ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต?, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต? หมายถึง, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต? คือ, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต? ความหมาย, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต?

อยากทราบชีวประวัติของ nbsp สอ เสถบุตร nbsp ว่ามีความเป็นมาอย่างไร nbsp และเป็นความจริงหรือไม่ว่า nbsp ดิกชันนารีไทย-อังกฤษ ฉบับที่ดีที่สุดซึ่งเขียนโดยท่านผู้เขียนเมื่อท่านถูกจำคุกอยู่ ชเนศ ชาญโลหะ ระยอง

คำตอบ

        สอ เศรษฐบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ ท่ามกลางความลำบากยากจนของบิดามารดา ซึ่งแต่งงานกันด้วยความไม่เห็นชอบของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย         สวัสดิ์   เศรษฐบุตร   บิดาของ   สอ   เป็นนักประดิษฐ์และชอบทำงานอิสระ   ท่านจึงไปทำงาน และประดิษฐ์แป้นตัวอักษรให้แก่บริษัทพิมพ์ดีด   สมิธ   พรีเมียร์   ของพระอาจวิทยาคม   หมอย็อช   แม็คฟาแลน   ผู้แต่งปทานุกรมอังกฤษเป็นไทยที่แพร่หลายที่สุดในสมัยนั้น   สอ   เศรษฐบุตร   เคยติดตามบิดาไปที่บ้านคุณพระอาจฯหลายครั้ง อิทธิพลของคุณพระอาจฯ คงจะเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้   สอ   เศรษฐบุตร   ตัดสินใจถือเอาการทำปทานุกรมเป็นงานแห่งชีวิต         บิดาของ   สอ   เศรษฐบตร   ถึงแก่กรรมขณะที่เขากำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ ๗ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ มารดาไม่มีรายได้พอที่จะส่งเสียเขาให้เรียนหนังสือต่อไปได้   สอ   เศรษฐบุตร จึงไปหาอาจารย์ เอ จี โบมอนต์ ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำชั้น เพื่อขอลาออกแต่อาจารย์โบมอนต์คัดค้านเต็มที่ พร้อมกับพาสอไปหาเพื่อนชาวอังกฤษ ชักชวนให้คนเหล่านั้นเรียนภาษาไทยกับสอ   นับจากนั้นสอ เศรษฐบุตร จึงมีรายได้จากการสอนหนังสือเดือนหนึ่ง ๗๐-๘๐   บาท ซึ่งเท่ากับเงินเดือนของนายทหารหรือข้าราชการชั้นสัญญาบัตร         ด้วยความเชื่อมั่นว่าตนมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างดี   ดังนั้นเมื่อสอบชั้นมัธยมปีที่ ๗   ได้แล้ว   สอ   เศรษฐบุตร   จึงไปสอบแข่งขันกับนักเรียนซึ่งส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมปีที่   ๘   เพื่อชิงทุนกรมรถไฟไปเรียนเมืองนอก ปรากฏว่าเขาสอบได้ แต่นายแพทย์ผู้ตรวจร่างกายกลับรายงานว่า   สอ   เศรษฐบุตร   มีร่างกายเล็กและผอมบางอาจจะทนกับอากาศหนาวในเมืองนอกไม่ได้ ประกอบกับคณะกรรมการเห็นว่าอายุยังน้อย จึงขอร้องให้เขาสละสิทธิ์ให้คนอื่นไปแทน         สอ เศรษฐบุตร   จึงเข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมปีที่   ๘   ตั้งใจว่าจะสอบทุนเล่าเรียนหลวง   ซึ่งให้แก่นักเรียนที่สอบไล่ชั้นมัธยมที่   ๘   ได้เป็นอันดับที่   ๑   และ   ๒   สอ เศรษฐบุตร   จุดตะเกียงคร่ำเคร่งดูหนังสือทั้ง ๆ ที่สุขภาพไม่แข็งแรง เขาไปสอบไล่ทั้ง ๆ ที่จับไข้ ผลปรากฏว่า   สอ   เศรษฐบุตร   สอบได้เป็นที่   ๓   เขาจึงต้องเข้าเรียนซ้ำชั้นมัธยมปีที่   ๘   อีกปีหนึ่ง         ในปีที่สองเขาเคราะห์ร้ายอีกที่เป็นไข้และเป็นคางทูมในระหว่างสอบ แต่คราวนี้โชคยังช่วยอยู่เพราะเขาสอบได้ที่   ๒   แต่เรื่องซ้ำรอยเดิมอีก เพราะเสนาบดีกระทรวงธรรมการได้ทัดทานเรื่องสุขภาพของเขา หากแต่มิสเตอร์จอห์นสัน ที่ปรึกษากระทรวงธรรมการในขณะนั้นเห็นใจ   จึงพาไปหานายแพทย์ชาวต่างประเทศ และแพทย์ผู้นั้นลงความเห็นว่าแม้รูปร่างจะเล็กบาง   แต่สุขภาพแข็งแรงดี   จึงเห็นสมควรให้   สอ   เศรษฐบุตร   ไปเรียนเมืองนอกได้         สอ   เศรษฐบุตร เดินทางไปอังกฤษ   สอบเข้ามหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ได้ในลำดับชั้นหนึ่ง   และได้เข้าเรียนวิชาธรณีวิทยาและการเหมืองแร่ตามหลักสูตรเกียรตินิยม   ควบคู่กันไปกับวิชาวิศวกรรมศาสตร์   สอ   เศรษฐบุตร สำเร็จปริญญา B Sc HONS ทางธรณีวิทยาและประกาศนียบัตร F G S ในวิชาวิศวกรรมศาสตร์เป็นคนแรกของเมืองไทยภายในเวลาเพียง ๓ ปี ขณะที่เขากำลังเตรียมตัวเข้าเรียนปริญญาโทต่อ ทางราชการก็เรียกตัวเขากลับเพื่อให้เข้าทำงานในกรมโลหะกิจและภูมิวิทยา         ในระหว่างศึกษาอยู่ที่อังกฤษ   สอ   เศรษฐบุตร   ฝักใฝ่อยู่กับการหนังสือพิมพ์ตลอดมา   แม้กลับมาเมืองไทยนอกจากงานราชการแล้ว เขายังทำหนังสือ บางกอกการเมือง และเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ Bangkok   Daily   Mail โดยใช้นามปากกาว่า |NaI Nakorn| นามปากกานี้เองที่ได้บิดผันชีวิตของสอ เศรษฐบุตร ให้ต้องผันแปรไป เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยในงานเขียนของเขา ดังนั้นหลังจากรับราชการในกรมโลหะกิจได้เพียง   ๖   เดือน   สอ   เศรษฐบุตร   ก็ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ไปรับราชการใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทในกรมราชเลขาธิการ         สอ   เศรษฐบตร   เจริญก้าวหน้าในงานราชการ   ได้รับพระราชทานยศ และบรรดาศักดิ์เป็นเสวกโท   หลวงมหาสิทธิโวหารเจ้ากรมกองเลขาธิการองคมนตรี หรือเลขาธิการคณะกรรมการองคมนตรีสภาในระหว่างปี พ ศ   ๒๔๗๓-๒๔๗๔   ได้มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติหนาหู   และหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้านได้พากันโจมตีรัฐบาลอย่างเต็มที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระราชกระแสรับสั่งให้หลวงมหาสิทธิโวหาร   ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อควบคุมและดำเนินการต่อสู้กับหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้านและแก้ข่าวลือต่าง ๆ ทั้งชี้แจงให้ประชาชนได้ทราบข้อเท็จจริง         ในที่สุดคณะราษฎร์ก็ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ หลวงมหาสิทธิโวหารถูกคณะผู้ก่อการสอบสวน   และถูกย้ายไปเป็นรองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ต่อมาอีก ๒-๓ เดือน ก็มีคำสั่งย้ายเขากลับไปรับราชการในกรมโลหะกิจเมื่อพิจารณาว่าตนเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผู้มีอำนาจในคณะรัฐบาลขณะนั้น คงหาความเจริญก้าวหน้าในชีวิตราชการไม่ได้   หลวงมหาสิทธิโวหารจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ         หลวงมหาสิทธิโวหารเกี่ยวพันกับกบฏบวรเดช   ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๖ โดยเป็นผู้แปลแถลงการณ์ของฝ่ายกบฏเป็นภาษาอังกฤษ   เมื่อฝ่ายกบฏแพ้   เขาจึงถูกจับกุมระหว่างการพิจารณาคดีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ถามหลวงมหาสิทธิโวหารว่า   ต้องการจะเป็นพยานหรือจำเลย   เขาตอบว่า   “ ผมไม่อยากจะเป็นทั้งพยานและจำเลย ”   คำตอบนี้เป็นเหตุให้หลวงมหาสิทธิโวหารต้องถูกศาลพิพากษาตัดสินจำคุกตลอดชีวิต   เมื่อวันที่   ๕ กันยายน ๒๔๗๗ โดยไม่มีการอุทธรณ์ ฎีกา ต่อมาหลวงมหาสิทธิโวหารก็ถูกถอดยศและบรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม   ๒๔๗๗         เมื่อถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต   สอ   เศรษฐบุตร   จึงคิดคำนึงว่า คนหนุ่มอย่างเขาซึ่งมีอายุเพียง   ๓๐   ปี   และได้รับการศึกษามาอย่างดีเยี่ยม   ไม่สมควรที่จะปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์   เขาจึงตัดสินใจที่จะทำปทานุกรมอังกฤษเป็นไทย   เพื่อให้เป็นงานแห่งชีวิต   และเพื่อให้เป็นรายได้สำหรับเลี้ยงมารดาและน้อง ๆ   ทางบ้าน   เมื่อแรกทำเพื่อน   ๆ   พากันหาว่าเขาบ้าที่เขียนปทานุกรมไม่เหมือนใคร   เพราะมีตัวอย่างประโยคแสดงให้เห็นความหมายของคำนั้น   ๆ   ด้วย อย่างไรก็ตาม   พวกเพื่อน   ๆ   นักโทษการเมืองก็ช่วยเขาจดและคัดลอกเป็นต้นฉบับ   ต่อมาพระยานิพนธ์พจนาถซึ่งเคยร่วมรับราชการด้วยกันในกรมราชเลขาธิการ   และมีความเลื่อมใสและเชื่อมือในความสามารถของ   สอ   เศรษฐบุตร   ก็ได้รับอาสาเป็นผู้พิมพ์จำหน่ายดิกชันนารีนั้น   เงินค่าลิขสิทธิ์ที่ได้มารดาของ   สอ   เศรษฐบุตร   เป็นผู้รับ         การที่   สอ   เศรษฐบุตร   สามารถเขียนปทานุกรมอังกฤษเป็นไทยและไทยเป็นอังกฤษได้ลำพังคนเดียว โดยที่ปกติแล้วควรจะทำเป็นคณะ   ก็เพราะ   สอ   เศรษฐบุตร   มีความผสมผสานในความสามารถหลายแขนงอยู่ในตัว   ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรทำให้เขาสามารถอธิบายศัพท์วิทยาศาสตร์และการช่างต่าง   ๆ   ได้อย่างแจ่มแจ้ง   ความเป็นนักอ่านทำให้เขารอบรู้ในวรรณคคีต่าง ๆ   เป็นอย่างดี   ความเป็นนักหนังสือพิมพ์และนักการเมือง   ทำให้   สอ   เศรษฐบุตร   มีความรู้รอบตัวอย่างกว้างขวางในวิชาการต่าง ๆ   อาทิ   ภูมิศาสตร์   ประวัติศาสตร์   เศรษฐศาสตร์   ลัทธิการเมือง   และระบอบการปกครองของชาติต่าง ๆ   และประการสำคัญที่สุดก็คือ   ความเป็นนักเขียนซึ่งเป็นพรสวรรค์ที่ทำให้   สอ   เศรษฐบุตร   มีความคล่องในการเขียนทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ยิ่งกว่านั้นก็คือ   สอ   เศรษฐบุตร   เป็นคนรู้จักแบ่งเวลา   และมีความอุตสาหะวิริยะอย่างยอดเยี่ยม         สอ   เศรษฐบุตร   ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำบางขวางหลายปีก่อนถูกส่งไปยังเกาะตะรุเตาและเกาะเต่าในที่สุด   เขาได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่   ๒๐   ตุลาคม   ๒๔๘๗   รวมเวลาที่ถูกคุมขังทั้งสิ้น   ๑๐   ปี   ๑๑   เดือน   กับ   ๒๐   วัน         หลังจากได้วับพระราชทานอภัยโทษแล้ว สอ   เศรษฐบุตร ก็กระโดดเข้าสู่วงการเมืองและวงการหนังสืออีก   เขาเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์   Liberty   อันเป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษฉบับแรกที่ออกจำหน่ายหลังสงครามโลกครั้งที่   ๒   เขาออกหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ภาษาอังกฤษชื่อ Leader เคยเป็นผู้แทนราษฎร   จังหวัดธนบุรี   เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรสมัยรัฐบาล นายควง   อภัยวงศ์         สอ เศรษฐบุตร   เปลี่ยนตัวสะกดนามสกุลเป็น   เสถบุตร   ในยุคที่จอมพล ป พิบุลสงคราม   ปฏิวัติอักขระภาษาไทย   เมื่อปทานุกรมได้จำหน่ายแพร่หลายแก่ประชาชนทั่วไปในนาม   สอ   เสถบุตรจึงเป็นการยากและไม่สะดวกที่จะเปลี่ยนกลับไปดังเดิม   ก่อนเสียชีวิตเขาขายลิขสิทธิ์ปทานุกรมแบบขายขาดให้แก่สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช         สอ   เสถบตร   เสียชีวิตเมื่อวันที่   ๙   กันยายน   ๒๕๑๓ เหลือไว้แต่   |งานแห่งชีวิต|   ที่มีประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังอย่างมหาศาล ตัดตอนจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ   สอ   เสถบุตรเขียนโดย   พิมพวัลคุ์   เสถบุตร “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต หมายถึง, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต คือ, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต ความหมาย, สอ เสถบุตร กับงานแห่งชีวิต คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu