ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เมื่อไรควรงดออกกำลัง, เมื่อไรควรงดออกกำลัง หมายถึง, เมื่อไรควรงดออกกำลัง คือ, เมื่อไรควรงดออกกำลัง ความหมาย, เมื่อไรควรงดออกกำลัง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เมื่อไรควรงดออกกำลัง

          อาหารเป็นของดีมีประโยชน์  แต่ในบางเวลาเราก็จำต้องงดอาหารเช่น เมื่อท้องเสีย เป็นต้น การออกกำลังกายก็เช่นเดียวกัน บางเวลาก็กลายเป็น "ของแสลง" ซึ่งจำต้องงดเสพ เวลาที่ควรงดออกกำลังมีดังต่อไปนี้
          ๑. เมื่อรู้สึกไม่สบาย  เวลาที่รู้สึกเพลียไม่แข็งแรงเหมือนปกติ อาจต้องงดออกกำลังชั่วคราวอาการดังกล่าวอาจเป็นการบอกล่วงหน้าของโรคที่รุนแรงหากเสียกำลังไปในการบริหารกายอาจลดความต้านทานของร่างกายและช่วยให้โรครุนแรงขึ้น แต่อาการที่ว่านี้ไม่ใช่ข้อห้ามเด็ดขาดทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่อยู่ในวัยฉกรรจ์และร่างกายแข็งแรง เวลารู้สึกไม่สบายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ทำท่าจะเป็นหวัด หากออกกำลังให้เหงื่อออกเล็กน้อย  อาจจะกลับเป็นปกติก็ได้  ทั้งนี้เป็นเรื่องของบุคคล  ความแข็งแรง  และความเคยชินทางที่ปลอดภัยคืองดไว้ก่อน
          ๒. เมื่อเป็นไข้  เมื่อมีไข้ชัดเจนควรงดออกกำลังทุกอย่าง เพราะตอนนี้ร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรค จำต้องรวบรวมกำลังทุกๆ ทางเพื่อเอาชนะให้ได้  การออกกำลังในเวลาเป็นไข้มีอันตรายเป็นพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่หัวใจไม่ค่อยปกติ  เนื่องด้วยไข้ทำให้หัวใจมีงานมากกว่าธรรมดาอยู่แล้ว  หากออกกำลังเพิ่มภาระให้อีก หัวใจอาจล้มได้
          ๓. เมื่อมีอาการอักเสบ   หากมีอาการเจ็บปวด  ขัดยอก หรือบวมแดงที่ข้อกระดูกหรือกล้ามเนื้อแสดงถึงการอักเสบภายใน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานมากไป  ควรงดออกกำลังด้วยส่วนนั้นชั่วคราว เพื่อป้องกันการกำเริบมากขึ้นและเปิดโอกาสให้ส่วนนั้นๆฟื้นตัว
          ๔. เมื่อกระเพาะเต็ม  หลังจากกินอาหารอิ่มใหม่ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกินอาหารหนักและมาก   ร่างกายอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสำหรับออกกำลังกาย  เนื่องจากกระเพาะอาหารและลำไส้แบ่งเลือดไปใช้ทำให้การหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อบกพร่องไป   กระเพาะอาหารที่เต็มขัดขวางการทำงานของกะบังลม  และอาจทำให้เกิดอาการจุกเสียดได้เมื่อกระเทือนจากการวิ่งหรือเคลื่อนไหวอย่างอื่นที่รุนแรง
          ๕. เมื่ออากาศร้อนอบอ้าว  เมื่ออากาศร้อนจัดและชื้น  ทำให้มีความรู้สึกอบอ้าวอึดอัด สมรรถภาพของร่างกายลดต่ำลง โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่หัวใจไม่ค่อยแข็งแรง ไม่ควรออกกำลังหนักหากไม่อยากจะงดเสียเลย  ก็ควรออกกำลังประเภทที่เบาๆ หรือหนักเพียงปานกลางเพื่อป้องกันอันตรายต่อหัวใจ
          ข้อที่พึงจำอย่างหนึ่งคือ    ไม่ควรออกกำลังหนักภายหลังที่กระเพาะอาหารได้ว่างมาเป็นเวลานาน  เช่นในเวลาตื่นนอนเช้า หากต้องการจะออกกำลังมาก เช่นวิ่งเหยาะระยะทางค่อนข้างไกล ควรรับประทานเครื่องดื่มเบาๆ หรืออาหารที่ย่อยง่ายเล็กน้อย เช่น น้ำหวานครึ่งหรือค่อนแก้ว หรือขนมผิงสองสามชิ้นกับน้ำ   เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการอ่อนเพลียและวิงเวียนซึ่งอาจเกิดขึ้นในบางคน
          มีโรคบางอย่างที่ทำให้ออกกำลังอย่างคนทั่วไปไม่ได้หรือต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง  ได้แก่  โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคปอดที่เป็นมาก  และโรคความดันเลือดสูง     ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้ก่อนตัดสินใจออกกำลังควรปรึกษาแพทย์  โดยเฉพาะแพทย์กีฬา

เมื่อไรควรงดออกกำลัง, เมื่อไรควรงดออกกำลัง หมายถึง, เมื่อไรควรงดออกกำลัง คือ, เมื่อไรควรงดออกกำลัง ความหมาย, เมื่อไรควรงดออกกำลัง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu