ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง?, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง? หมายถึง, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง? คือ, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง? ความหมาย, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง?

วันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงช่องประตูปราสาทพนมรุ้งตรงกับวันไหนครับ วัฒนา กรุงเทพฯ

คำตอบ

ปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรง ๑๕ ช่องประตูปราสาทพนมรุ้งเกิดขึ้นปีละสองครั้ง ในวันที่ ๔ ๕ เมษายน และ ๗ ๘   กันยายน และดวงอาทิตย์ตกตรง ๑๕ ช่องประตูในวันที่ ๖ ๗   มีนาคม และ ๗ ๘ ตุลาคม ตามปฏิทินสุริยคติ ที่เห็นอย่างละสองวันเนื่องจากประตูปราสาททั้ง ๑๕ กว้างพอที่จะเห็นดวงอาทิตย์ผ่านได้สองวัน และจะเป็นเช่นนี้ตราบเท่าที่ยังไม่เกิดแผ่นดินเลื่อน แผ่นดินไหว จนทิศของปราสาทบนพื้นโลกเปลี่ยนแปลง ถามว่ารู้ได้อย่างไร   รู้มาจากการคำนวณการบ่ายเบนของดวงอาทิตย์ declination โดยนักดาราศาสตร์นั่นเอง ปรากฏการณ์ที่สวยงามและหาดูได้ยากยิ่งนี้เกิดขึ้นกับกลุ่มอาคารปราสาทพนมรุ้ง   จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีช่องประตูตรงกัน ๑๕ประตู แนวกึ่งกลางของประตูทั้ง ๑๕ วางในแนวตะวันออก ตะวันตก ดูอย่างนี้เหมือนไม่น่าพิสดารเพราะอยู่ในทิศทางทีดวงอาทิตย์ขึ้นและตกเป็นปรกติวิสัย และถ้าไปยืนตรงประตูตะวันออกสุดก็จะเห็นดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาทุกเช้านั่นละ หากความจริง เมื่อไปยืนมองพระอาทิตย์ขึ้นจากประตูด้านตะวันตกสุดทะลุไปยังประตูตะวันออกสุด จะเห็นประตูตะวันออกสุดเป็นช่องเล็กจิ๋วเดียว ยิ่งถ้ายืนห่างจากประตูตะวันตกเพียง ๔-๕ เมตร มุมจะยิ่งแคบ เหลือกว้างไม่ถึง ๑ องศา และดวงอาทิตย์จะมีนิสัยแปลก คือแต่ละวันใน ๓๖๕ วัน จะตื่นขึ้นไม่ตรงตำแหน่งเดิม ที่ไม่ตรงเนื่องจากขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองพร้อมกับหมุนรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกจะส่ายดุจการหมุนของลูกข่าง เกิดเป็นมุมบ่ายเบนออกจากแนวทิศจริงเล็กน้อย พระอาทิตย์จึงขึ้นไม่ตรงตำแหน่งเดิมที่เรายืนสังเกตบนพื้นโลก สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทย มีเพียงวันที่   ๒๑ มีนาคม   และ ๒๓ กันยายน   เท่านั้นที่ดวงอาทิตย์ตื่นขึ้นและเข้านอนตามแนวตะวันออกตะวันตกจริง ผู้สร้างปราสาทหรือวิมานที่สวยงามหลังนี้ตั้งใจจะให้ทิศของปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก แต่ถ้าประตูปราสาทตรงตามแนวตะวันออก-ตะวันตกจริง เราจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้น   และตกตรงช่องประตูทั้ง ๑๕ ในวันเดียวกัน คือวันที่ ๒๑ มีนาคม   และ ๒๓ กันยายน ทว่าสถาปนิกผู้ออกแบบใช้ปฏิทินสุริยคติที่คลาดเคลื่อน จึงได้ทิศเบนไปจากทิศตะวันออกจริงไปทางเหนือเป็นมุม ๕ องศา ๒๔ ลิบดา ซึ่งใกล้เคียงกับการบ่ายเบนของดวงอาทิตย์ในวันที่ ๔-๕ เมษายน และ ๗-๘ กันยายน นอกจากนี้   การที่เรารู้มุมที่คลาดเคลื่อนสามารถนำมาคำนวณหาวันวางผังสร้างปราสาทพนมรุ้งได้ ว่าปีนั้นตรงกับ พ ศ ๑๔๒๔ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขที่ปรากฏในศิลาจารึกจะใกล้เคียงกัน การคำนวณครั้งนี้ทำโดยนายนิพนธ์   ทรายเพชร อดีตผู้อำนวยการท้องฟ้าจำลอง   กรุงเทพฯ “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”

ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง หมายถึง, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง คือ, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง ความหมาย, ดวงอาทิตย์ที่พนมรุ้ง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu