ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน?, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน? หมายถึง, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน? คือ, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน? ความหมาย, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน?

พรก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ประกาศใช้ตอนนี้ มีข้อห้ามอะไรบ้างค่ะ

คำตอบ

สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง มาตรา 5 บอกว่า เมื่อปรากฏว่ามีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น ที่มีความหมายกว้างดังข้างต้น และนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ปกครอง ตำรวจ ทหาร เข้าแก้ไขปราบปรามให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร หรือในบางเขตบางท้องที่ได้ตามความจำเป็น ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อนแล้วดำเนินการให้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีภายในสามวัน หากมิได้ขอภายในกำหนดหรือคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลง ช่วงเวลาของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้วแต่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ไม่เกินสามเดือน หากจำเป็นให้ขยายเวลาคราวละไม่เกินสามเดือน โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วย อย่างไรก็ดี ให้มีคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินคณะหนึ่ง มาตรา 6 ประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ มีรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทย ยุติธรรม กลาโหม และปลัดกระทรวงอื่นๆ ตลอดจนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และข้าราชการอื่นๆ อีกเป็นกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินข้างต้น หรือสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง มาตรา 11 อันได้แก่ก่อการร้าย มีการใช้กำลังประทุษร้ายชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และเสนอแนะการใช้มาตราที่เหมาะสม การมีคณะกรรมการชุดนี้ไม่กระทบกระเทือนการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 5 ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพูดง่ายๆ ว่ายังไงๆ นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเองได้อยู่ดี เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้ 1 ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด 2 ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ 3 ห้ามการเสนอข่าวจำหน่ายหรือแพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ ในเขตพื้นที่ประกาศหรือทั่วราชอาณาจักร 4 ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ 5 ห้ามการใช้อาคารหรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ 6 ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด สำหรับสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนอกจากมีอำนาจดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย 1 ให้เจ้าหน้าที่จับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่สงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำ 2 ให้เจ้าหน้าที่เรียกบุคคลมารายงานตัว หรือให้ถ้อยคำ หรือส่งมอบเอกสาร 3 ให้เจ้าหนี้ยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค 4 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจ ค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวางตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ 5 ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข หรือสิ่งสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนสั่งระงับ หรือยับยั้งการติดต่อหรือสื่อสาร 6 ประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน 7 ประกาศห้ามบุคคลออกนอกประเทศ 8 ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ฯลฯ อ่านเพิ่มเติม

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หมายถึง, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ความหมาย, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu