ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พฤกษศาสตร์ของฝ้าย, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย หมายถึง, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย คือ, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย ความหมาย, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พฤกษศาสตร์ของฝ้าย

          ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่  เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง  สูงประมาณ ๒-๕ ฟุต หรือมากกว่านี้ มีลำต้นจริงและแตกกิ่งเวียนรอบต้น ใบฝ้ายเกิดที่ข้อของลำต้นและกิ่ง ใบมีก้านยาว ตัวใบมีขนาดเท่าฝ่ามือ กางออกเป็นแฉกมี ๓,๕ หรือ ๗ แฉก ส่วนมากที่ใต้ใบ ก้านใบ  และลำต้น  มักมีขนสั้นปกคลุมบาง ๆ ดอกฝ้ายจะเกิดที่ข้อเหนือโคนใบ  เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลีบรองเป็นแฉก ๆ และลึก  รูปร่างสามเหลี่ยม คล้ายใบหุ้มดอกจำนวน ๓ ใบประกบกัน  เป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า  "ปี้" (bud or square) เมื่อดอกบานจะมีสีขาวนวลถึงสีเหลือง  กว้างประมาณ ๓ นิ้ว  มีทั้งหมด ๕ กลีบเรียงซ้อนกัน ตอนบ่ายกลีบดอกจะกลายเป็นสีชมพูจนถึงแดงและค่อย ๆ หุบ ดอกฝ้ายจะบานอยู่วันเดียว  ยอดเกสรตัวเมียจะโผล่ที่ตรงกลางและมีก้านกระเปาะละอองเกสรตัวผู้ติดคลุมรอบ ๆ รังไข่ของดอกฝ้ายมี ๓-๔ ห้องหรือ ๔-๕ ห้องแล้วแต่ชนิด (species)

ขนาดสมอ

คิดต่อ ๑ ปอนด์ฝ้ายปุยทั้งเมล็ด

ใหญ่
กลาง
เล็ก

๖๕ สมอหรือน้อยกว่า
๖๕–๗๕ สมอ
กว่า ๗๕ สมอ


          ฝ้ายจัดว่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  ถ้าอยู่ในเขตร้อนจะมีอายุได้ ๒-๓ ปี แต่ในทางเกษตรจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก เพราะผลิตผลฝ้ายในปีที่ ๒ หรือปีที่ ๓ ได้น้อย  ต้องปลูกใหม่ทุกปี ฝ้ายเป็นพืชที่ปรับตัวเข้ากับดินฟ้าอากาศได้ดีมาก สามารถทนความหนาวเย็นได้ แต่อุณหภูมิที่เหมาะกับฝ้ายต้องไม่ต่ำกว่า  ๑๘ องศาเซลเซียส  โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า ๑๖ องศาเซลเซียส และในเขตที่มีฝนตกกระจายดี มีแสงแดด อุณหภูมิเฉลี่ย  ๑๐ องศาเซลเซียส  ก็ยังใช้ได้  สำหรับจำนวนน้ำฝนนั้น  ฝ้ายจะขึ้นได้ดีตั้งแต่  ๒๐-๗๕ นิ้ว เพียงแต่ให้การตกของฝนกระจายให้ดีและน้ำไม่ขังแฉะ  ในที่มีฝนน้อยก็สามารถปลูกโดยการให้น้ำทางชลประทานได้ สำหรับดินนั้น ฝ้ายขึ้นได้ทั้งดินร่วน ดินทราย และดินเหนียวมาก  มีความเป็นกรดระหว่าง pH ๕.๒-๘ ดินที่เหมาะสำหรับปลูกฝ้าย  ควรเป็นดินร่วนที่มีอินทรียวัตถุ  และมีอาหารพืชพอควร  สำหรับในเมืองไทยปรากฏว่า แม้ดินจะมีความเป็นกรดมาก คือ pH ต่ำกว่า ๕.๒ ก็ยังขึ้นได้ดี
          ทางพฤกษศาสตร์จัดให้ฝ้ายอยู่ในวงศ์มัลวาซีอี  (Family Malvaceae) ได้แก่ พวกปอแก้ว ชบา กระเจี๊ยบมอญ และอยู่ในสกุลกอสซีเพียม  (GenusGossypium) ไม้ในสกุลนี้มีทั้งหมด ๓๑ ชนิด เป็นฝ้ายป่า ๒๗  ชนิด ฝ้ายปลูก ๔ ชนิด ความแตกต่างของฝ้ายป่ากับฝ้ายปลูก คือ เส้นใยที่เกิดจากเปลือกเมล็ดของฝ้ายปลูกจะยาวมีรูปบิด สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายได้  ส่วนเส้นใยของฝ้ายป่าจะสั้น  มีรูปเป็นหลอดกลมไม่สามารถปั่นเป็นเส้นด้ายได้ ฝ้ายปลูก ๔ ชนิดนั้น เป็นฝ้ายพื้นเมืองของตะวันออกกลาง ๒ ชนิด และอีก ๒ ชนิดเป็นฝ้ายพื้นเมืองของทวีปอเมริกา จึงมีการแบ่งชนิดของฝ้ายออกเป็นฝ้ายโลกเก่าหรือฝ้ายเอเชีย มีโครโมโซม    (chromosome) ๑๓ คู่และฝ้ายโลกใหม่มีโครโมโซม ๒๖  คู่  จากการค้นคว้าของนักพฤกษศาสตร์เชื่อว่า ฝ้ายโลกใหม่ที่ใช้ปลูก  เป็นลูกผสมระหว่างฝ้ายป่าของอเมริกากับฝ้ายเอเชีย โดยการผสมตามธรรมชาติ  และด้วยการปรับตัวเป็นเวลานาน  จึงกลายเป็นฝ้ายอีกชนิดหนึ่งที่มีความแตกต่างกันทางพฤกษศาสตร์อย่างชัดแจ้ง          ที่ปลูกกันอยู่มี ๒ ชนิด  คือ ชนิดบาร์บาเดนซ์ (G. barbadense.L.) และ ชนิดเฮอร์ซูทุม  ชาวอินเดียแดงพื้นเมืองที่อยู่ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปอเมริกาทั้งกลาง เหนือ ใต้ รวมทั้งที่หมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ได้ใช้เส้นใยจากฝ้ายทั้ง ๒ พันธุ์นี้  ผลิตเป็นสินค้า ก่อนที่โคลัมบัสจะพบทวีปอเมริกานานมาแล้ว แต่สินค้าเหล่านี้ไม่ได้แพร่หลายเหมือนสินค้าฝ้ายจากอินเดีย
          ฝ้ายบาร์บาเดนซ์   มีถิ่นกำเนิดที่ภาคเหนือของประเทศเปรู แล้วแผ่ขยายไปทางอเมริกาใต้  แอฟริกากลาง รวมทั้งหมู่เกาะแคริบเบียน ฝ้ายบาร์บาเดนซ์  แต่เริ่มแรกแบ่งเป็น ๒ พวก คือพวกปุยสั้นหยาบ และปุยยาวละเอียด พวกปุยสั้นหยาบกระจายไปทางประเทศบราซิลและภาคเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนพวกปุยยาวละเอียดแผ่ขยายไปทางหมู่เกาะเวสต์อินดิส  พวกปุยสั้นได้ชื่อว่า "ฝ้ายบราซิเลียน" ส่วนฝ้ายปุยยาวได้ชื่อว่า "ฝ้ายเปรูเวียนหรือซีไอแลนด์"  ฝ้ายบราซิเลียน   ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันนี้ปลูกไว้เพื่อเก็บเป็นพันธุ์ไม่ให้สูญเท่านั้น ส่วนฝ้ายซีไอแลนด์นิยมปลูกกันมากที่หมู่เกาะเวสต์อินดิสและขยายมาถึงรัฐแคโรไลนาใต้และจอร์เจีย สหรัฐอเมริกา เพิ่งเริ่มเสื่อมความนิยมลงเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. ๑๙๓๐
          ฝ้ายบาร์บาเดนซ์  ได้เริ่มปลูกเป็นการค้า ในประเทศอียิปต์เมื่อประมาณ ค.ศ. ๑๘๐๐ การผลิตฝ้ายชนิดนี้ได้รับผลดี จนขณะนี้กลายเป็นพืชสำคัญของประเทศอียิปต์และซูดาน เพราะเส้นใยยาวละเอียดนั่นเอง  จึงได้ชื่อเฉพาะว่า "ฝ้ายอียิปเชียน" 
          สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ฝ้ายจากอียิปต์ เข้าไปปลูกและได้คัดเลือกพันธุ์ในต้นศตวรรษที่ ๑๙ จนได้สายพันธุ์ใหม่ชื่อ "พีมา" (pima) หรือ "อเมริกันอียิปเชียน" ซึ่งใช้ปลูกในเขตทะเลทรายโดยการชลประทาน  ต่อมาได้ผสมพันธุ์กับพวกเฮอร์ซูทุม โดยพยายามรักษาคุณสมบัติเส้นใยยาวไว้ให้ผลิตผลต่อไร่สูงขึ้น  แต่คุณสมบัติด้านเส้นใยยาวลดลงบ้าง พันธุ์ใหม่ที่ได้นี้ เรียกว่า "อเมริกันพีมา"
          ฝ้ายบาร์บาเดนซ์  เป็นพืชค้างปี  (perennial)  ประเภทไม้ต้นเตี้ย ต้นสูงตั้งแต่  ๔-๘ ฟุต แต่ที่ปลูกเป็นการค้าเป็นพืชล้มลุก (annual) ไม่มีขน กิ่งออกรอบ ๆ  ลำต้นและค่อนข้างเล็ก ก้านใบและก้านดอกจะมีจุดเป็นต่อมสีดำมองเห็นได้ชัด  ใบโตมี  ๓-๕  แฉก  ก้านใบยาวเกือบเท่า ๆ  กับใบ กลีบรองดอก (bract) โต กลีบดอกสีเหลืองซีด มีจุดสีม่วงหรือสีม่วงแดงอยู่ฐานกลีบดอกด้านใน  สมอส่วนมากมี ๓ กลีบ ในกลีบหนึ่ง ๆ จะมีเมล็ดตั้งแต่ ๖-๙ เมล็ด ๆ ไม่ติดกัน ส่วนมากเมล็ดมีสีดำ ปุยไม่ติดเมล็ด ปุยละเอียดและมีความยาวถึง  ๑๒ นิ้ว แต่ส่วนมากจะยาว ๑๒ นิ้ว
          ฝ้ายเฮอร์ซูทุม เป็นฝ้ายที่มีการปลูกผลิตเป็นสินค้ามากที่สุดในโลก มีถิ่นกำเนิดในภาคใต้ของเม็กซิโกและอเมริกากลาง  ก่อนที่ชาวยุโรปจะหลั่งไหลเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกา  ฝ้ายชนิดนี้มีปลูกเป็นจำนวนมากที่หมู่เกาะเวสต์อินดิส และที่เขตฝ้ายอเมริกาเหนือก็มีปลูกบ้าง  ซึ่งเรียกว่า  "พันธุ์ฝ้ายดอน" (upland cotton)  ต่อมาเมื่อได้คิดค้นทำเครื่องจักรหีบฝ้ายได้แล้ว การปลูกฝ้ายจึงได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว  เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๔๐๓ (ค.ศ. ๑๘๐๐) ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ ปรับปรุงวิธีการปลูก และมียาป้องกันกำจัดแมลงที่ได้ผลดี  ผลิตผลต่อไร่จึงสูงขึ้นมาก ได้ผลิตผลฝ้ายปุยถึงไร่ละประมาณ  ๘๕  กิโลกรัม  เนื่องด้วยฝ้ายเฮอร์ซูทุมให้ผลิตผลสูงดังกล่าว ฝ้ายชนิดนี้จึงได้แพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ   ทั่วโลก ที่มีดินฟ้าอากาศเหมาะสม ลักษณะสำคัญ ๆ  ของฝ้ายเฮอร์ซูทุม มีดังนี้
          ฝ้ายเฮอร์ซูทุม  เป็นพืชล้มลุก  ต้นสูง ๒-๕ ฟุต  ขนที่ลำต้นและใต้ใบอาจมีมากน้อยหรือไม่มีเลยก็ได้  ใบมี  ๓-๕  แฉก  แฉกใบไม่ลึก  ขนาดของดอกกว้างประมาณ  ๓ นิ้ว อาจแตกต่างไปเล็กน้อย กลีบดอกสีเหลืองซีด ถึงสีเหลืองเข้ม บางพันธุ์มีจุดสีม่วงอยู่ฐานกลีบดอกด้านใน ยอดเกสรยาวประมาณ ๑ นิ้ว สมอ  มี ๔-๕ กลีบ คุณภาพของปุยมีตั้งแต่หยาบถึงละเอียด  ปุยยาวปานกลางระหว่าง  ๓ - ๑ ๑๔ นิ้ว ส่วนมากปุยจะติดเมล็ดค่อนข้างแน่น เมื่อหีบแล้วจะมีปุยสั้น ๆ (fuzz)  ติดปกคลุมเมล็ด จึงทำให้มองเห็นเป็นสีขาว เป็นชนิดที่ปลูกเป็นอุตสาหกรรมทั่วโลกและปลูกมากในอเมริกา จนได้ชื่อว่า  "ฝ้ายอเมริกันอัพแลนด์"

พฤกษศาสตร์ของฝ้าย, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย หมายถึง, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย คือ, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย ความหมาย, พฤกษศาสตร์ของฝ้าย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 3

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu