ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

โรคเชื้อรา, โรคเชื้อรา หมายถึง, โรคเชื้อรา คือ, โรคเชื้อรา ความหมาย, โรคเชื้อรา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
โรคเชื้อรา

          เชื้อราสามารถทำให้เกิดโรคได้  ๓  วิธี คือ โดยการสร้างสารพิษ  โดยการก่อให้เกิดภูมิแพ้ และโดยการบุกรุกเข้าสู่เนื้อหนังโดยตรง
          ๑. โดยการสร้างสารพิษ สารพิษอาจมีอยู่ภายในผลผลิตเอง หรือเมื่อสร้างขึ้นแล้วปลดปล่อยสารพิษออกสู่ภายนอก  ราประเภทต่างๆ นี้ ได้แก่
          เห็ดเมา  (toxic mushroom) คือ พวกเห็ดที่มีสารพิษ  เชื้อรานี้มีวงชีวิตแบบพิเศษ โดยสายรารวมตัวกันได้เป็นเนื้อเยื่อขนาดใหญ่พอที่มนุษย์จะนำเอามาใช้ประกอบอาหาร ทั่วโลกมีเห็ดชนิดต่างๆ อยู่ประมาณ  ๓๐,๐๐๐ พันธุ์  ในจำนวนนี้มีอยู่ไม่ถึงร้อยละ  ๑ ที่เป็นเห็ดเมา และชนิดที่เป็นพิษร้ายแรงมากมีอยู่เพียง ๓ พันธุ์ ซึ่งอยู่ในสกุลอะมานิทา (Amanita)
          พิษรา (mycotoxin) เชื้อรามักพบปนเปื้ออยู่ในผลิตผลทางเกษตรและอาหาร เช่น ข้าวซึ่งเก็บไว้ในที่อับชื้นนานๆ เกิดขึ้นรา เมล็ดเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือถั่วลิสงบางฝักมีราขึ้นที่เมล็ดใน เป็นต้น สารพิษที่สำคัญ ได้แก่ อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin)     ทำให้เกิดโรคอะฟลาท็อกซิโคซิส (aflatoxicosis) ในประเทศอังกฤษ  เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๓  เกิดมีโรคระบาดของสัตว์เลี้ยง   เนื่องจากสัตว์กินถั่วลิสงที่ซื้อจากประเทศบราซิลและถั่วลิสงจำนวนนั้นมีเชื้อรา   แอสเปอร์จิลลัส  ฟลาวัส (Aspergillus flavus) ปนเปื้อนและปลดปล่อยอะฟลาท็อกซินออกมา  เป็นเหตุให้ลูกไก่งวง  ลูกเป็ด ลูกสุกร และลูกโค ล้มตายเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ
          ในประเทศไทย   เมื่อเข้าฤดูฝนมักมีโรคชนิดหนึ่งเกิดขึ้นในเด็กทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นประจำโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด   ลักษณะของโรคเป็นแบบสมองอักเสบ (Reys's syndrome) อวัยวะภายในมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไขมัน ประชากรภาคนี้นิยมนึ่งข้าวเหนียวไว้รับประทานหลายๆ มื้อ  ในฤดูฝนอากาศอับชื้น ข้าวเหนียวจะขึ้นราและเกิดอะฟลาท็อกซิน เด็กซึ่งไวต่อพิษนี้ จึงเกิดอาการของโรค ส่วนในผู้ใหญ่พบว่าในท้องถิ่นที่มีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนอยู่ในอาหารเป็นจำนวนมาก มักจะมีอุบัติการของมะเร็งตับมากขึ้น
          พิษอื่นๆ ของเชื้อรา  เช่น ฟิวชาเรียมกรามิเนียรุม (Fusarium graminearum) ซึ่งสามารถสร้างสารจำพวกอีสโทรเจน พบว่าสุกรเพศเมียที่กินอาหารปนเปื้อนเชื้อรานี้ ช่องคลอดและเต้านมจะบวมโต บางตัวมีอาการรุนแรงถึงกับช่องคลอดและทวารหนักยื่นย้อยออกมาได้
          ๒. โดยการก่อให้เกิดภูมิแพ้  เกิดจากสปอร์ของเชื้อราที่มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ตามอากาศ และสามารถแผ่กระจายไปตามกระแสลมได้ในระยะไกล  เมื่อสูดดมเข้าไปทำให้ร่างกายเกิดภูมิแพ้ในแบบต่างๆ  กัน เช่น  ไข้ละอองฟาง  (allergic rhinitis,hay  fever)  โรคหืด (asthma) ปอดอักเสบ จากภาวะภูมิไวเกิน นอกจากนี้ผลจากการติดเชื้อราในร่างกายอาจทำให้เกิดลมพิษ (urticaria) การอักเสบของผิวหนัง และภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหารได้  เป็นต้น
          ๓. โดยการเข้าสู่เนื้อหนัง  ซึ่งมีได้ ๓ ลักษณะด้วยกัน คือ การติดเชื้อที่ชั้นผิวหนัง การติดเชื้อในหนังชั้นลึก และการติดเชื้อตามอวัยวะภายใน

          เชื้อราของหนังชั้นลึกจะทำให้เห็นรอยโรคเป็นก้อนนูน ตัวอย่างของโรคราจำพวกนี้ ได้แก่
          โรคโครโมไมโคซีส  (chromomycosis) เชื้อราตัวก่อโรคมีหลายกลุ่มได้แก่  ฟอนเซเซีย  (Fonsecaea)  คลาโดสปอเรียม (Cladosporium) ฟีอะโลฟอรา (Phialophora) เชื้อนี้พบตามธรรมชาติในดิน และเปลือกไม้ผุๆ ลักษณะของโรคเป็นปุ่มปม บางรายรายคล้ายดอกกะหล่ำ มักเกิดขึ้นบริเวณเท้าเป็นส่วนใหญ่ พบได้ในผู้ที่ทำนา ทำสวน
           โรคไมเซโทมา  (mycetoma)   เกิดจากเชื้อรามาดูเรลลา (Modurella) เซฟาโลสปอเรียม (Cephalosporium) และเชื้อบัคเตรีชั้นสูงคือ  โนคาร์เดีย (Nocardia)  และสเตร็ปโตไมซีส (Streptomyces) โรคนี้มักเกิดบริเวณเท้า โดยเท้าจะบวมมีหนองอยู่ภายในและจะแตกออกมาที่ผิวหนังหลายๆ รูด้วยกัน

โรคเชื้อรา, โรคเชื้อรา หมายถึง, โรคเชื้อรา คือ, โรคเชื้อรา ความหมาย, โรคเชื้อรา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 10

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu