ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย หมายถึง, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย คือ, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย ความหมาย, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย

          สมัยราชอาณาจักรศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงกู้ชาติไทยให้กลับมีอิสรภาพพ้นจากอำนาจพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ (ซึ่งเดิมลงมติกันแล้วว่าตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม)* นับว่าเป็นชัยชนะอันเยี่ยมยอดในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผลแห่งชัยชนะที่ทรงมอบให้แก่ชาติไทยครั้งนี้ ทำให้พม่าไม่กล้ายกมาย่ำยีประเทศไทยอีกเป็นเวลานาน สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงใช้เวลาต่อมาจากนั้นยกทัพไปปราบถึงประเทศพม่าจนเป็นที่เกรงขามทั่วไป ทรงปราบปรามเขมรซึ่งมักประพฤติตนเป็นศึกสองหน้าแทรกแซงอยุธยาขณะมีศึกพม่าอยู่บ่อยๆ
*ผู้รู้กลุ่มแรกได้คำนวณว่าตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๑๓๕ ต่อมามีผู้ศึกษา ค้นคว้ากลุ่มหนึ่ง ได้คำนวณว่าตรงกับวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ 

         ขณะเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมีพระชันษาเพียง ๙ ปี ประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลกกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระบิดานั้น พระเจ้าบุเรงนองแห่งประเทศพม่า ได้ยกทัพมาตีราชอาณาจักรศรีอยุธยา ยึดได้เมืองพิษณุโลก บีบบังคับสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชไว้ในอำนาจ และขอองค์สมเด็จพระนเรศวรไปไว้ที่กรุงหงสาวดี โดยอ้างว่าจะเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรม ทั้งที่โดยแท้จริงคือยึดพระองค์ไว้ในฐานะตัวประกัน แต่การก็กลับเป็นประโยชน์แก่สมเด็จพระนเรศวรที่ได้ทรงศึกษาถึงนิสัยใจคอภาษา และการทหารของชาวพม่าและมอญ  จนได้ทรงใช้เป็นประโยชน์ในการกู้บ้านเมืองในเวลาต่อมา
          ครั้นกรุงศรีอยุธยาตกอยู่ใต้อำนาจพม่า และพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชจึงทูลขอสมเด็จพระนเรศวรกลับมาช่วยปกครอง กรุงศรีอยุธยา นับแต่นั้นมา สมเด็จพระนเรศวรก็ได้ทรงแสดงพระบารมีและพระปรีชาสามารถในการทหารให้ปรากฏแก่ชาวไทย มอญ พม่า และเขมร หลายครั้งหลายครา เช่น ทรงต่อต้านกองทหารเขมร ซึ่งพระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรเป็นผู้นำเข้ามารบกวนพระราชอาณาเขตไทยและทรงขับไล่ออกไปพ้นจากพระราชอาณาเขตได้ เป็นต้น
          เมื่อกรุงหงสาวดีผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดีสิ้นพระชนม์ พระเจ้านันทบุเรงขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้แจ้งข่าวเปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราชทั้งปวง ให้ผู้ครองประเทศราชไปเข้าเฝ้าตามพระราชประเพณี สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ได้โปรดให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จขึ้นไปแทนพระองค์ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญได้ทรงทราบถึงแผนการของพม่าซึ่งคิดประทุษร้ายต่อพระองค์จากบุคคลสำคัญทางมอญหลายคนที่สนิทสนมคุ้นเคยลอบมาทูลก่อนจะถึงเมืองพม่า สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ใน พ.ศ. ๒๑๒๗ แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสระจากอำนาจพม่า และเมื่อทางการพม่าจัดทัพใหญ่ให้พระมหาอุปราชา พระรัชทายาทเสด็จนำเข้ามาปราบปรามไทย สมเด็จพระ-นเรศวรซึ่งเสด็จขึ้นครองราชบังลังก์ใหม่ๆ ได้เสด็จนำทัพออกไปจากกรุงศรีอยุธยารับทัพข้าศึก ณ แขวงเมืองสุพรรณบุรี ทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุป-ราชาจนได้ชัยชนะ
          ด้วยเหตุนี้ พระเกียรติยศแห่งสมเด็จพระนเรศวร และชาติไทยยุคนั้นจึงเป็นที่เลื่องลือ  ยังความเคารพยำเกรงให้เกิดแก่บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือได้รู้จักทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักร  สมเด็จพระนเรศวรจึงได้รับการถวายพระราชสมัญญา เป็นมหาราช
          พระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติของพระองค์ท่านยังคงมีปรากฏอยู่ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ แขวงจังหวัดสุพรรณบุรี อันเป็นสมรภูมิครั้งนั้นสืบต่อมา

มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย หมายถึง, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย คือ, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย ความหมาย, มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 2

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu