ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การรักษาคลองรากฟัน?, การรักษาคลองรากฟัน? หมายถึง, การรักษาคลองรากฟัน? คือ, การรักษาคลองรากฟัน? ความหมาย, การรักษาคลองรากฟัน? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

การรักษาคลองรากฟัน?

อยากทราบว่า quot การรักษาคลองรากฟัน quot คืออะไรค่ะ

คำตอบ

              เมื่อเกิดฟันผุหรือฟันได้รับอุบัติเหตุ เช่นฟันหักทะลุเนื้อเยื่อในโพรงฟัน ฟันหลุดออกจากเบ้าฟัน ถ้าคนไข้ไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคจะลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อในโพรงฟัน ทำให้เนื้อเยื่อในอักเสบ คนไข้จะมีอาการตั้งแต่ ปวดฟันเมื่อฟันสัมผัสกับอาหารหรือเครื่องดื่มร้อน เย็น หรือรสหวาน ปวดฟันตลอดเวลาหรือปวดขึ้นเอง หากปล่อยทิ้งไว้เชื้อโรคจะลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบรากฟัน อาการต่างๆจะรุนแรงขึ้น ปวดฟันมากเมื่อเคี้ยวอาหารหรือเมื่อฟันกระทบกัน อาจเป็นตุ่มหนองที่เหงือก เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงการบวมจะลามไปที่ใบหน้าหรือลำคอ               การรักษารากฟันมีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ใส่แผ่นยางป้องกันน้ำลายบนฟันที่จะรักษา การเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน การทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน และการอุดคลองรากฟัน ในแต่ละขั้นตอนจะมีการถ่ายภาพรังสี เพื่อวัดความยาวรากฟัน ป้องกันไม่ให้เครื่องมือ วัสดุ หรือน้ำยาล้างเกินออกไปนอกรากฟัน ถ้าคลองรากฟันยังไม่สะอาด ทันตแพทย์จะใส่ยาในคลองรากฟันและอุดด้วยวัสดุอุดชั่วคราว แล้วนัดคนไข้กลับมาใหม่ จะเห็นได้ว่าการรักษารากฟันเป็นงานที่ซับซ้อน มีหลายขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟันกรามซึ่งมีหลายราก และเข้าทำลำบาก จึงต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือของคนไข้ ในการนัดครั้งต่อไปทันตแพทย์จะให้การรักษาต่อจากขั้นตอนที่แล้ว จนแน่ใจว่าคลองรากสะอาด จึงอุดคลองรากฟัน จำนวนครั้งที่คนไข้มาพบทันตแพทย์ขึ้นกับสภาพในคลองรากฟัน โดยทั่วไปจะตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป               หลังจากที่คลองรากฟันได้รับการอุดแล้ว ฟันซี่นั้นควรได้รับการบูรณะที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันสามารถบดเคี้ยวได้ตามปกติ และมีความสวยงาม ฟันที่สูญเสียเนื้อฟันไม่มากนัก อาจบูรณะด้วยการอุดฟัน กรณีที่สูญเสียเนื้อฟันมาก ควรใส่เดือยในรากฟันและทำครอบฟันเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟัน ในบางกรณีฟันที่รักษารากฟันแล้วอาจมีสีคล้ำขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการฟอกสีฟัน   โอกาสที่ฟันรักษาคลองรากฟันแล้วสำเร็จ มีประมาณ 80-90 ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น สภาพของฟันก่อนรักษา การบูรณะที่เหมาะสมภายหลังจากที่คลองรากฟันได้รับการอุดแล้ว การรักษาความสะอาดในช่องปาก และอื่นๆ คนไข้ควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจซ้ำทุก 6 เดือน เพื่อติดตามผลการรักษาและแก้ไขหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น                 กล่าวโดยสรุป การรักษารากฟันเป็นวิธีการทางทันตกรรมอย่างหนึ่งที่จะเก็บฟันไว้ใช้งานได้ตามปกติให้นานที่สุด ข้อมูลจาก  

การรักษาคลองรากฟัน, การรักษาคลองรากฟัน หมายถึง, การรักษาคลองรากฟัน คือ, การรักษาคลองรากฟัน ความหมาย, การรักษาคลองรากฟัน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu