ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น หมายถึง, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น คือ, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น ความหมาย, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น

 

 

โรคลมชัก พบได้ในคนทุกวัน แต่มักจะพบในเด็กตั้งแต่ 2 ปีถึง 14 ปี ซึ่งส่วนมากจะชักโดยไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด
- ถ้าพบในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อาจมีสาเหตุจากโรคทางสมองหรืออื่นๆ
- บางรายอาจมีอาการชักเพียง 1-2 ครั้งแล้วหายขาด แต่บางรายอาจมีกาการเป็นๆ หายๆ อยู่เป็นประจำนานเป็นปีๆ ซึ่งต้องอาศัยยาควบคุม
- อาการชักอาจเกิดในเวลากลางวัน หรือหลังเข้านอนในตอนกลางคืนก็ได้
- ระหว่างที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวดี และสามารถทำงานเป็นปกติ

การรักษา

1. ระหว่างที่ชัก ให้การปฐมพยาบาลโดยโยกย้ายผู้ป่วยไปยังที่ๆ ปลอดภัย เช่น ให้ห่างจากน้ำและไฟ ปลดเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้หลวม คอยพยุงศีรษะ อย่าให้กระแทกพื้นหรือกำแพงและจับศีรษะเอียงให้หน้าตะแคงลงกับพื้น ถ้ามีเศษอาหาร เสมหะ หรือฟันปลอม ให้เอาออกจากปาก อย่าใช้ไม้กดลิ้น ปลายด้ามช้อน ดินสอหรือวัตถุอื่นๆ สอดปากผู้ป่วย เพราะนอกจากจะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรแล้วยังอาจทำให้ปากและฟันได้รับบาดเจ็บได้
โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะชักอยู่เพียง 1-3 นาที ก็จะหยุดชักได้เอง แต่ถ้าชักติดๆ กันนาน ให้ฉีดไดอะซีแพม เข้าหลอดเลือดดำ ถ้าไม่ได้ผลให้ส่งโรงพยาบาลด่วน

 


2. ถ้าเป็นการชักครั้งแรก หรือยังไม่เคยได้รับการตรวจจากแพทย์มาก่อน ควรแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี หรือคนอายุมากกว่า 25 ปี อาจต้องทำการตรวจคลื่นสมอง หรืออีอีจี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อค้นหาสาเหตุ ถ้ามีความผิดปกติในสมอง ก็ให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ เช่น ถ้าเป็นเนื้องอกหรือเลือดออกในสมองก็อาจต้องทำผ่าตัด

แต่ถ้าเป็น โรคลมชัก โดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด ควรให้ยากันชัก เช่น ฟีโนบาร์บิทาล หรือเฟนิโทอิน ต้องกินยากันชักชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันทุกวันจนกระทั่งไม่มีอาการชักเกิดขึ้นเลยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี จึงจะเริ่มหยุดยา โดยค่อยๆ ลดลงทีละน้อย ถ้าหยุดยาทันที อาจทำให้เกิดอาการชักรุนแรงไม่หยุดได้

ถ้าลดยาหรือหยุดยาแล้ว กลับมีอาการชักใหม่ก็ควรกลับไปใช้ยาดังเดิมอีก บางรายอาจต้องกินยากันชักคุมอาการตลอดไป

3.สำหรับผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคลมชัก อย่างแน่ชัด ถ้าพบว่ามีอาการชักเพราะขาดยาหรือกินยาไม่ครบขนาดตามแพทย์สั่งก็ใหยากันชักดังในข้อ 2 โดยให้ขนาดตามที่เคยใช้

แต่ถ้าชักโดยที่ผู้ป่วยกินยาได้ตามขนาดที่แพทย์สั่งอยู่แล้ว ก็ควรเพิ่มขนาดของยาที่ใช้ หรือเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่น เช่น โซเดียมวาลโพรเอต, คาร์บามาซีพีน เป็นต้น


อย่างไรก็ตามถ้าพบผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้นควรนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาต่อไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : thainurseboard.com

วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น หมายถึง, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น คือ, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น ความหมาย, วิธีรักษาโรคลมชัก เบื้องต้น คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu