ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

พระราชลัญจกร, พระราชลัญจกร หมายถึง, พระราชลัญจกร คือ, พระราชลัญจกร ความหมาย, พระราชลัญจกร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
พระราชลัญจกร

          ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีพระราชประเพณีว่า พราหมณ์จะต้องถวาย พระสุพรรณบัฏเฉลิมพระปรมาภิไธยก่อนถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ และจะเชิญดวงพระบรมราชสมภพ  และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล  ขึ้นประดิษฐานบนมณฑลพระราชพิธีดังนั้น  ก่อนเริ่มการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงมีหมายกำหนดการให้มีพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ  ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร  ณ  พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามก่อน พิธีนี้จะต้องกำหนดมงคลฤกษ์เมื่อโหรกำหนดพระฤกษ์วันใดแล้ว ในตอนเย็นก่อนถึงวันพระฤกษ์ พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์โหรสวดบูชาเทวดา รุ่งขึ้นจึงจะประกอบการพระราชพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ฯลฯ

          พระราชลัญจกร  คือ ตราหรือเครื่องหมายรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ตี หรือประทับ หรือปิดผนึกบนเอกสาร  ทั้งที่เป็นเอกสารทางราชการ  หรือเอกสารส่วนพระองค์  จำแนกตามรูปแบบและหลักการใช้ได้หลายองค์ และหลายประเภท ตามโบราณราชประเพณีถือว่าพระราชลัญจกรเป็นเครื่องมงคลอย่างหนึ่งในหมวดพระราชสิริ  ประกอบด้วย  พระสุพรรณบัฏปรมาภิไธยดวงพระบรมราชสมภพ  และพระราชลัญจกรประจำรัชกาล  อันได้แก่  พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน  และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ที่สร้างขึ้นในแต่ละรัชกาล  ดังนั้น  พระราชลัญจกรจึงเป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศ  พระเกียรติยศ  และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์  และยังเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติภูมิของชาติด้วย

          ชาติไทยมีวัฒนธรรมในการใช้ลัญจกร หรือตรามานานแล้ว  อย่างน้อยก็มีหลักฐานชัดเจนว่า เคยใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้วเดิมอาจเริ่มใช้ในวงการชนชั้นสูง เช่น  พระมหากษัตริย์ จากนั้นก็ขยายวงออกไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์  ข้าราชการ  พ่อค้า  ประชาชนเพราะเดิมเอกสารต่างๆ ไม่ได้ลงนามผู้เขียน แต่ใช้ตราประจำตัว หรือตราประจำตำแหน่งแทนการลงลายมือชื่อ  ดังปรากฏในกฎหมายลักษณะ  พระธรรมนูญ ว่าด้วยการใช้ตราประจำตำแหน่งข้าราชการ  ซึ่งบัญญัติขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๑๗๙ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และพระราชลัญจกร ซึ่งใช้ในราชการแผ่นดินนั้นก็มีหลายองค์tเละมีระเบียบแบบแผ่นในการใช้สืบต่อกันมายาวนานเช่นกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ก็ได้ทรงบัญญัติวิธีการใช้ลัญจกรหรือตราให้เป็นแบบแผนมั่นคงขึ้น  เช่น  มีพระบรมราชโองการประกาศให้ราษฎรลงลายมือชื่อ  หรือประทับตราประจำตำแหน่ง  หรือลงลายมือชื่อกำกับการประทับตราในเอกสารหรือหนังสือต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกสารที่เป็นสัญญา ฎีกาและหนังสือคดีความต่างๆ  ต่อมา  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติใช้ตราแผ่นดินรัตนโกสินทร์ศก ๑๐๘  (พุทธศักราช ๒๔๓๒) กำหนดกฎเกณฑ์การใช้พระราลัญจกรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นแบบแผนเหมาะสมกับภาวการณ์ของประเทศมากขึ้น  และมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาอีกหลายฉบับ

          การประทับพระราชลัญจกรในรัชกาลปัจจุบัน
          พระราชลัญจกรมีอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมากหลายองค์ได้ใช้สืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ในรัชกาลปัจจุบันจึงได้พิจารณาให้ใช้เฉพาะบางองค์เพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย ส่วนวิธีการใช้ประทับในเอกสารสำคัญต่างๆ  ได้อิงพระราชบัญญัติ พระราชลัญจกรรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๒  ซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระราชบัญญัติ  พระราชลัญจกรรัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ ซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประกอบกับประเพณีปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมา  พระราชลัญจกรที่ใช้ประทับเอกสารสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน อาจแบ่งเป็น ๓ หมวด รวม ๗  องค์ด้วยกันคือ

          พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์มีพระราชลัญจกรเป็นสัญลักษณ์ประจำพระองค์ต่างกัน  ดังปรากฏในเงินพดด้วง  หรือปกคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือถาวรวัตถุที่สร้างขึ้นในรัชกาล  เช่น  ที่หน้าบันพระอุโบสถ  พระวิหาร  พระราชสัญลักษณ์ประจำพระองค์ดังกล่าว ได้แก่
           พระราชสัญลักษณ์ประจารัชกาลที่  ๑  เป็นรูปปทุมอุณาโลม  มีอักขระ “อุ”  หรือเลข  ๙  ไทยกลับข้างอยู่กลาง  ล้อมรอบด้วยกลีบบัว  ทั้งนี้เพราะรูปพระอุณาโลมคล้ายกับพระมหาสังข์ของเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ทรงได้มา  และโปรดพระมหาสังข์องค์นี้มาก

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๒  เป็นรูปครุฑยุดนาค  สืบเนื่องมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม  “ฉิม”  อันตรงกับฉิมพลีที่เป็นวิมานของครุฑในป่าหิมพานต์

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๓  เป็นรูปปราสาท  มาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม  “ทับ”  ที่แปลว่า  เรือนที่อยู่

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๔  เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ  มาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม  “เจ้าฟ้ามงกุฎ”

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๕  เป็นรูปพระเกี้ยว  หรือจุลมงกุฎ  คือยอดของมงกุฎมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม  “เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” จุฬาลงกรณ์ แปลว่า เครื่องประดับผม  (จุก)  ดังนั้น คำว่า  “พระเกี้ยว-จุฬาลงกรณ์-จุลจอมเกล้าจึงมีความหมายเหมือนกัน

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๖  เป็นรูปวชิราวุธ  มาจากพระบรมนามาภิไธยเดิมเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๗  เป็นรูปพระแสงศร  ๓  องค์  คือ  พระแสงศรพรหมาสตร์  พระแสงศรประลัยวาต และพระแสงศรอัคนิวาต  สืบเนื่องมาจากพระบรมนามาภิไธยเดิม  “เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์”  “เดชน์”  แปลว่า ลูกศร

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๘  เป็นรูปพระโพธิสัตว์ประทับบนบัลลังก์ดอกบัว  ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน   ซึ่งหมายถึงแผ่นดินพระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม  มีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี  สืบเนื่องมาจากพระบรมนามาภิไธย  “อานันทมหิดล”  แปลว่า  เป็นที่ยินดีของแผ่นดินดุจพระโพธิสัตว์ได้เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์

          พระราชสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่  ๙  เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ  ประกอบด้วยวงจักร  กลางวงจักรมีอักขระเป็น  “อุ”  หรือเลข  ๙  รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ  เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร  ๗   ชั้น  ตั้งบนพระที่นั่งอัฐทิศที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก  รวมความหมายถึง  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่  ๙  สืบเนื่องมาจากพระบรมนามาภิไธย “ภูมิพล”  คือทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นกำลังของแผ่นดิน

         พระราชลัญจกรประจำพระองค์ในรัชกาลปัจจุบันเป็นตรางา  มีลักษณะเป็นรูปไข่  ขนาดกว้าง  ๕  เซนติเมตร ยาว ๖.๒  เซนติเมตร  รวมด้ามสูง  ๙.๔  เซนติเมตร  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างขึ้น สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธยในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์เช่น  ประกาศนียบัตรกำกับเหรียญรัตนาภรณ์ โดยโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเข้าร่วมในการพระราชพิธีฉัตรมงคล  พุทธศักราช  ๒๔๙๖  และเชิญใช้ประทับตั้งแต่นั้นมา

พระราชลัญจกร, พระราชลัญจกร หมายถึง, พระราชลัญจกร คือ, พระราชลัญจกร ความหมาย, พระราชลัญจกร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu