ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ หมายถึง, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ คือ, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ ความหมาย, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ

          พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีประวัติมายาวนาน โดยมีต้นกำเนิดที่ประเทศอินเดีย นับว่าเป็นศาสนาที่มีความสำคัญที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีผู้นับถือหลายร้อยล้านคนโดยเฉพาะในประเทศ ต่าง ๆ ทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียอาคเนย์  ปัจจุบันพบว่ามีผู้นับถือศาสนาพุทธทั่วโลกประมาณ 400 ล้านคน เป็นชาวจีนแผ่นดินใหญ่ถึง 100 ล้านคน ส่วนที่เหลือกระจายไปในประเทศต่างๆ เช่น ไทย  ศรีลังกา พม่า และอินเดีย นอกจากนี้ยังพบว่าชาวยุโรป และอเมริกาหันมานับถือศาสนาพุทธกันมากขึ้น โดยให้เหตุผลว่าคำสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นสัจธรรมที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติ และพิสูจน์ให้เห็นผลได้ตามหลักธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานแห่งความต้องการของชนชาวยุโรป และอเมริกาที่ชอบพิสูจน์ค้นคว้าหาความจริง จึงช่วยให้เกิดความสุขสงบสุขทางจิตใจมากกว่าอย่างอื่น อีกทั้งยังสามารถช่วยลดความรุนแรงทางด้านวัตถุนิยมของชาวตะวันตกได้ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาวยุโรปและอเมริกานั้นเรียบง่าย และทำให้ลดปัญหาทางสังคมลงได้มาก ตามอัตราส่วนของชาวยุโรป และอเมริกาที่หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้ประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา  เป็นต้น

          สำหรับในประเทศไทย จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2548 ที่ทำการสำรวจการนับถือศาสนาของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี พบว่าประชากรประมาณร้อยละ 94.8 นับถือศาสนาพุทธ    ร้อยละ 4.47  นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.73 นับถือศาสนาคริสต์ แต่ยังไม่มีสถิติอย่างเป็นทางการของจำนวนผู้นับถือศาสนาหรือลัทธิอื่นๆ ในประเทศไทย

          ในส่วนหลักธรรม คำสอนที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เช่น อริยสัจ 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4  การทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธ์  ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธในประเทศไทยคุ้นเคย และยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ส่งผลให้คนไทยเป็นคนที่มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และทำให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันมาได้อย่างสงบสุขท่ามกลางความหลากหลายทางศาสนาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา (นอกเหนือจากการมีกฎหมายบ้านเมืองบังคับ) จนประเทศไทยได้รับการยอมรับว่าเป็นสยามเมืองยิ้ม และเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา โดยไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์ว่าจะต้องบรรจุลงไปในรัฐธรรมนูญหรือไม่

          แต่จากสถานการณ์ปัจจุบัน กรณีที่มีพระสงฆ์และชาวพุทธบางกลุ่มออกมาเรียกร้องให้มีการบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้กลายเป็นประเด็นขัดแย้งที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในฝ่ายของผู้ที่สนับสนุนก็ได้กล่าวถึงข้อดีไว้ เช่น ในปัจจุบันสภาพสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้มีคนบางกลุ่มที่อาศัยพระพุทธศาสนาเป็นที่ทำมาหากิน มีพระไม่ดีเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก  ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระพุทธศาสนา  ดังนั้นการบรรจุพระพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญจะช่วยให้สามารถจัดการกับคนกลุ่มนี้ให้มีจำนวนลดน้อยลงได้ โดยการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากำกับดูแล และสนับสนุนให้การดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสม หรือทำให้สามารถยืนยันถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นดินแดนพระพุทธศาสนา ซึ่งคนทุกคนในประเทศมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาที่ตนศรัทธาได้โดยไม่ขัดแย้งกัน และได้สร้างการยอมรับมติของประชาคมโลกที่ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาของโลก

          ส่วนทางฝ่ายที่คัดค้านก็เห็นว่าไม่ควรที่จะบรรจุไว้ด้วยเหตุผลนานาปการ เช่น นายเจิมศักดิ์  ปิ่นทอง ประธานกรรมาธิการวิสามัญประสานงานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้ว่า "  ตนไม่เห็นด้วย มีข้อเสียมากกว่า ศาสนาพุทธเป็นของสูง ไม่ควรนำมาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะถึงแม้จะมีรัฐธรรมนูญ ในอนาคต อาจจะถูกฉีกได้ ดังนั้นอาจจะเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย ควรนึกถึงหลักธรรมให้มาก " หรือ การบัญญัติศาสนาพุทธลงไปในรัฐธรรมนูญ อาจจะก่อให้เกิดการแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ความสำคัญของการนับถือศาสนาพุทธนั้นอยู่ที่การปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้ามากว่า และการระบุลงไปในรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า คนไทยจะมีศีลธรรม หรือจิตใจที่ดีขึ้น นอกจากนี้ บางส่วนก็ว่าน่าจะหันไปให้ความสำคัญกับการชำระพระธรรมวินัย การชำระสะสางเรื่องไม่ดีทั้งหลายในวงการพระสงฆ์ มากกว่า

          ในส่วนตัวของผู้เขียนบทความนี้  มิได้มีเจตนาที่จะฝักใฝ่  สนับสนุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นการเฉพาะ  แต่ก็มีข้อสังเกตเพียงเล็กน้อย  หลังจากได้ติดตามเรื่องนี้อยู่นาน  ก่อให้เกิดหลายๆคำถามขึ้นในใจว่าถ้ามีแล้วจะเป็นอย่างไร  และถ้าไม่มีอย่างที่เป็นมาในอดีตเป็นเพราะอะไร  จึงอยากให้ผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ทุกท่านลองคิดทบทวนและตอบคำถามที่ผู้เขียนสงสัยดูสิว่า  ท่านเองก็สงสัยอย่างที่ผู้เขียนสงสัยใคร่รู้อยู่หรือไม่  ดังนี้



สัญลักษณ์ของชาติไทย

และคำถามข้อสุดท้าย

                เคยคิดกันไหมว่าสีของธงชาติไทยที่มีสามสี  สีแดงหมายถึงชาติ  สีขาวหมายถึงศาสนา  และสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์นั้น  เป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยซึ่งใครเห็นใครได้ยินเสียงเพลงชาติไทยต่างก็ยืนตรงเคารพธงชาติด้วยความเคารพด้วยกันทั้งนั้น  คราวนี้ถ้าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแล้วไซร้   ก็เท่ากับว่าสีขาวเป็นสีของศาสนาพุทธ  แล้วทีนี้เวลาเราร้องเพลงชาติจะมีคนที่นับถือศาสนาอื่นยืนตรงเคารพธงชาติด้วยไหม  แล้วเราจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง  

                ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นแต่เพียงคำถามที่ผู้เขียนสงสัยใคร่รู้ว่าท่านทั้งหลายคิดเห็นกันอย่างไรเท่านั้น  ไม่ได้มีเจตนาที่จะชักจูงหรือโน้มเอียงไปยังฝ่ายใด  แต่ถ้าท่านลองอ่านและลองคิดตามคำถามเหล่านี้แล้วล่ะก็  ท่านจะได้คำตอบในใจท่านเองว่าสมควรที่จะบัญญัติศาสนาพุทธให้เป็นศาสนาประจำชาติหรือไม่   ซึ่งหากผู้ใดสามารถตอบคำถามและหาข้อโต้แย้งมาหักล้างได้อย่างมีน้ำหนักครบทั้ง 8 ข้อได้แล้วล่ะก็   ผู้เขียนเองก็เห็นสมควรให้บัญญัติไว้ตามที่ท่านทั้งหลายประสงค์

ที่มา

โดย อรรถวรรณ  ไทโยธิน และทิชา  ทิมพูล นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

https://www.thprc.org/node/386




ทำไมรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาไม่เคยมีฉบับใดที่บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

คำถามข้อที่ 1

                ถ้าบัญญัติไว้แล้วดี  แล้วทำไมที่ผ่านมาตั้งแต่มี รธน.ฉบับปี 2475 (ผ่านมาแล้ว 16 ฉบับ) ถึงไม่เคยมีฉบับใดที่บัญญัติให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเลย  ทั้งๆที่กว่าที่จะร่าง รธน.ได้ในแต่ละครั้ง  ไม่ว่าจะเป็นคนๆเดียวร่าง หรือเป็นแบบหมู่คณะก็ล้วนแต่ประกอบไปบุคคลผู้ทำหน้าที่ร่าง รธน.ที่มีความรู้ในการร่างกฎหมายมหาชน  ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย  นักรัฐศาสตร์  นักสังคมศาสตร์  เป็นต้น  มันน่าจะมีเหตุผลอะไรสักอย่างอันเป็นที่เข้าใจได้ว่าน่าจะมีปัญหาอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับผลกระทบทางศาสนาตามมาในภายหลังถึงไม่ได้บัญญัติไว้ก็น่าคิดจริงไหม

 



การทับซ้อน กฎหมายลูกกับพระธรรมวินัย

คำถามข้อที่ 3

                โดยหลักปกติแล้วการจัดการเกี่ยวกับสงฆ์จะขึ้นอยู่กับพระธรรมและพระวินัย  หรือถ้าพระสงฆ์ทำความผิดก็มีกฎหมายต่างๆรองรับอยู่แล้ว    ยกตัวอย่างเช่น  พระเวลาทำผิดก็มีกฎหมายอาญา  กฎหมายแพ่งรองรับการกระทำความผิดเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปอยู่แล้ว  หรือบางทีพระสงฆ์ทำผิดพระธรรม  พระวินัยก็อาจถึงขั้นปราชิก  คือขาดจากความเป็นสงฆ์  พูดให้ง่ายๆก็คือถูกจับสึกนั่นเอง  ฉะนั้น  ถ้ามีกฎหมายลูกออกมาอีกก็อาจจะทับซ้อน  ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยได้

 



การคำนึงถึงคนที่นับถือศาสนาอื่น

คำถามข้อที่ 4

                พวกเราชนกลุ่มมากที่นับถือศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอยู่แล้ว  ต้องคำนึงถึงหัวอกคนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาอื่นด้วย  เขาก็เป็นคนไทยอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยเหมือนกับเรา  เพียงแต่มีเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ทำดีเป็นคนละสิ่งเท่านั้น  ไม่น่าจะก่อให้เกิดความรู้สึกแปลกแยกเหมือนเขาเป็นชนกลุ่มน้อยอีก

 



การกระทบกระทั่งระหว่างองค์กรศาสนาในระดับสากล

คำถามข้อที่ 5

                จริงๆแล้วการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาอื่นๆก็มีมานมนานแล้วและสยามเราก็ไม่ปฏิเสธหรือต่อต้าน  ฉะนั้น  หากบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติก็เท่ากับกระทบการเผยแผ่ศาสนาอื่น  ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างองค์กรศาสนาในระดับสากลได้    อันนี้น่าคิด



การให้สิทธิเสรีภาพพลเมืองของตนเองในการนับถือศาสนาอื่น

คำถามข้อที่ 6

                เราปฏิเสธได้หรือไม่ว่าโลกาภิวัตน์ทั้งด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  และอื่นๆอีกมากมาย  ที่ส่งผลให้พลเมืองของประเทศในโลกมีส่วนผสมที่คละเคล้ากันไปทุกศาสนา อันสืบเนื่องมาจากการถ่ายเทพลเมืองจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งด้วยปัจจัยต่างๆ  อันเป็นที่ประจักษ์กันดี  ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายกำลังแรงงาน  การเคลื่อนย้ายอันเกิดจากภัยธรรมชาติหรือภัยสงคราม  หรือแม้แต่กระทั่งการเคลื่อนย้ายของเทคโนโลยีต่างๆ นั้น  ที่ทำให้เป็นหลักสากลว่าประเทศใดๆก็ตามในโลกควรให้สิทธิเสรีภาพพลเมืองของตนเองในการนับถือศาสนาอื่นใดก็ได้



การเพิ่มประเด็นปัญหาที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง

คำถามข้อที่ 7

                ปัจจุบันสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก  เราจึงไม่ควรจะเพิ่มประเด็นปัญหาที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง  อันอาจนำไปสู่ปฏิกิริยาระดับสากลได้จริงไหมคนไทยทุกคน

 



ปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสงฆ์กับฝ่ายฆราวาส

คำถามข้อที่ 2

                เคยคิดไหมว่าเมื่อมีกฎหมายแม่บท (รธน.) บัญญัติไว้แล้ว  ก็ต้องมีกฎหมายลูกตามมาอีกมากมายในภายหลัง   ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสงฆ์กับฝ่ายฆราวาสได้  เพราะคนที่นั่งบัญญัติกฎหมายอยู่ในสภาก็ไม่ใช่พระสงฆ์นี่น่าจริงไหม

 


พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ หมายถึง, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ คือ, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ ความหมาย, พุทธศาสนากับรัฐธรรมนูญ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu