ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

รถไฟฟ้าสายใหม่, รถไฟฟ้าสายใหม่ หมายถึง, รถไฟฟ้าสายใหม่ คือ, รถไฟฟ้าสายใหม่ ความหมาย, รถไฟฟ้าสายใหม่ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
รถไฟฟ้าสายใหม่

1.โครงการรถไฟฟ้าสายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) แบริ่ง-สมุทรปราการ             แนวเส้นทาง เป็นส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและสายสุขุมวิท รวมระยะทาง 24 กิโลเมตร แบ่ง ออกเป็น 2 ช่วง คือ            ช่วงแรก จากอ่อนนุช-สำโรง-สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นการก่อสร้างที่สถานีอ่อนนุชจากนั้นวิ่งไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านแยกบางนา ไปทางสำโรง จนถึงสมุทรปราการ            ช่วงสอง จากพระราม 1-ปิ่นเกล้า-จรัญสนิทวงศ์ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีสนามกีฬา ในแนวถนนบำรุงเมือง เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง และลอด ใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณเชิงสะพานปิ่นเกล้าไปจน ถึงสถานีรถไฟธนบุรี แล้วเข้าสู่แนวถนนพรานนก จากนั้นจึงจะเริ่มยกระดับเมื่อเลยแยก พรานนก ไปจนถึง ถนนจรัญสนิทวงศ์
รูปแบบโครงการ แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ
           ช่วงอ่อนนุช-สำโรง ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร โครงสร้างเป็นทางยกระดับตลอดแนวสายทางอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประมาณ 5.6 กิโลเมตร และมีแนวเขตทางอยู่ในพื้นที่สำโรงประมาณ 3.3 กิโลเมตร
          ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ระยะทาง 7.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด และช่วง พระราม1-พรานนก (สามแยกไฟฉาย) ระยะทาง 6.8 กิโลเมตร โดยตลอดแนวสายทางจะมีโครง สร้างที่เป็น ทั้งโครงสร้างยกระดับและโครงสร้างอุโมงค์
         สถานีขึ้น-ลง: ผลการศึกษาในขั้นต้นระบุว่าจะมีการก่อสร้างสถานีรวมกันทั้งสิ้น ประมาณ 28 สถานี ทั้งแบบชานชาลากลาง และชานชาลาด้านข้าง ซึ่งแต่ละสถานีจะมีระยะห่างกัน 1 กิโลเมตรต่อสถานี
แผนการก่อสร้าง          ช่วงอ่อนนุช-สำโรง เบื้องกำหนดจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2547 แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2550
        ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2548 แล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2552
         ช่วงพระราม 1-พรานนก จะเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน 2549 แล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2553 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (รังสิต-สะพานใหม่-บางหว้า)            แนวเส้นทาง : เป็นส่วนต่อขยายของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมและสายสุขุมวิท เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมทั้งในด้านทิศเหนือและ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ           ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขายด้้านทิศเหนือ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับ จะเริ่มต่อขยายเส้นทางที่สถานีหมอชิต ข้ามแยกลาดพร้าว วิ่งไปตามถนน พหลโยธินผ่านแยกรัชโยธิน สะพานข้ามแยกเกษตร และวิ่งผ่านหลักสี่ ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่          ช่วงสะพานตากสิน-เพชรเกษม เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมในด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วย ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ระยะทาง 2.2 กิโลเมตร และช่วงถนนตากสิน-เพชรเกษม ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร โดยตลอดแนวสายทางจะเป็นโครงสร้างทางยกระดับเชื่อมต่อ เส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีสะพานตากสิน วิ่งข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามถนนกรุงธนบุรี ผ่านถนนตากสิน ถนนรัชดาภิเษก ถนนวุฒากาศ ถนนแยกตากสิน-เพชรเกษม จนสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม
รูปแบบโครงการ          ช่วงจากหมอชิต-สะพานใหม่ เป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแยกลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน ซึ่งเป็นถนน 6 ช่องจราจรแบบมีเกาะกลาง ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่          ช่วงจากสะพานตากสิน-ถนนตากสิน-เพชรเกษม จะเป็นโครงสร้างยกระดับโดยตลอด ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามถนนกรุงธนบุรีและวิ่ง ขนานไปตามแนวถนนตากสิน-เพชรเกษม ไปจนถึงถนน เพชรเกษม โดยปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วในช่วงจากสถานีตากสิน-ถนนตากสิน
         สถานีขึ้น-ลง : รูปแบบสถานีจะมีทั้งแบบชานชาลากลาง และชานชาลาด้านข้าง โดยแต่ละสถานีจะมีระยะห่างกัน 1 กิโลเมตรต่อสถานี รวมทั้งสิ้น 15 สถานี แบ่งเป็นสถานีขึ้น-ลง ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ มีจำนวน 10 สถานี 
 
แผนการก่อสร้าง        ช่วงสะพานตากสิน-ถนนตากสิน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2547 และกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2548
       ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนสิงหาคม 2548 กำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2551
       ช่วงถนนตากสิน-เพชรเกษม จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกันยายน 2548 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2550 3.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)            แนวเส้นทาง:เป็นการพัฒนาระบบเพิ่มเติมจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ           ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (หรือ"สายวงกลม") มีระยะทาง 13.0 กม. ก่อสร้างเป็นทางยกระดับลอยฟ้า เริ่มจากสถานีบางซื่อ ผ่านถนนประชาราษฎร์สาย 2 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์และวิ่งไปจนถึงบริเวณสี่แยกท่าพระตัดกับถนนเพชรเกษม
           ช่วงหัวลำโพง-บางแค มีระยะทาง 14.0 กม.เริ่มจากสถานีรถไฟหัวลำโพง เข้าสู่ถนนเจริญกรุง ผ่านเยาวราช วังบูรพาและเลี้ยวซ้ายที่วัดโพธิ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด เข้าสู่พื้นที่บางกอกใหญ่ ถนนเพชรเกษม และสิ้นสุดที่บริเวณบางแค
            สถานีขึ้น-ลง : ช่วงบางซื่อท่าพระ มี 10 สถานี  ช่วงหัวลำโพง-บางแค มี 11 สถานี แบ่งเป็นสถานียกระดับ 7 สถานี และสถานีใต้ดิน 4 สถานี แผนการก่อสร้าง         ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 และแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2552
          ช่วงท่าพระ-บางแค จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2551
          ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2549 แล้วเสร็จประมาณเดือนธันวาคม 2552 4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ)           แนวเส้นทาง : ระยะทางรวมทั้งสิ้น 43 กิโลเมตร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ           ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณสถานีบางซื่อ ยกระดับไปตามแนวถนนไปยังสถานีเตาปูน สถานวงศ์สว่าง สถานีนครินทร์ สถานีเรวดี สถานแครายสถานีศรีพรสวรรค์ สถานีแยกถนนนนทบุรี 1 สถานีพระนั่งเกล้า สถานีไทรม้า สถานีท่าอิฐ สถานีบางรัก ใหญ่สถานีบางบัวทอง สถานีคลองบางแพรก สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีตลาดบางใหญ่ และ สถานี คลองบางไผ่เป็นสถานีสุดท้าย และเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า
         ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ จากบางซื่อ-สามเสนเป็นโครงสร้างยกระดับต่อเนื่องมาตามถนนประชาราษฎร์ และเริ่มลดระดับลงใต้ดิน เป็นโครงสร้างอุโมงค์เปลี่ยนมาเข้าแนวถนนประชา ราษฎร์สาย 1 ต่อเนื่องมาถึงถนนสามเสน เลี้ยวเข้า ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร แล้วเบี่ยงแนวออกเพื่อหลบสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนประชาธิปก ต่อเนื่องมาถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ และเริ่มยกระดับขึ้นมาเมื่อเลยแยกบางปะแก้วแล้ว ไปจนถึงบริเวณราษฎร์บูรณะ         รูปแบบโครงการ โครงสร้างทางวิ่งจะเป็นโครงสร้างยกระดับทั้งหมดตลอดสาย โดยใช้ พื้นที่บริเวณเกาะกลางถนนเป็นส่วนใหญ่        สถานีขึ้น-ลง   ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ มีสถานีขึ้น-ลง จำนวน 16 สถานี แต่ละสถานีห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร แผนการก่อสร้าง       ช่วงจากบางซื่อ-พระนั่งเกล้า-บางใหญ่ จะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการยื่นข้อเสนอประกวดราคาประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2548 หลังจากนั้นจะมีการประกาศเชิญชวน และจัดทำข้อเสนอราคาในเดือนมิถุนายน 2548 และจะสามารถประเมินข้อเสนอ เจรจาต่อรอง ขออนุมัติ และลงนามในสัญญาได้ภายในเดือนสิงหาคม 2548 จึงสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ โดยใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 32 เดือน โดยจะสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 2551
      ช่วงจากบางซื่อ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2553  
5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ)          แนวเส้นทาง : เป็นการพัฒนาระบบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
รวมระยะทาง 24 กิโลเมตร แยกเป็นช่วงต่างๆ ดังนี้         ช่วงจากบางกะปิ-สามเสน ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร เริ่มต้นบริเวณบางกะปิ เป็นโครงสร้างอุโมงค์ลอดใต้แยกลำสาลี ไปตามแนวถนนรามคำแหง เข้าถนนพระราม 9 ผ่านคลองลาดพร้าว วิ่งต่อเนื่องไปตามถนนดินแดง ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนราชวิถี ไปจนถึงบริเวณสามเสน         ช่วงจากสามเสน-บางบำหรุ ระยะทาง 4 กิโลเมตร เป็นการต่อขยายเส้นทางที่มาจากบางกะปิโดยเริ่มจากสามเสน ซึ่งยังเป็นโครงสร้างอุโมงค์ มุดลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ไปตามแนวสะพานกรุงธนและจะ เริ่มปรับเป็นโครงสร้างยกระดับ เมื่อพ้นแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ไปแล้ว จากนั้นวิ่งไปตามแนว
ถนนสิรินธร จนไปเชื่อมกับแนวรถไฟสายใต้บริเวณสถานีบางบำหรุ 
รูปแบบโครงการ :โครงสร้างจะมีทั้งแบบอุโมงค์ใต้ดินและโครงสร้างยกระดับเหนือเกาะกลางถนน        สถานีขึ้น-ลง : รูปแบบของสถานีจะมีทั้งแบบชานชาลากลางและชานชาลาด้านข้าง ทั้งนี้คาดว่าจะมีที่จอดรถยนต์ (Park and Ride) สำหรับผู้มาใช้บริการที่บริเวณบางกะปิ ซึ่งจากการศึกษาในเบื้องต้นตลอดแนวสารทางนี้จะประกอบด้วยจุดขึ้นลง ประมาณ 13 สถานี แผนการก่อสร้าง          ช่วงบางกะปิ-สามเสน จะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2548 และแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2552 ช่วงสามเสน-บางบำหรุ จะเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2549 แล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม2553 6.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (รังสิต-มหาชัย)         แนวเส้นทาง : เริ่มจากบริเวณสถานีรถไฟรังสิต สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ ยกระดับข้ามแยกยมราชผ่านแยกกษัตริย์ศึก หัวลำโพง วิ่งออกมาตามแนวถนนพฤฒาราม ผ่านริมคลองผดุงกรุง เกษม และข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริิเวณใกล้ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ เพื่อมาเข้าแนวถนนลาดหญ้า และเลี้ยว ออกไปบนแนวถนนเจริญรัถ เพื่อหลบอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน จากนั้นวิ่งข้ามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเข้าไปตามทางรถไฟสายแม่กลองเดิม แล้วลดระดับลงสู่ระดับดินที่บริเวณ ตลาดพลู และวิ่งตามไปตาม แนวทางรถไฟเดิมจนถึงมหาชัยระยะทาง 65 กิโลเมตร รูปแบบโครงการ
        โครงสร้างยกระดับตามแนวเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟฯ ที่เปิดดำเนินการเดินรถในปัจจุบันทั้งสายเหนือสายตะวันออก สายใต้ และสายแม่กลอง แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วงคือ ช่วงบางซื่อ-รัง สิต ระยะทาง 22.7 กิโลเมตร ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ช่วงหัวลำโพง-ศูนย์ตากสิน ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร และช่วงศูนย์ตากสิน-มหาชัย ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
         สถานีขึ้น-ลง : ในเบื้องต้นได้ทำการออกแบบจุดขึ้น-ลง สถานีตลอดแนวสายทางไว้ทั้ง สิ้น 35 สถานี 7.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)           แนวเส้นทาง :            ช่วงจากยมราช-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบัน เริ่มจากบางซื่อ หัวลำโพง ผ่านแยกกษัตริย์ศึก และเริ่มยกระดับข้ามแยกยมราช วิ่งขนานไปตามแนวถนนเพชรบุรี ผ่านถนนศรีนครินทร์ ถนนกรุงเทพกรีฑา และเริ่มลดระดับลงสู่พื้นดิน ไปจนถึงสถานีลาดกระบัง และยกระดับอีกครั้ง ข้ามถนนอ่อนนุช เพื่อจะเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นลดระดับลงสู่พื้นดินและลง ใต้ดิน เพื่อเข้าสู่สนามบิน ระยะทาง 6.1 กิโลเมตร           ช่วงจากบางซื่อ-ตลิ่งชัน-วงแหวนรอบนอก เป็นแนวเส้นทางรถไฟสายตะวันตกในปัจจุบัน เริ่มออกจากบางซื่อไปตามทางรถไฟเดิม และเริ่มยกระดับเพื่อข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และจะลดลงสู่ระดับดิน เมื่อข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์แล้ว จากนั้นก็จะวิ่งระดับดินไปโดยตลอด ระยะทาง 14.9 กิโลเมตร
รูปแบบโครงการ         ช่วงบางซื่อ–ตลิ่งชัน และ ช่วงบางซื่อ–พญาไท จะเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟสายตะวันตกในปัจจุบัน โดยระหว่างบริเวณจากบางซื่อ-วงแหวนรอบนอกจะมีจำนวนราง 2 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 80 เมตร         ช่วงพญาไท–มักกะสัน-สุวรรรณภูมิ ช่วงนี้จะเป็นแนวเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถไฟสายตะวันออกในปัจจุบัน โดยระหว่างบริเวณยมราช-หัวหมาก จะมีราง 1 รางจากหัวหมาก-ลาดกระบังมี 3 ราง มีเขตทางกว้างประมาณ 40 เมตร
         สถานีขึ้น-ลง : จำนวน 23 สถานี
   แผนการก่อสร้าง เบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มการก่อสร้าง        ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2548 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2551         ช่วงบางซื่อ-พญาไท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณเดือนเมษายน 2548 แล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2551 ช่วงพญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนเมษายน 2548 แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้ใช้บริการได้ประมาณ เดือนตุลาคม 2551 มูลค่าการลงทุนรวม 54,111 ล้านบาท    8.โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ-หลักสี่-รามอินทรา-สุวินทวงศ์)          แนวเส้นทาง : เริ่มจากถนนแจ้งวัฒนะบริเวณห้าแยกปากเกร็ด วิ่งไปตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านเมืองทองธานี พหลโยธิน-หลักสี่ เข้าสู่ถนนรามอินทรา ไปมีนบุรี จากนั้นวิ่งเข้าสู่ถนนสุวินทวงศ์ ตัดผ่านถนนสามวา ถนนร่มเกล้า และ ถนนนิมิตรใหม่ สิ้นสุดที่มีนบุรี และในอนาคตจะมีการขยายเส้นทาง เพื่อไป เชื่อมต่อกับโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย โดยผ่านทาง ถนนร่มเกล้า เข้าสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 41 กิโลเมตร รูปแบบโครงการ: จะก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับตลอดแนวสายทาง บนเกาะกลางถนน เป็นรถไฟฟ้าขนาดเบาได้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูก และสามารถ ก่อสร้างได้ในเวลาอันรวดเร็ว          สถานีขึ้น-ลง : จำนวน 13 สถานี
แผนการก่อสร้าง : โครงการนี้ยังเป็นแนวคิดเบื้องต้นต้องทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจากนั้นจึงจะสรุปราย ละเอียดทั้งหมด แล้วนำเสนอต่อที่ประชุม คณะรัฐมนตรี ของรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 ปี เช่นเดียวกับโครงข่ายรถไฟฟ้า 7 สายก่อนหน้านี้
 9.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-รัชดาภิเษก-บางกะปิ- ศรีนครินทร์-เทพารักษ์-สำโรง)          แนวเส้นทาง  เริ่มจากสำโรง บริเวณจุดตัดระหว่างถนนสุขุมวิทกับถนนเทพารักษ์ (จุดตัดกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่จะต่อขยายเพิ่มเติม) มาตามแนวถนนเทพารักษ์ เลี้ยวเข้าถนนศรีนครินทร์ มาตามแนวถนนศรีนครินทร์ ตัด ผ่านถนนบางนา-ตราด อ่อนนุช-ลาดกระบัง(สุขุมวิท 77) ถนนพัฒนาการ ผ่านบริเวณแยกลำลาสี บางกะปิ มุ่งหน้าเข้าสู่ถนนลาดพร้าว มาตามแนวถนนลาดพร้าว สิ้นสุดที่บริเวณถนนลาดพร้าวตัดกับถนนรัชดาภิเษก (สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน) รวมระยะทาง 32 กิโลเมตร รูปแบบโครงการ เส้นนี้จะเป็นโครงสร้างใต้ดินในช่วงถนนลาดพร้าว หลังจากนั้นจะเป็นทางยกระดับบนเกาะกลาง ถนนในเส้นทางส่วนที่เหลือ         สถานีขึ้น-ลง : จำนวน 18 สถานี แผนการก่อสร้าง : โครงการนี้ยังเป็นแนวคิดเบื้องต้นต้องทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจากนั้นจึงจะสรุปรายละ เอียดทั้งหมดแล้วนำเสนอ ต่อที่ประชุม คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่อไป ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 ปี   ที่มา    www.home.co.th

รถไฟฟ้าสายใหม่, รถไฟฟ้าสายใหม่ หมายถึง, รถไฟฟ้าสายใหม่ คือ, รถไฟฟ้าสายใหม่ ความหมาย, รถไฟฟ้าสายใหม่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu