ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ?, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ? หมายถึง, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ? คือ, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ? ความหมาย, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 14
คำถาม

โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ?

อาการและวิธีรักษาทำอย่างไร ต้องระวังในเรื่องอะไรบ้างในกรณีที่เป็นโรคนี้

คำตอบ

โรคเกล็ดเลือดต่ำ ป้องกันยาก แต่รักษาได้ xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office                   โรคเกล็ดเลือดต่ำ หากตรวจพบแล้วรักษาเมื่อเกิดอาการได้เร็ว เด็กก็จะปลอดภัยและหายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้ อันตรายสุดๆ                   รศ นพ ปรีดา วาณิชยเศรษฐกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีข้อมูลของโรคเกล็ดเลือดต่ำมาช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ เพื่อการรับมือจะได้ถูกต้องค่ะ Q โรคเกร็ดเลือดต่ำมีสาเหตุมาจากอะไรคะ A   โรคเกล็ดเลือดต่ำ ITP immune thrombocytopenic purpura เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเกล็ดเลือดที่อยู่ในกระแสเลือดของตัวเอง สาเหตุของการเกิด แพทย์ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดครับ แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเด็กอาจได้รับเชื้อไวรัสบางชนิด แล้วร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนติบอดีไปทำลาย แต่แอนติบอดีอาจหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดของเด็ก เลยไปทำลายเกล็ดเลือดของเด็กเอง โดยที่เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวยังคงทำงานปกติ โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบบ่อยในเด็กอายุ 2-6 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายเด็กสามารถสร้างภูมิต้านทานได้แล้ว และเป็นวัยที่อยากออกไปเจอโลกภายนอก ทำให้อาจได้รับไวรัสบางชนิดขณะเล่นหรือหยิบจับสิ่งของ หากพบในเด็กที่อายุมากกว่า 10 ปี มีโอกาสเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำชนิดเรื้อรัง CHRONIC ITP ได้สูงขึ้นนะครับ Q อาการของโรคเป็นอย่างไร พ่อแม่มีวิธีสังเกตหรือไม่ A ปกติเกล็ดเลือดของคนเรามีหน้าที่ช่วยห้ามเลือดที่เกิดจากบาดแผล โดยจับตัวกันเป็นก้อนที่ผนังของหลอดเลือด เพื่อหยุดการไหลของเลือด ในภาวะปกติไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ระดับเกล็ดเลือดจะต้องอยู่ที่ 150 000 - 400 000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำ มีดังนี้ครับ - เด็กเกิดรอยฟกช้ำ จ้ำเลือด ในบริเวณที่ไม่น่าจะเกิดการกระทบกระแทกง่าย เช่น บริเวณลำตัว หน้าท้อง หลัง และใช้เวลานานเป็นสัปดาห์กว่าจะหาย หรือหากมีการชนหรือกระแทก อาการเขียวช้ำจะเป็นอยู่นาน และมากกว่าที่ควรจะเป็น - มีเลือดกำเดาไหลนานเกิน 15 นาทีแล้วไม่หยุดทั้งๆ ที่กดห้ามเลือดอย่างถูกวิธีแล้ว - มีรอยจ้ำเลือดใกล้เคียงกับไข้เลือดออก แต่จะต่างจากไข้เลือดออก เพราะเด็กจะไม่มีไข้ - เด็กอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด หากเด็กเกิดอาการดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาไปตรวจค่าเกล็ดเลือดที่โรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด Q การรักษาโรคทำได้อย่างไรคะ A การรักษาขึ้นอยู่กับระดับของเกล็ดเลือด ถ้าอยู่ที่ 70 000 - 100 000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร อาจเเค่สังเกตอาการ ไม่ให้เด็กเกิดการกระทบกระแทก หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดบาดแผลที่ทำให้เลือดออก พบว่า 70-80 จะหายได้เองครับ ถ้าเกล็ดเลือดมีระดับต่ำมากคือไม่ถึง 20 000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการตกเลือด คุณหมอจะรักษาด้วยการให้ยายับยั้งการทำลายเกล็ดเลือด IVIG ซึ่งเป็นวิธีรักษามาตรฐานวิธีหนึ่ง สัดส่วนของการให้ยาขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีผลออกฤทธิ์ทำให้ระดับเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 48 ชม แต่ก็เป็นยาที่มีราคาแพงมาก คุณหมอส่วนมากจึงไม่แนะนำหากไม่มีอาการที่น่าวิตกจริงๆ การรักษาอีกวิธีคือการให้ยากดภูมิต้านทาน สเตียรอยด์ เเต่ก็มีผลข้างเคียงตามมา คือ โรคนี้เด็กจะมีโอกาสติดเชื้อง่าย และจะอยากทานอาหารมากขึ้น อาจทำให้มีปัญหาเบาหวานและโรคอ้วนตามมาได้ ถ้าเด็กมีอาการเลือดออกมากผิดปรกติ แม้ว่าจะยังมีเกล็ดเลือดสูงกว่า 20 000 ต่องลูกบาศก์มิลลิเมตร ก็ต้องให้ยาครับ และมีโอกาสหายได้ภายใน 6 เดือน แต่ถ้านนานเกิน 6 เดือน จะกลายเป็นโรคเกล็ดเลือดต่ำเรื้อรัง CHRONIC ITP หลังจากนั้นควรติดตามดูอาการต่ออีก 5 ปี จนไม่มีอาการใดๆ แสดงอีกหรือระดับเกล็ดเลือดปรกติตลอด ถึงเรียกว่าหายขาดได้ครับ Q แนวทางการป้องกันสำหรับคุณพ่อคุณแม่ A   โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม เเละไม่ได้เป็นเเต่กำเนิด ดังนั้นทางการแพทย์จึงยังไม่มีวิธีป้องกัน สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือหมั่นสังเกตอาการของลูก หากมีรอยฟกช้ำโดยไม่มีสาเหตุ หรือรอยฟกช้ำที่เกิดขึ้นใช้เวลานานกว่าจะหาย หรืออาเจียนเป็นเลือดควบคู่กัน ควรรีบพามาพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจค่าเกล็ดเลือด เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันเวลาครับ โดย   กองบรรณาธิการนิตยสารรักลูก ที่มา

โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ หมายถึง, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ คือ, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ ความหมาย, โรคเกล็ดเลือดต่ำ (ITP) อันตรายมั้ยคะ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu