ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค หมายถึง, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค ความหมาย, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค

           สำหรับการจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารคนั้น  ทำให้เราได้ทราบถึงกระบวนเรือซึ่งมีแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งเรียงตามลำดับตั้งแต่ลำหน้ากระบวนไปจนถึงท้ายสุดได้ดังนี้

          ๑. เรือประตู ๑ คู่ ของพระเทพอรชุนและพระราชนิกุล

          ๒. เรือกราบ ซึ่งมีฝีพายสวมกางเกงและเสื้อมงคลสีแดงและดำ

          ๓. เรือเสือทะยานชล ของหลวงเดชสำแดงและเรือเสือคำรนสินธุ์ ของหลวงแสงศรสิทธิ์ ผู้นั่งท้ายลำทั้งสองสวมเสื้ออัตลัด  นุ่งผ้าสองปัก (สมปัก) คาดรัดประคด ศีรษะโพกขลิบทอง ตรงกลางลำตั้งคฤห์สองชั้นที่เสาคฤห์มีอาวุธผูกไว้เป็นคู่ๆ คือ ทวน เขน ง้าว เสโล กระบี่ ที่หัวเรือตั้งปืนขานกยางลำละ ๑ กระบอกมีฝีพาย ๓๐ คน ล้วนนุ่งกางเกงสวมเนื้อสนอบสีแดง  ศีรษะสวมมงคลแดงผ้าพื้นปัศตู

          ๔. เรือแซจระเข้ชนิดคะนองน้ำ และเรือแซจระเข้คำราม  เป็นเรือพม่าอาสา

          ๕. เรือแซพิพัทธชล และเรือแซอานนท์สมุทร  เป็นเรือของพวกมอญ กองอาสาอาทบาต

          ๖. เรือแซช้าง ชื่อ สตำคชรำบาญยินและคชสารสินธู  เป็นเรือพวกมอญ  อีกฝีพายนุ่งผ้าอย่างมอญ  ศีรษะโพกผ้าขลิบ  สวมเสื้อสนอบเป็นผ้าอัตลัด  ฝีพาย  ศีรษะสวมมงคล  สวมเสื้อและกางเกงสีแดง  เรือแซนี้  ท้ายเรือปักธงรบสีแดงทุกลำ
    
          ๗. เรือกราบ ของเจ้ากรมทั้งหกเหล่า

          ๘. เรือกลองแขก นำระหว่างเรือแซคู่

         ๙.  เรือกราบ ของปลัดตำรวจ มีสนมนอก ๔ กรม  ลงประจำเรือลำละกรม

         ๑๐. เรือสางยาว ๙ วา ชื่อ เรือชาญชลสินธุ์และคำแหงหาญ

         ๑๑. เรือกิเลนลอยบนสินธุ์ และเรือกิเลนลินลาสมุทร

         ๑๒. เรือมังกรจำแลง และเรือมังกรแผลงฤทธิ์

         ๑๓. เรือเหราสินธุลอยล่อง  และเรือเหราท่องทางสมุทร

         ๑๔. เรือโตขมังคลื่น และเรือโตฝืนสมุทร เรือรูปสัตว์เหล่านี้ฝีพายใส่เสื้อแดง กางเกงแดง และสวมมงคลแดง  ที่ทำมาจากผ้าปัศตู นายลำนุ่งผ้าสมปัก สวมเสื้ออัตลัด ศีรษะโพกผ้าขลิบทอง คาดรัดประคด ทนายปืนสวมเสื้อกางเกงปัศตูสีแดง  สวมหมวกกลีบลำดวน  ขลิบโหมด

         ๑๕. เรือคฤห์อสุรวายุภักษ์ และเรือคฤห์อสุรปักษีสมุทร เป็นเรือที่มีโขน  สลักเป็นรูปอสูรเขียนลายรดน้ำ ปิดทอง ฉลุลาย ตั้งคฤห์ ซึ่งมีเสาผูกอาวุธต่างๆ อย่างละคู่  เช่น กระบี่ เสโล เขนทวนพู่ ๓ ชั้น และง้าว หัวเรือตั้งปืนจ่ารงลำละกระบอก  ฝีพายสวมเสื้อปัศตูสีแดงขลิบโหมด สวมกางเกงแดง  ศีรษะสวมมงคล

         ๑๖. เรือกราบกัญญา ของปลัดตำรวจ ฝีพายสวมเสื้อกางเกงสีแดงย้อมจากครั่ง  ศีรษะสวมมงคลสีแดง

         ๑๗. เรือคฤห์  ครุฑเหินเห็จ และเรือครุฑเตร็จไตรจักร หลังคาคฤห์คาดผ้าแดงมีเชิง และชายรอบๆ ตรงกลางปักเป็นลายดาวกระจายด้วยทองแผ่ลวด

         ๑๘. เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง เป็นเรือคู่ชักนำหน้าเรือขบวน

         ๑๙. เรือรูปสัตว์ ๕ คู่ เขียนลายรดน้ำ

         ๒๐. เรือศรีสุนทรไชย ตั้งบุษบกอัญเชิญผ้าไตรกฐิน ฝีพายสวมเสื้อปัศตูสีแดง แขนจีบกางเกงยกเขียว สวมหมวกกลีบลำดวน ขุนหมื่นตำรวจรอบบุษบกนุ่งผ้าสมปัก สวมเสื้อครุยสีขาว

         ๒๑. เรือกลอง  ฝีพายสวมใส่มงคล  สวมเสื้อกางเกงผ้าปัศตูสีแดง

         ๒๒. เรือพระที่นั่งชลพิมานไชย  ตรงกลางตั้งบัลลังก์บุษบก  มีม่านกั้น  นักสราชเชิญธงห้าแฉก

         ๒๓. เรือพระที่นั่งมงคลสุบรรณ  มีปืนจ่ารงที่หัวเรือตรงช่วงเท้าของรูปครุฑ  มีฝรั่งกำกับปืน ๓ นาย คือ พระยาพิเศษสงคราม หลวงชนะทุกทิศ  และหลวงฤทธิวารี  มีหมื่นสรรเพชรภักดีและจมื่นศรีเสาวรักษ์  จมื่นเสมอใจราช และจมื่นไวยวรนารถ  อยู่ประจำหน้าพระที่นั่ง  ที่บัลลังก์นี้มีเครื่องราชูปโภคทอดไว้  เช่น  พระล่วมมณฑป(กระเป๋ายา)  พระแสงดาบต้น  กระดานชนวน
              หม้อลงพระบังคน (กระโถนสำหรับถ่าย)  ธารพระกร (หัตถ์ธาร) พระสุพรรณราช และพระสุพรรณศรี (กระโถนเล็กสำหรับบ้วนน้ำหมาก)ทั้งยังมีวิชนีเครื่องสุธารสชา (น้ำชา)  ชุดกล้องเข้าใจว่าเป็นกล้องยาสูบ เชิงเทียน พระเต้าและพระสุพรรณภาชน์สองชั้น
              ส่วนนอกบัลลังก์ด้านหน้าผูกพระแสงปืนคาบศิลา ขนาดยาวสิบคืบ ประดับลวดลายคร่ำทองเป็นปืนที่ใช้ลูกซองขนาดหกบาท  พนักงานประจำชื่อ พระยาอภัยศรเพลิง หลวงเสน่ห์ศรวิชิตและหลวงสนิทอาวุธ มีเจ้ากรมพระศุภรัต ชื่อหลวงสุนทรภิรมย์ และจางวางพิชัยพลระดม
               ที่ท้ายที่นั่งนอกม่าน มีมหาดเล็ก ๒ คน มีเวรพนักงานพระภูษามาลา เชิญพระกลด ๒ คนและมีแพทย์หลวง ๒ คน คือ หมอยาทิพจักร และ หมอนวดราชรักษา

          ๒๔. เรือพระที่นั่งไชยสุพรรณหงส์  เป็นเรือพระที่นั่งรอง ผลัดเปลี่ยนกับเรือเหราข้ามสมุทรคือถ้าใช้เรือพระที่นั่งไชยก็ใช้เรือ  เหราเป็นเรือพระที่นั่งรอง  ถ้าใช้เรือพระที่นั่งครุฑเป็นลำทรงก็จะใช้เรือพระที่นั่งครุฑน้อยเป็นพระที่นั่งรอง เรือพระที่นั่งรองนี้จะประดับเช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งทรง  แต่จะผิดกันตรงพายที่จะใช้พายทองร่องชาด  มีนักสราชเชิญธงสามชายอยู่ที่ทั้งด้านหัวเรือและท้ายเรือ  ที่บัลลังก์บุษบกตั้งผ้าไตร มีพนักงานศุภรัต ๒ คน

          สำหรับการเสด็จพยุหยาตราชลมารคในสมัยอยุธยาที่ค่อนข้างละเอียดนั้น  มีอยู่ในเรื่องลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง  ซึ่งเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐  โดยพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  โดยแต่งจากความทรงจำที่เคยเห็นมา  ซึ่งกระบวนพยุหยาตราชลมารคในครั้งนั้นปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งต่างๆ คล้ายคลึงกับที่
กล่าวถึงในคำให้การชาวกรุงเก่า  เรือในกระบวนตามที่กล่าวถึงใน  ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง เช่น เรือเสือ  เรือพิฆาต  เรือไชย  เรือรูปสัตว์  เรือโขมดยา  เป็นต้น

          จากริ้วกระบวนเรือในตำราเพชรพวงพยุหยาตรา และบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งนั้น เมื่อเปรียบเทียบแล้วมีที่ต่างกันคือ ตำแหน่งที่ตั้งของเรือ ตรงที่เป็นหัวเรือเดิมเป็นเรือกันและที่เรือดั้ง เดิมจะมีเรือนำหน้าเรือพระที่นั่ง ซึ่งตรงที่เป็นเรือนำในสมัยหลังเป็นเรือดั้ง ลำซ้ายตั้งผ้าไตรหรือพานพุ่มดอกไม้ ซึ่งมีหลายลำเรียงกัน (เรือดั้งแต่เดิมอยู่นำหน้าเรือพระที่นั่ง)
             ริ้วกระบวนเรือจัดเห่ ออกเป็น ๕ สาย คือ
             ๑. สายกลาง เป็นริ้วเรือพระที่นั่ง เรียกว่าสายพระราชยาน
             ๒. สายในซ้าย และสายในขวา เป็นริ้วเรือแห่ เรียกว่า สายคู่แห่
             ๓. สายนอกซ้าย และสายนอกขวา เป็นริ้วเรือกัน เรียกว่า สายกัน

          ระเบียบกระบวนนั้นจัดแบ่งออกเป็น ๕ ตอน  ตอนหน้าเรียกว่า กระบวนนอกหน้า ได้แก่ ทหารกองนอก ถัดมาเป็นกระบวนในหน้า ได้แก่ ทหารรักษาพระองค์  ตอนกลางเป็นกระบวนเรือพระราชยาน  ตอนหลังชั้นในเรียกว่า  กระบวนในหลัง ได้แก่  ทหารรักษาพระองค์  ตามด้วยกระบวนหลังนอก ได้แก่  ทหารกองนอก  ทั้ง ๕ ตอนนี้ มีเรือประตูคั่นทุกตอน

การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค หมายถึง, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค ความหมาย, การจัดริ้วกระบวนพยุหยาตราชลมารค คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu