ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง?, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง? หมายถึง, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง? คือ, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง? ความหมาย, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง?

มะเมียะ เรื่องราวความรักที่ต่างเชื้อชาติ ระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ อันกลายมาเป็นตำนานรักที่จบลงอย่างโศกสลด และได้รับการกล่าวขานมาถึงปัจจุบัน ถูกถ่ายทอดโดยเจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม อดีตคู่หมั้นของเจ้าน้อยศุขเกษม แม้ว่ามะเมียะจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ล้านนาโดยตรง แต่สำหรับเจ้า น้อย ศุขเกษม ราชบุตรองค์ใหญ่ของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ พ ศ ๒๔๕๒-๒๔๘๒ กับแม่เจ้าจามรีแล้ว มะเมียะเปรียบเสมือนแก้วตาดวงใจของเจ้าน้อยฯ ก็ว่าได้ มะเมียะเป็นแม่ค้าสาวชาวพม่า หน้าตาพริ้มเพรา ได้พบกับเจ้าน้อยศุขเกษมครั้งแรก เมื่ออายุเพียง ๑๖ ปี ขณะนั้นมะเมียะเป็นเพียงแม่ค้าขายบุหรี่ซะเล็กอยู่ที่ตลาดใกล้บ้านในเมืองมะละแหม่ง มะเมียะหารายได้ด้วยความหวังเพื่อจะได้เงินมาจุนเจือครอบครัว ซึ่งอยู่ในฐานะปานกลาง วันหนึ่งเมื่อเจ้าน้อยศุขเกษมได้ออกเดินเที่ยวตามห้างร้านในตลาด จึงได้พบกับมะเมียะ ซึ่งเพิ่งกลับมาจากเมืองตองอู หลังจากไปอาศัยอยู่กับป้าของเธอเป็นเวลาหลายปี ทั้งคู่เกิดถูกใจในกันและกัน จึงได้คบหากันเรื่อยมา หลังจากนั้นไม่นานทั้งสองจึงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยา ด้วยความสนับสนุนของทางบ้านของมะเมียะ และในวันพระทั้งสอง จะพากันไปทำบุญตักบาตรและนมัสการพระบรมสารีริกธาตุตามสถานที่ต่างๆ ในเมืองมะละแหม่งอยู่เสมอ วันหนึ่ง ณ ลานกว้างหน้าพระธาตุใจ้ตะหลั่น ทั้งสองได้กล่าวคำสาบานต่อกันว่าจะรักกันตลอดไป และจะไม่ทอดทิ้งกัน หากผู้ใดทรยศต่อความรักที่มีให้กัน ก็ขอให้ผู้นั้นอายุสั้น จากนั้นไม่นานก็ถึงกำหนดการเดินทางกลับเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าน้อยฯ เพิ่งจะมีอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้ตัดสินใจให้มะเมียะปลอมตัวเป็นชายติดตามขบวนเพื่อกลับไปยังเมืองเชียงใหม่ ในฐานะเพื่อนหนุ่มชาวพม่า โดยหารู้ไม่ว่าเจ้าพ่อและเจ้าแม่ของตนได้หมั้นหมายเจ้าหญิงบัวนวล ธิดาของเจ้า สุริยวงษ์ คำตัน สิโรรส ให้เป็นคู่หมั้นของเจ้าน้อยฯ เป็นการภายในตั้งแต่ปีที่เจ้าน้อยฯ เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในเมืองพม่า หลังจากที่ต้องแอบซ่อนมะเมียะไว้ในบ้านหลังเล็ก ที่เจ้าพ่อและเจ้าแม่จัดเตรียมไว้ให้เป็นที่พักมาแล้วหลายวัน เจ้าน้อยศุขเกษมได้ใช้เวลาคิดใคร่ครวญและตัดสินใจเล่าความจริงให้ทั้งสองฟัง แม้ว่าจะไม่มีคำใดเอื้อนเอ่ยออกมาในขณะนั้น แต่เจ้าน้อยฯ ก็พอจะทราบได้ว่าทั้งสองไม่ยอมรับมะเมียะเป็นศรีสะใภ้อย่างแน่นอนเนื่องจากปัญหาใหญ่ในขณะนั้น คือเจ้าน้อยเป็นผู้ที่ได้รับการคาดหวังว่าจะได้รับตำแหน่งเจ้าหลวงองค์ถัดไปจากเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ ซึ่งเป็นพระเจ้าลุง หากเจ้าน้อยฯ เลือกมะเมียะมาเป็นศรีภรรยา ประชาชนย่อมต้องเกิดความอึดอัดใจในการยอมรับมะเมียะผู้เป็นหญิงต่างชาติมาดำรงฐานะศรีภรรยาของเจ้าเมืองอย่างแน่นอน ในสถานการณบ้านเมืองขณะนั้นน่าวิตกมาก เนื่องจากมหาอำนาจอังกฤษกำลังแผ่อิทธิพลไปทั่วดินแดนในคาบสมุทรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มะเมียะซึ่งเป็นคนในบังคับของอังกฤษและกำลังอาศัยอยู่ในคุ้มของอุปราช ขณะนั้นเจ้าแก้วนวรัฐดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองเชียงใหม่ อาจเป็นชนวนของปัญหาทางการเมืองที่ใหญ่โตได้ในภายหลัง ในที่สุดเจ้าพ่อและเจ้าแม่จึงเรียกตัวเจ้าน้อยฯไปพบ และยื่นคำขาดให้เจ้าน้อยส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมือง ในยามเย็นวันนั้นเอง เจ้าน้อยได้เข้าพิธีเรียกขวัญและรดน้ำมนตที่เจ้าพ่อกับเจ้าแม่จัดขึ้น เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายที่ท่านทั้งสองเชื่อว่ามะเมียะได้กระทำแก่เจ้าน้อยฯ อันเป็นเหตุให้เจ้าน้อยฯ หลงไหลในตัวนาง หลังจากพิธีรดน้ำมนต์ผ่านพ้นไป ช้างพาหนะและไพร่พลที่จะใช้ในการส่งตัวมะเมียะกลับเมืองมะละแหม่งก็ถูกจัดเตรียมทันทีตามคำสั่งของเจ้าแก้วนวรัฐ เมื่อเจ้าน้อยฯ กลับไปถึงที่พักในคืนนั้น มะเมียะได้รับการเกลี้ยกล่อมโดยหญิง-ชาย ชาวพม่าฝ่ายละคน ให้นางกลับไปรอเจ้าน้อยฯ ที่เมืองมะละแหม่ง มิฉะนั้นบ้านเมืองอาจเดือดร้อน นางได้เอ่ยขึ้นด้วยความเสียใจและยินยอมจากไปเพื่อมิให้ผู้ใดได้รับความเดือดร้อน แม้ตัวนางจะจากไกล แต่ความรักอันมั่นคง ยังคงอยู่ดังคำสาบานที่เคยให้ไว้แก่กันและกัน ฝ่ายเจ้าน้อยฯ ยังคงยืนยันในความรักที่มีต่อมะเมียะ และขอให้นางกลับไปรอที่บ้านก่อน หากมีวาสนาจะกลับไปรับนางมาอยู่ด้วยกันที่เชียงใหม่ให้ได้ ในเช้าวันหนึ่งของเดือนเมษายน นับเป็นวันเดินทางกลับเมืองมะละ แหม่งของมะเมียะที่ดูเหมือนจะเป็นการจากลาชั่วนิรันดร์ ณ ประตูหายยาที่เนืองแน่นไปด้วยประชาชนที่ใคร่เห็นโฉมหน้าของมะเมียะ ที่ลือกันว่างามนักงามหนา บรรยากาศเต็มไปด้วยความหดหู่และเศร้าหมอง เมื่อเจ้าน้อยฯ พูดภาษาพม่ากับมะเมียะได้เพียงไม่กี่คำ นางผู้มีใจรักมั่นได้ร่ำไห้ด้วยความอัดอั้นตันใจ ในอ้อมแขนที่ยากจะแยกจากกันได้ เวลานั้นก็ล่วงเลยไปมากแล้ว เจ้าน้อยฯ ได้รับปากกับมะเมียะว่าตนจะยึดมั่นในคำปฏิญาณที่ให้ไว้ต่อหน้าพระพุทธรูปวัดใจ้ตะหลั่นจนกว่าชีวิตจะหาไม่ หากท่านนอกใจมะเมียะโดยสมรสกับหญิงอื่น ขอให้ชีวิตของตนประสบแต่ความทุกข์ทรมานใจ แม้แต่อายุก็จะไม่ยืนยาว เจ้าน้อยฯ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าภายใน เดือนจะกลับไปหามะเมียะให้จงได้ นางจึงคุกเข่าลงกับพื้น ก้มหน้า สยายผมออกเช็ดเท้าเจ้าน้อยฯ ด้วยความอาลัยหา ก่อนที่เธอจะขึ้นไปบนกูบช้าง เมื่อกลับไปถึงเมืองมะละแหม่งแล้ว มะเมียะได้มอบเงินทองจำนวนหนึ่งซึ่งเจ้าแก้วนวรัฐและเจ้าแม่จามรีมอบให้นางก่อนเดินทางกลับเป็นการปลอบขวัญแก่พ่อแม่และน้อง จากนั้นนางได้แต่เฝ้ารอคอยเจ้าน้อยฯ จนครบกำหนด เดือนที่ท่านได้รับปากไว้ แต่นี่กระไรกลับไร้วี่แววใดๆ มะเมียะจึงตัดสินใจเข้าพึ่งใต้ร่มพุทธจักร ครองตนเป็นแม่ชีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ว่านางยังซื่อสัตย์ ต่อความรักที่มีต่อเจ้าน้อยศุขเกษม หลังจากที่มะเมียะทราบข่าวการเข้าพิธีมงคลสมรส ระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล ยศของเจ้าน้อยฯ ในขณะนั้น กับเจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ แม่ชีมะเมียะจึงเดินทางมายังเมืองเชียงใหม่และขอเข้าพบเจ้าน้อยฯ เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อแสดงความยินดีกับชีวิตที่กำลังรุ่งโรจน์ องค์อดีตสวามีผู้เป็นที่รัก ก่อนที่ตนจะตัดสินใจครองตนเป็นแม่ชีไปตลอดชีวิต แต่เจ้าน้อยศุขเกษมผู้ยึดสุราเป็นที่พึ่งดับความกลัดกลุ้มอันเกิดจากความรักอาลัยในตัวมะเมียะ ชีวิตที่ไม่เคยมีความสุขในชีวิตสมรส ท่านไม่สามารถหักห้ามความสงสารที่มีต่อมะเมียะได้ จึงไม่ยอมลงไปพบแม่ชีมะเมียะตามคำขอร้อง เพียงแต่มอบหมายให้เจ้าบุญสูง พี่เลี้ยงคนสนิท นำเงินจำนวน ๘๐บาท ไปมอบให้กับแม่ชีมะเมียะเพื่อใช้ในการทำบุญ พร้อมกับมอบแหวนทับทิมประจำกายอีกวงหนึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าน้อยฯ ให้กับแม่ชีมะเมียะ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทำให้มะเมียะและเจ้าน้อยต่างสะเทือนใจเป็นที่สุด หลังจากเดินทางถึงเมืองมะละแหม่ง มะเมียะได้ครองชีวิตเป็นแม่ชีตามความตั้งใจ จนกระทั่งถึงแก่กรรมในปี พ ศ ๒๕๐๕ รวมอายุได้ ๗๕ ปี nbsp จากตำนานรักระหว่างเจ้าน้อยศุขเกษมและมะเมียะ ได้รับการเผยแผ่ทั้งโดยการเล่าขานสืบต่อกันมา จากการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปรู้จักเจ้าน้อยฯ และมะเมียะมากขึ้น คือ quot เพลงมะเมียะ quot ซึ่งขับร้องโดยคุณจรัล มโนเพชร นักร้อง โฟลคซองชาวล้านนา ดังเนื้อเพลงที่ยกมาต่อไปนี้ nbsp quot มะเมียะ quot nbsp มะเมียะเป็นสาวแม่ค้า คนพม่าเมืองมะละแหม่ง งามล้ำเหมือนเดือนส่องแสง คนมาแย่งหลงรักสาว มะเมียะบ่ยอมรักไผ มอบใจหื้อหนุ่มเชื้อเจ้า เป็นลูกอุปราชท้าวเชียงใหม่ แต่เมื่อเจ้าชายจบการศึกษา จำต้องลาจากมะเมียะไป เหมือนโดนมีดสับดาบฟันหัวใจ ปลอมเป็นพ่อชายหนีตามมา เจ้าชายเป็นราชบุตร แต่สุดที่รักเป็นพม่า ผิดประเพณีสืบมา ต้องร้างลาแยกทาง โอโอก็เมื่อวันนั้น วันที่ต้องส่งคืนบ้านนาง เจ้าชายก็จัดขบวนช้างให้ไปส่งนางคืนทั้งน้ำตา มะเมียะตรอมใจอาลัยขื่นขม ถวายบังคมทูลลา สยายผมลงเช็ดบาทบาทา ขอลาไปก่อนแล้วชาตินี้เจ้าชายก็ตรอมใจตาย มะเมียะเลยไปบวชชี ความรักมักเป็นเช่นนี้ แลเฮย ที่มา www lannaworld com nbsp

คำตอบ

                      เรื่องเจ้าชายแห่งนครเชียงใหม่กับสาวพม่ามะเมี้ยะ เกิดขึ้นจริงระหว่าง พ ศ ๒๔๓๐-๒๔๓๘ ประมาณนั้น เจ้าชายชื่อว่า ศุขเกษม โอรสเจ้าอุปราช ซึ่งเป็นอนุชาของเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครฯองค์ที่ ๘ เวลานั้นอายุของเจ้าศุขเกษมเห็นจะประมาณ ๑๖-๑๗ เจ้าพ่อจึงส่งไปเรียนต่อที่เมืองมะละแหม่ง                       เจ้าศุขเกษม อยู่พม่า ๕ ปี กำลังหนุ่มคะนอง เกิดไปรักใคร่กันกับผู้หญิงพม่าขายบุหรี่ในตลาดชื่อมะเมี้ยะ เมื่อกลับเชียงใหม่ จึงแอบพามะเมี้ยะมาด้วย ครั้นเจ้าพ่อและเจ้าหลวงทราบเรื่อง ก็แน่ละ ย่อมต้องบังคับให้เลิกกัน และส่งมะเมี้ยะกลับ ทั้งนี้เหตุผลมิใช่อยู่ที่การต่างชั้นวรรณะ เพราะเจ้านายนั้นจะมีเมียสักกี่คนก็ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้า แม้พระเจ้าอินทวิไชยยานนท์ หรืออินทวิชยานนท์ เจ้าพ่อของเจ้าหลวงอินทวโรรสฯ และเจ้าอุปราชเองก็มีชายาแรกเป็นช่างซอ และมีชายาอีกหลายคน ก่อนจะอภิเษกกับแม่เจ้าทิพไกรสร หรือทิพเกษร                       ทว่าความสำคัญอยู่ที่มะเมี้ยะนั้นคือสัญชาติอังกฤษ เวลานั้นอังกฤษเข้าครอบครองพม่าอยู่ การที่เจ้านายเชียงใหม่ ผู้เป็นโอรสใหญ่ของเจ้าอุปราช และอาจได้ขึ้นเป็นเจ้าครองนครเชียงใหม่ต่อไปข้างหน้า พาสาวพม่าในบังคับอังกฤษเข้ามาอยู่ในเชียงใหม่นั้น อาจเป็นเหตุให้เกิดเป็นชนวนการเมืองขึ้นได้ โดยเฉพาะอังกฤษนั้นพยายามหาหนทางเข้าควบคุมเชียงใหม่อยู่แล้ว ถึงมีข่าวลือว่า สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียจะขอเจ้าดารารัศมีไปเป็นราชบุตรีบุญธรรม                       ด้วยเหตุนี้ เจ้าศุขเกษม จึงต้องส่งสาวมะเมี้ยะกลับ อย่างที่บทเพลงพรรณนาว่า ส่งขึ้นช้างไป                       เรื่องประเภทนี้ หากนำมาแต่งเป็นเพลง หรือนวนิยาย ก็ต้องสร้างบรรยากาศหรือจินตนาการให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านหวั่นไหวไปกับตัวนางเอก พระเอก โดยเฉพาะตอนที่ว่า มะเมี้ยะสยายผมเช็ดเท้าเจ้าศุขเกษมสามี เรื่องสยายผมเช็ดเท้าสามียามต้องจากกันนั้น ว่าที่จริงแล้วคงเป็นธรรมเนียมโดยทั่วไปของสตรีพม่าตลอดจนล้านนา เพราะเมื่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทราบถวายบังคมลาสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จขึ้นไปเยี่ยมเยือนเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ ศ ๒๔๕๑ นั้น                       เมื่อเสด็จไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟสามเสน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายหน้าฝ่ายใน เสด็จมาส่งกันเป็นจำนวนมาก เสด็จโดยรถไฟถึงปากน้ำโพหรือนครสวรรค์ แล้วจึงเสด็จต่อไปโดยขบวนเรือ คือเรือเก๋งประพาส เรือแม่ปะ เรือสีดอ เรือชล่า                       หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ไปส่งเสด็จด้วย ได้ทรงนิพนธ์ถึงเรื่องนี้ว่า พระราชชายาทรงสยายพระเกศาลงยาวเกือบถึงข้อพระบาท ทรงใช้พระเกศาเช็ดฉลองพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกราบถวายบังคมลา                       ฝ่ายเจ้าศุขเกษม ครั้นส่งมะเมี้ยะกลับไปแล้ว อีกไม่นานนักก็ตามเสด็จเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าลุงลงมาเฝ้าพระราชชายาฯเจ้าอาที่กรุงเทพฯ                       เจ้าศุขเกษมได้พบกับเจ้าบัวชุม ซึ่งตามศักดิ์แล้ว เป็นน้องของพระราชชายา ขณะนั้นอายุ ๒๐ พระราชชายาทรงเลี้ยงดูมาแต่อายุ ๗ ขวบ ต่างพึงพอใจกัน จึงสมรสกับเจ้าบัวชุม แต่มิได้มีบุตรธิดาด้วยกัน เจ้าศุขเกษมและเจ้าบัวชุมครองคู่อยู่ด้วยกันเพียง ๗ ปี เจ้าศุขเกษมก็สิ้นชนมชีพด้วยอายุเพียง ๓๓ ปีเท่านั้น ที่มา  

ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง หมายถึง, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง คือ, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง ความหมาย, ใครเคยรู้จักประวัติมะเมียะบ้าง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu