ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

อาหารแก้ซึมเศร้า?, อาหารแก้ซึมเศร้า? หมายถึง, อาหารแก้ซึมเศร้า? คือ, อาหารแก้ซึมเศร้า? ความหมาย, อาหารแก้ซึมเศร้า? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

อาหารแก้ซึมเศร้า?

ช่วงนี้รู้สึกว่าชีวิตหดหู่ อยากทราบว่าทานอะไรช่วยให้หายซึมเศร้า หดหู่บ้าง

คำตอบ

                  นักวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่า คนที่เกิดอาการซึมเศร้า ที่ในที่สุดแล้วเศร้าไม่เศร้าเปล่า แต่กลับแสดงอารมณ์ก้าวร้าว ตีโพยตีพาย หรือแม้กระทั่งก่อเหตุรุนแรงขึ้นมานั้น อาจเป็นเพราะสารเคมีตัวหนึ่งในสมองมีปริมาณน้อยลง สารเคมีตัวที่ว่านี้มีชื่อว่า เซโรโทนิน หากหาทางทำให้ สารเคมีตัวนี้ในสมองมีระดับสูงขึ้นได้เมื่อไหร่ อาการซึมเศร้า ก็หายไปได้เมื่อนั้น ฟังแล้วก็แทบไม่น่าเชื่อเลยนะครับ แต่ขอให้เชื่อเถิดว่ามันเป็นเรื่องจริง xml namespace prefix o ns urn schemas-microsoft-com office office                   คนซึมเศร้ากับคนปกติ มักแสดงปฏิกิริยากับอาหาร แต่ละชนิดไม่เหมือนกัน อย่าได้เข้าใจว่าอาหารที่คนทั่วไป รับประทานแล้วรู้สึกกระฉับกระเฉง จะทำให้คนซึมเศร้า เกิดอาการเดียวกันนะครับ อาจจะแสดงอาการตรงกันข้ามกันเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น อาการซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ                   เข้าฤดูหนาว บางครั้งบางคราฟ้าปิด อากาศทึมๆ นานหลายวัน บรรยากาศอย่างนี้สร้างปัญหาให้คนเกิดอาการซึมเศร้าได้ดีนักแล ในประเทศอังกฤษ ทุกครั้งที่เข้าฤดูหนาวจะมีผู้ป่วยซึมเศร้า เข้ารักษาตัวกันมากขึ้นกว่าปกติ แพทย์เขาแนะนำให้คนไข้เหล่านี้ รับประทานอาหารหวานที่ทำด้วยน้ำตาล หรือมีส่วนผสมของน้ำตาลมากๆ                   คนทั่วไปหากรับประทานน้ำตาลมากๆ จะแสดงอาการเฉื่อย ซึ่งไม่ถึงกับซึมเศร้า แต่อาจจะไม่กระฉับกระเฉง หากเป็นเด็ก ก็อาจจะไม่อยากทำการบ้าน ชอบนอนซึมเซา เขาจึงไม่แนะนำให้เด็ก กินอาหารหวานหรืออาหารแป้งช่วงเวลาเย็นที่เด็กต้องทำการบ้านไงละครับ                   แต่กรณีของคนซึมเศร้า อาการกลับตรงข้ามกับคนปกติ การให้คนซึมเศร้ารับประทานอาหารหวาน จะทำช่วยให้เซโรโทนิน ในสมองมีปริมาณสูงขึ้นได้ ทำให้อาการซึมเศร้ากลับหายไป ผู้ป่วยจะแสดงอารมณ์ที่ดีขึ้นมาทดแทน                   คนปกติหากได้ดื่มกาแฟสักแก้ว ช็อกโกแลตร้อนสักเหยือก อาจจะรู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นมาได้ ดังนั้น พอเห็นคนมีอาการซึมเศร้า ก็อาจจะใช้ปฏิกิริยาของตนเองวัด โดยการแนะนำ ให้เขาดื่มกาแฟหรือช็อกโกแลตบ้าง หากคิดอย่างนั้นล่ะก็ยุ่ง เพราะอย่างที่บอกไว้คือ ผู้ป่วยจะแสดงปฏิกิริยากลับด้านกับคนปกติ ดังนั้น หากให้ผู้ป่วยซึมเศร้าในช่วงอากาศเปลี่ยน ดื่มกาแฟแทนที่จะได้ผลดี กลับจะได้ผลเสีย คือเปลี่ยนจาก ซึมเศร้าเป็นอาการกระวนกระวายใจ และอาจจะเครียดมากขึ้นก็ได้                   เคยมีงานวิจัยทางการแพทย์ชิ้นหนึ่งกล่าวว่า อาการซึมเศร้าอาจจะเกี่ยวข้องกับปริมาณวิตามินตัวหนึ่งที่ชื่อ กรดโฟลิก มีระดับในเลือดลดลงก็ได้ เหตุนี้เองที่ทำให้ บรรดาอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้รับความนิยมนำมาใช้ เป็นอาหารลดซึมเศร้า                   ตัวอย่างอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงก็ได้แก่ ผักโขมและผักปวยเล้ง ซึ่งใครหากมีอาการซึมเศร้า ลองให้รับประทานผักทั้งสองชนิด รวมทั้งผักอื่นๆ อีกบางชนิด อาการซึมเศร้าจะลดลงได้ หากไม่อยากจะรับประทานผัก อยากจะใช้วิธีเสริม เป็นวิตามินเม็ดขึ้นมา ก็แนะนำให้ใช้ยาเม็ดขนาดกรดโฟลิก 200-500 มิลลิกรัม ให้รับประทานวันละเม็ดก็มากพอแล้ว                   สารอาหารอีกตัวหนึ่งคือ เซเรเนียม ซึ่งมีมากในอาหารทะเลทั้งหลาย หากใครเกิดอาการซึมเศร้า จะลองให้รับประทานอาหารทะเลก็ได้ เป็นการเสริมเซเรเนียมในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า จะช่วยลดอาการซึมเศร้าลงได้ หากไม่ชอบอาหารทะเล ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ ถั่วเปลือกแข็งประเภทถั่วนัตนี่แหละ ที่มีธาตุเซเรเนียมจำนวนไม่น้อย เสริมถั่วนัตแค่สองสามเมล็ด อย่าเสริมให้มากจนเพลินมากไปก็แล้วกัน เพราะการได้รับเซเรเนียมมากเกินไป จะสร้างปัญหาได้เหมือนกัน                   อาหารอีกประเภทหนึ่งที่เขาว่ากันว่า ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีนักแล หากให้ลองทาย อาจจะทายไม่ถูกก็ได้ อาหารตัวที่ว่านี้คือ กระเทียม การค้นพบเรื่องกระเทียมเสริมอารมณ์เกิดขึ้นในเยอรมนี ที่มหาวิทยาลัยแฮนโนเวอร์ครับ โดยพบว่าผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูง ที่เสริมกระเทียมเพื่อลดคอเลสเตอรอล กลับมีอารมณ์ดีตามไปด้วย จะเรียกว่าเป็นโบนัสจากกระเทียมก็ย่อมได้                   อาหารตัวสุดท้ายที่อยากจะแนะนำคือ พริก ที่รู้จักกันทั่วไปนี่แหละครับ การรับประทานพริกให้ได้รับรสเผ็ด ที่ไม่มากจนเกินไปนัก จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นมาได้เช่นกัน เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องหญ้าปากคอกอีกเรื่องหนึ่ง ที่พวกเราคนไทย สัมผัสพบเห็นกันอยู่ทุกวัน แต่อาจจะลืมสังเกต คนที่รายงานเรื่องนี้ เป็นฝรั่งครับ เขาพบว่าเมื่อได้รับประทานอาหารเผ็ดๆ อย่างเช่น ได้ซดน้ำต้มยำรสเผ็ด อารมณ์อาจจะดีขึ้นมาได้ อาการซึมเศร้าหายไป ดังนั้น หากจะว่ากันไปแล้ว อาหารไทยน่าจะนับเป็นอาหาร สำหรับคนอารมณ์ดีโดยแท้ ที่มา

อาหารแก้ซึมเศร้า, อาหารแก้ซึมเศร้า หมายถึง, อาหารแก้ซึมเศร้า คือ, อาหารแก้ซึมเศร้า ความหมาย, อาหารแก้ซึมเศร้า คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu