสเปรี้ยว เช่นตำลึง ผักบุ้ง พริกหยวก ส้ม มะนาว สัปปะรด เป็นต้น ส่วนวิตามิน อี มีในน้ำมันพืชต่างๆ

         รายงานที่บอกว่าการทานผักและผลไม้ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งมีมากมาย ซึ่งคิดว่ากลไกทั้งด้านที่ผักและผลไม้มีสารกากใยมากซึ่งจะช่วยทางด้านลดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้กลไกทางด้านต้านอนุมูลอิสระก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

          ตัวอย่างรายงานเหล่านี้มีมากเช่น ผักและผลไม้ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ถึง 5.5 เท่า ซึ่งรายงานนี้ก็เป็นรายงานใหญ่ในการศึกษาแบบติดตามคนไข้ถึง 11,546 คนเป็นเวลาถึง 25 ปี  ผักและผลไม้ลดความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด ก็มีรายงานเช่นกัน บางรายงานตรวจสอบชัดลงไปได้ถึงชนิดของผักด้วยเช่นพบว่า ผักที่มีสีเหลืองเช่น แครอท มันฝรั่ง
พบว่าลดมะเร็งของปอดได้มากกว่าผักชนิดอื่นเป็นต้น

          นอกจากนี้มีรายงานใหญ่ที่ติดตามการเป็นมะเร็งของประชากร 10,068 คน เป็นเวลาถึง 19 ปี ในจำนวนนี้พบมะเร็งปอด 248 คน พบว่าการทานผักและผลไม้ที่มีวิตามิน เอ หรือ เบต้าคาโรทีน จะสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดได้ การทานผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีน วิตามิน ซี วิตามิน อีสูงสามารถที่จะลดอุบัติการการ เป็นมะเร็งเต้านมได้จริง ในสตรีวัยเจริญพันธ์ จากการติดตาม คนไข้ 83.234 คน เป็นเวลา 14 ปี

          สำหรับมะเร็งชนิดอื่นเช่นมะเร็งต่อมลูกหมากพบว่าการทานผักและผลไม้ไม่ช่วยลดความเสี่ยงแต่อย่างใด แต่มะเร็งกระเพาะปัสสาวะลดความเสี่ยงได้ด้วยการทาน ผักประเภท บรอคเคอรี่ และหัวผักกาด นอกจากนี้ผักและผลไม้ที่มี เบต้าคาโรทีนสูงก็มีผลต่อการลดอุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง จากการวิจัยย้อนหลังในคนไข้ 4802 คนติดตามไป 4 ปี

          มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากได้พยายามศึกษาและรายงานผลของการทาน สารต้าน อนุมูลอิสระ คือ วิตามิน อี วิตามิน ซี และ เบต้าคาโรทีน โดยตรง ดูว่าจะลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งต่างๆ โรคหัวใจ และโรคอื่นอีกหรือไม่ โดยมีทั้งรายงานที่สนับสนุนผลดีและรายงานที่บอกว่าไม่ได้ผลก็มี เช่น การทานวิตามิน เอ วิตามิน อี และ วิตามิน ซี โดยตรงก็สามารถลดความเสี่ยงมะเร็งได้เช่นกัน แต่ไม่มากนักและ การทานวิตามินตามินเหล่านี้ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของร่างกาย ในแต่ละวันกลับไม่ช่วยลดอุบัติการของการเป็นมะเร็งปอด

          การทานเบต้าคาโรทีน วันละ 30 มก.และ วิตามิน ซี 500 มก. เป็นเวลา 2 ปี ไม่มีผลป้องกัน การเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกที่ผิดปกติไป สู่การเป็นเซลล์มะเร็ง แสดงว่าไม่มีผลดีทางด้านนี้ การทานสารต้านอนุมูลอิสระ คือ วิตามิน ซี วิตามิน อี ก็ยังไม่มีรายงานว่ายับยั้งโรคประสาทตาเสื่อมได้ จากการติดตามผู้ป่วย 21,120 คน เป็นเวลา 12.5 ปี

          จากการวิเคราะห์โดยรวบรวมเฉพาะการวิจัยที่ติดตามผลหรือมีการทดลองที่ชัดเจนพบว่ามีเพียงวิตามิน อี เท่านั้นที่อาจมีบทบาทในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและลดอัตราตาย ในโรคหัวใจได้ส่วน เบต้าคาโรทีน และ วิตามิน ซี ไม่มีดีผลที่ชัดเจน และผลดีนี้ไม่เกี่ยวกับกลไกทางด้านไขมันในเลือดและความดันโลหิต

          สำหรับ เบต้าคาโรทีนนั้นแม้จะพบว่า อาหารที่มีเบต้าคาโรทีนมีผลต่อการลดอุบัติการของโรคหัวใจ ขาดเลือดได้จริง แต่เมื่อให้สารสกัดเบต้าคาโรทีนโดยตรงต่อผู้ป่วยก็ยังไม่พบผลดีชัดเจนต่อโรคหัวใจ

          สำหรับวิตามินซีมีเพียงการการวิจัยแบบวิเคราะห์ย้อนหลังที่พบว่าวิตามินซีอาจมีผลดี ต่อการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 

          จากการค้นพบว่าวิตามิน อี อาจมีผลต่อการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดโดยลดอัตราตายได้ ก็เริ่มมีการวิจัยโดยมีการทดลองที่มากขึ้น โดยทดลองในคนไข้ 2000 คนเป็นเวลาปีกว่า ก็พบว่าวิตามิน อี ลดอุบัติการของโรคหัวใจขาดเลือดจริง แต่ก็มีผลน้อยมาก และจากการทดลองในรายงานหลังก็พบว่า เบต้าคาโรทีนกลับไม่มีผลดีอันนี้

          กล่าวโดยสรุปแล้ว สารต้านอนุมูลอิสระน่าจะมีผลดีต่อร่างกายและอาจลดมะเร็งต่างๆ และลดอุบัติการโรคหัวใจขาดเลือดได้จริง แต่กลับพบว่าฤทธิ์เด่นชัดกลับอยู่ในรูปของผักสดและผลไม้มากกว่าสารสกัด หรือตัววิตามินโดยตรง

          ดังนั้นการทานผักสดและผลไม้จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากและมีผลดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง หวังว่าเรื่องนี้คงจะเป็นประโยชน์และทำให้เราทานผักและผลไม้กันมากๆ



ผลไม้ไทย 10 อันดับที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

          กรมอนามัยวิจัย 10 ผลไม้ไทย มีสารต้านมะเร็งสูง นางนัทยา จงใจเทศ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการทำวิจัย “องค์ความรู้เรื่องปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผลไม้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ (วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน) ในผลไม้” ที่ทำการศึกษาในผลไม้ 83 ชนิด พบว่า

ผลไม้ 10 อันดับแรกที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือ

1. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
2. มะเขือเทศราชินี
3. มะละกอสุก
4. กล้วยไข่
5. มะม่วงยายกล่ำ
6. มะปรางหวาน
7. แคนตาลูปเนื้อเหลือง
8. มะยงชิด
9. มะม่วงเขียวเสวยสุก
10. สับปะรดภูเก็ต

ผลไม้ทั้งหมดนี้มีเนื้อสีเหลืองและสีเหลืองเข้ม

ส่วนผลไม้ที่ไม่มีเบต้าแคโรทีนเลย

1. แก้วมังกร
2. มะขามเทศ
3. มังคุด
4. ลิ้นจี่
5. สาลี่

10 อันดับแรกของผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงคือ

1. ฝรั่งกลมสาลี่
2. ฝรั่งไร้เมล็ด
3. มะขามป้อม
4. มะขามเทศ
5. เงาะโรงเรียน
6. ลูกพลับ
7. สตรอเบอร์รี่
8. มะละกอสุก
9. ส้มโอขาว
10. แตงกวา
11. พุทราแอปเปิล

การศึกษานี้พบผลไม้ที่มีวิตามินอีสูง 10 อันดับแรกคือ

1. ขนุนหนัง
2. มะขามเทศ
3. มะม่วงเขียวเสวยดิบ
4. มะเขือเทศราชินี
5. มะม่วงเขียวเสวยสุก
6. มะม่วงน้ำดอกไม้สุก
7. มะม่วงยายกล่ำสุก
8. แก้วมังกรเนื้อสีชมพู
9. สตรอเบอร์รี่
10. กล้วยไข่

- ผลไม้ที่มีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอีน้อยทั้ง 3 ตัว คือ สาลี่ องุ่น และแอปเปิล

- ส่วนผลไม้ที่มีสารทั้ง 3 ตัว (เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินอี)ค่อนข้างสูงคือ มะเขือเทศราชินี

          ทั้งนี้ เบต้าแคโรทีน วิตามินซีและอี เป็นกลุ่มของสารอาหารที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ก่อให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ทำลายเนื้อเยื่อ เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด สารทั้ง 3 ตัว โดยเฉพาะ เบต้าแคโรทีนจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ป้องกันเนื้องอก ลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจก มะเร็งและหัวใจได้ จึงควรรับประทานผลไม้ในปริมาณมากพอสมควรทุกวัน หรืออย่างน้อยวันละ 4 ส่วนของอาหารที่รับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
น.ท. น.พ. จักรพงศ์ ไพบูลย์
https://www.thaiclinic.com/antioxidant.html
https://www.thairunning.com/10antiradical.htm


10 สารต้านอนุมูลอิสระ

          1. สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ได้รับการขนานนามว่าเป็นสารซุปเปอร์แอนตี้ออกซิแดนท์มานาน เนื่องจากคุณสมบัติเด่นในด้านการกำจัดอนุมูลอิสระที่สูงกว่าสารแอนตี้ออกซิแดนท์อื่น ๆ โดยสูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และวิตามินอี 50 เท่า ทั้งยังคงอยู่ในกระแสเลือดได้นานถึง 72 ชม. สามารถป้องกันและลดการทำลายล้างจากสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเราตลอดเวลาทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อันเป็นสาเหตุของความเสื่อมและอ่อนแอของร่างกายโดยรวม โดยเฉพาะระบบหลอดเลือด หัวใจ ผิวหนัง และตา เมื่อรับประทานสารสกัดจากเมล็ดองุ่นเป็นประจำจะทำให้ได้รับสาร OPCs เข้าไปยับยั้งการเสื่อมสลายของคอลลาเจนใต้ผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเสื่อมของผิวพรรณไม่ให้แก่ก่อนวัยอย่างตรงจุด ปริมาณการใช้ วันละ 20-60 มก.

          2. ชาเขียว ในชาเขียวประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประเภทฟลาโวนอยด์ ที่ทรงพลังหลายชนิด โดยเฉพาะสาร EGCG ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอีถึง 20 เท่า มีผลการวิจัยพบว่าชาเขียวสามารถลดอัตราการเป็นมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ ได้ดี โดยเฉพาะมะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งตับ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเป็นพิษจากการสูบบุหรี่ เช่น นิโคติน และน้ำมันทาร์ เป็นต้น ปริมาณการใช้ วันละ 300-1,000 มก.

          3. สารสกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ดีอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากประโยชน์ในการแก้ปัญหาเรื่องฝ้าด้วยการควบคุมการทำงานของกระบวนการสร้างเม็ดสีในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล ไม่ผลิตเม็ดสีออกมาผิดปกติจนเป็นฝ้า, กระ แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อผิวพรรณและสุขภาพร่างกายโดยรวมอีกด้วย ปริมาณการใช้ วันละ 75 มก.

          4. โคเอ็นไซน์คิวเท็น มีหน้าที่หลักในกระบวนการสร้างพลังงานในระดับเซลล์ เพื่อให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ หากร่างกายขาดโคเอ็นไซม์คิวเท็นถึง 75% ก็อาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้เซลล์ที่ต้องการพลังงานสูงและมีความต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์สมอง เพื่อให้มีความตื่นตัว เพิ่มทักษะในการจดจำและผ่อนคลายจากความตึงเครียด ส่วนเซลล์ผิวหนังต้องการโคเอ็นไซม์คิวเท็นเพื่อช่วยฟื้นฟูความสดใส ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

          5. แนทเชอรัลเบต้าคาโรทีน เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ นอกจากประโยชน์ในการบำรุงสายตาและผิวพรรณแล้ว เบต้าแคโรทีนยังช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งที่ปอดจากการสูบบุหรี่จัด ลดการก่อเซลล์มะเร็งที่ผิวหนัง และทำให้ผิวหนังสามารถต้านทานต่อแสงแดดได้นานยิ่งขึ้น เบต้าแคโรทีนจากธรรมชาติที่สกัดได้จากสาหร่าย D.Salina จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนที่เข้มข้น และปลอดภัยกว่าชนิดทั่วไปที่เป็นเคมีสังเคราะห์ ปริมาณการใช้ วันละ 6-15 มก.

          6. ลูติน เป็นสารธรรมชาติพบได้มากในพืชผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น ผักกาดเขียว ใบหยิก ผักปวยเล้ง ในชีวิตประจำวันนอกจากจะต้องเผชิญกับรังสียูวีในแสงแดดที่กระทบต่อดวงตาโดยตรงแล้ว ยังต้องเจอกับแสงจ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์และทีวีวันละหลายชั่วโมง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เซลล์ในตาอ่อนแอหรือเสื่อมสภาพและตาบอดได้ ซึ่งการรับประทานลูตินจะเป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของจุดรับภาพและจอประสาทตาได้ดี เพราะมีส่วนรวมในการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญ ปริมาณการใช้ วันละ 6-20 มก.

          7. กรดอัลฟ่าไลโปอิค สารต้านอนุมูลอิสระธรรมชาตินี้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ หลายอย่างในร่างกาย การใช้เป็นอาหารเสริมจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยปรับปรุงกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลให้เป็นพลังงาน จึงช่วยป้องกันและบรรเทาโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี ปริมาณการใช้ วันละ 50-200 มก.

          8. สารสกัดจากใบแปะก๊วย ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นผลมาจากสารในกลุ่มฟลาโวนไกลโคไซด์ ที่มีอยู่กว่า 20 ชนิดในใบแปะก๊วย ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ทั้งนี้นอกจากคุณสมบัติอันโดดเด่นในการป้องกันความเสื่อมของเซลล์สมองและช่วยบำรุงสุขภาพสมองอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลกแล้วนั้น คุณสมบัติในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สมองยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันได้อย่างตรงจุดเช่นกัน ปริมาณการใช้ วันละ 40-80 มก.

          9. วิตามินซี นอกจากประโยชน์ในการเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยป้องกันโรคหวัด และบรรเทาอาการภูมิแพ้แล้ว วิตามินซียังช่วยสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวพรรณ คลายความเครียด ความอ่อนเพลีย แก้สภาวะการเป็นหมันในผู้ชาย โดยช่วยเพิ่มความแข็งแรง และปริมาณของตัวอสุจิอีกด้วย ปริมาณการใช้ วันละ 1,000-4,000 มก.

          10. วิตามินอี ช่วยในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคหัวใจและการอุดตันของเส้นเลือดในหัวใจ ทั้งยังช่วยป้องกันการกลายพันธุ์ของเซลล์อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ การรับประทานวิตามินอีในระยะยาวยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และลดอัตราการตายของผู้ชายที่สูบบุหรี่จัด ปริมาณการใช้ วันละ 200-400 มก.


สารต้านอนุมูลอิสระ, สารต้านอนุมูลอิสระ หมายถึง, สารต้านอนุมูลอิสระ คือ, สารต้านอนุมูลอิสระ ความหมาย, สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu