ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หมายถึง, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ความหมาย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

พระประวัติ

           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์     เป็นโอรสองค์ที่ ๑๔   ในสมเด็จพระปิยมหาราช  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 5  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ  เมื่อวันพุธ   ขึ้น ๑๑ ค่ำ   เดือน ๑๑ ปีจอ   ฉศก   จุลศักราช ๑๒๓๖   ตรงกับวันที่ ๒๑  ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๔๑๗  พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล  รพีพัฒน์

          พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์   ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร)     เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว     ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช ๒๔๒๖    ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยา โอวาทวรกิจ(แก่น) เปรียญ   ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๒๗   ทรงเข้าศึกษาในโครงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ    โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นครูสอน

          พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์   ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมในกรุงลอนดอนเป็นเวลา ๓ ปี  เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม     แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   โปรดเกล้าฯ  ให้พระองค์ศึกษาวิชาการฝ่ายพลเรือนพระองค์ทรงเลือกเรียนวิชากฎหมาย เหตุที่ทรงเลือกวิชากฏหมายก็เนื่องจากเมืองไทยในเวลานั้นมีศาลกงสุลฝรั่งชาวยุโรปและอเมริกามีอำนาจในประเทศไทย ซึ่งยากแก่การปกครอง จึงมีพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงศุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา

          เสด็จในกรม ฯ ทรงมีพระสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ สอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษา คราวแรกมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับเข้าศึกษาอ้างระเบียนว่าพระองค์จะศึกษาได้ต้องมีพระชันษา ๑๘ พรรษา แต่ก็ต้องจำนนด้วยเหตุผลที่พระองค์ท่านดำรัสว่า “คนไทยนั้นเกิดง่ายตายเร็ว” ดังนั้นจึงทดลองให้พระองค์สอบไล่อีกครั้งหนึ่งซึ่งก็ทรงสอบไล่ได้ในที่สุด พระองค์ทรงพระอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก สอบไล่ผ่านทุกวิชา ได้รับปริญญา B.A. ชั้นเกียรตินิยม ภายในเวลา ๓ ปี เมื่อพระชันษาได้เพียง ๒๐ พรรษา ซึ่งบุคลธรรมดาต้องเรียนถึง ๔ ปี เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนักถึงกับทรงเรียกเสด็จในกรมฯ ว่า “เฉลียวฉลาดรพี”



ผลงาน

          เนื่องจากโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งเสด็จในกรมฯ    ได้ทรงจัดตั้งขึ้นมีการศึกษาเป็นปึกแผ่น     พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    รัชการที่ ๖  ทรงพระกรุณา  โปรดเกล้าฯ เมื่อวันที  ๗ มิถุนายน  ๒๔๕๕   ให้ยกโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นโรงเรียนหลวง   อยู่ในกระทรวงยุติธรรม   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงริเริ่มพระราชทานกำเนิด  เนติบัณฑิตยสภา  ขึ้นเมื่อ พ.ศ.  ๒๔๕๗  ต่อมามีพระบรมราชโองการ  ลงวันที่ ๗  สิงหาคม  ๒๔๖๗   ให้โรงเรียนกฎหมายอยู่ในความควบคุมของสภานิติศึกษา  จนกระทั่งสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. ๒๔๗๕  แล้ว  โรงเรียนกฎหมายได้โอนไปรวมกับแผนกรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖  อยู่ ๑ ปี  เรียกว่า แผนกนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์  พ.ศ. ๒๔๗๗    รัฐบาลจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น  หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จึงได้โอนแผนกนิติศาสตร์  และรัฐศาสตร์  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นใหม่นี้แยกเป็นอิสระส่วนหนึ่งต่างหาก

          การศึกษาเล่าเรียนกฎหมายในสมัยนั้นเป็นไปในวงแคบ  ผู้ที่มีความรู้ในทางกฎหมายแทบจะนับตัวถ้วนซึ่งผู้ใดที่ใคร่จะมีความรู้ในทางกฎหมาย  ก็ต้องสมัครเข้าไปรับใช้การงานของท่านเสนาบดีบ้าง  ท่านผู้ใหญ่ในวงการกฎหมายบ้าง  เมื่อท่านเหล่านั้นเมตตาก็สั่งสอนให้ทีละเล็กทีละน้อยเสด็จในกรมฯ  ทรงดำริว่า  การที่จะรับราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมให้เป็นไปด้วยดีนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน    ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือ เปิดให้มีการสอน    วิชากฎหมายขึ้นให้เป็นการแพร่หลายโดยให้โอกาสแก่บุคคลที่สนใจเข้าศึกษาได้  จึงได้ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

          ครั้นต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.๒๔๙๑  ทางเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้งสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาขึ้น  เพื่ออบรมให้นักศึกษาในทางกฎหมายได้มีความชำนิชำนาญเพิ่มเติมจากที่ได้ศึกษามาแล้วจากมหาวิทยาลัยโดยเริ่มเปิดสอนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๙๑  การศึกษาในปีแรกเรียกว่า  การศึกษาสมัยที่ ๑  และมีผู้สอบสำเร็จความรู้ชั้นเนติบัณฑิตได้ ๖  ท่าน ในสมัยแรกซึ่งท่านศาสตราจารย์จำรัส  เขมะจารุ  สอบได้อันดับที่ ๑  ของสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

          การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้  คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ  และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์

          การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้  คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ  และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์

          ด้วยพระเกียรติคุณอันจะพรรณนา  ที่มีต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการทำให้ประชาชนทั่วไป  ขนานนามพระองค์ท่านว่า “พระบิดา  และปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย”



คุณธรรมที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง

          1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเห็นได้จากพระองค์สามารถผ่านการสอบสอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษาและสามารถจบปริญญาโดยใช้เวลาศึกษาเพียง3ปี

          2.  พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความรักชาติเห็นได้จากพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงสุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา

          3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความวิริยะอุตสาหะในการทำงานอย่างดีเมื่อพระยามานวรราชเสวี  ทูลว่า “ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต้ฝ่าพระบาทมีพระสงค์อย่างไร”  ทรงตอบว่า " รู้ไหมว่า My life is Service"(ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ)  และทรงยกคติพจน์ของชาวอังกฤษชื่อ Kingsley s ให้ท่านฟัง

          4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวดทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง   เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงรวบรวมกฎหมาย    และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรงได้รับยกย่องให้เป็น"พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"

ที่มา ชญานี แป้งพิมพ์  มณฑลี  ดวงสมร   www.pcccr.ac.th


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หมายถึง, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ความหมาย, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu