ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ห้องสมุดในประเทศไทย, ห้องสมุดในประเทศไทย หมายถึง, ห้องสมุดในประเทศไทย คือ, ห้องสมุดในประเทศไทย ความหมาย, ห้องสมุดในประเทศไทย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ห้องสมุดในประเทศไทย

          ห้องสมุดในอดีตของประเทศไทยก็เป็นเช่นลเดียวกับห้องสมุดในบางประเทศ  คือ   แต่เดิมมีเพียงห้องสมุดในวัดและในพระราชวังเป็นส่วนใหญ่ ในวัดมีการสอนพุทธศาสนาและภาษาบาลีแก่ภิกษุสามเณร  สอนอ่านและเขียนตัวอักษรขอมบนใบลาน จึงมีอาคารเก็บรวบรวมพระคัมภีร์ไตรปิฎก  เรียกว่า หอไตร จัดเป็นอาคารเอกเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของวัด หอไตรบางแห่งเก็บหนังสืออย่างอื่นด้วย เช่น กฎหมาย ตำรายา ตำราโหราศาสตร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช   ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเก็บพระคัมภีร์ไตรปิฎกซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและชำระคือ   ตรวจสอบความถูกต้อง   แล้วคัดลงใหม่ในใบลาน อาคารหลังนี้พระราชทานนามว่า  หอพระมณเฑียรธรรม  ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริรวบรวมพระไตรปิฎกฉบับต่างๆ ในประเทศไทยรวมทั้งฉบับที่แปลเป็นภาษาต่างประเทศในประเทศต่างๆ  ที่นับถือพุทธศาสนา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระพุทธศาสนาสังคหะขึ้นในวัดเบญจมบพิตร ปรากฏว่ารวบรวมพระคัมภีร์ได้มาก เมื่อทรงสถาปนาหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมชนกนาถคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรมหอพระพุทธศาสนสังคหะ  และหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งมีอยู่แล้วในพระบรมมหาราชวังเข้าด้วยกันเป็นหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครพระราชทานโอกาสให้ประชาชนชาวไทยเข้าอ่านหนังสือในหอพระสมุดแห่งนี้ได้
          วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม   ในกรุงเทพมหานคร  เป็นอีกวัดหนึ่ง ซึ่งมีการรวบรวมหนังสือไว้มาก  เพื่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณรและของประชาชน  นอกจากหอไตรซึ่งเก็บรวบรวมพระคัมภีร์ทางพุทธศาสนาแล้ว ยังมีจารึก ต่างๆ  ภาพเขียน ภาพปั้น ภาพแกะสลักนูนต่ำอยู่ตามเสา และระเบียงโบสถ์วิหารเป็นตำรายาเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี   คนต่างชาติ  การบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ  วรรณคดีเรื่องต่างๆ เรื่องราวเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมเรื่องที่มีอยู่เดิม  และให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งจารึกลงไว้ตามที่ต่างๆ มีทั้งคำบรรยาย และภาพประกอบ ให้ราษฎรได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้นับกันว่าเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกในประเทศไทย
          หลักฐานที่บอกให้ทราบว่ามีห้องสมุดอยู่ในพระมหาราชวังในกรุงศรีอยุธยาเท่าที่พบมีแห่งเดียว  คือ  ข้อความที่บอกไว้ในบานแผนกของหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ   (เรียกชื่อตามหลวงประเสริฐอักษรนิติ์  ผู้ค้นพบหนังสือฉบับนี้) ว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหนังสือจากหอหลวงมาแต่งพระราชพงศาวดารฉบับนี้ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ  ให้รวบรวมหนังสือที่เหลือจากการถูกพม่าเผาและทำลาย เข้ามาไว้ในกรุงธนบุรีตั้งหอหลวงหรือหอพระสมุดหลวงขึ้นใหม่ตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา  หนังสือส่วนหนึ่ง  คือ พระไตรปิฎก โปรดเกล้าฯ ให้ขอยืมมาจากเมืองนครศรีธรรมราช  ซึ่งพม่าไม่ได้รุกรานไปถึง หนังสือจึงยังคงอยู่ในสภาพบริบูรณ์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหนังสือเพิ่มขึ้น มีหนังสือกฎหมาย วรรณคดีบางเรื่อง และเรื่องอื่นๆ ปรากฏในเอกสารจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้ทำบัญชีหนังสือในหอหลวงขึ้นไว้ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเริ่มมีการติดต่อกับชาวตะวันตก พวกคณะเผยแพร่คริสต์ศาสนาเข้ามาในประเทศไทย นำเอากิจการพิมพ์หนังสือด้วยเครื่องจักร และความรู้ใหม่ๆ เข้ามาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งได้ศึกษาภาษาอังกฤษได้สั่งซื้อหนังสือต่างประเทศเข้ามา หนังสือในห้องสมุดส่วนพระองค์และส่วนตัวเหล่านี้ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนครขึ้นแล้ว   พระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ก็ได้พระราชทานและประทานหนังสือส่วนพระองค์ให้เป็นของหอพระสมุดแห่งนี้  ซึ่งในสมัยต่อมาเมื่อเปลี่ยนระบอบการปกครองแล้วก็ได้ชื่อว่า หอสมุดแห่งชาติ

ห้องสมุดในประเทศไทย, ห้องสมุดในประเทศไทย หมายถึง, ห้องสมุดในประเทศไทย คือ, ห้องสมุดในประเทศไทย ความหมาย, ห้องสมุดในประเทศไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 12

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu