ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)?, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)? หมายถึง, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)? คือ, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)? ความหมาย, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)? คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
คำถาม

ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน)?

ขอทราบประวัติการยิงสลุตของประเทศไทย..นำมาใช้สมัยไหน....จะยิงในโอกาสใด...ยิงครั้งละกี่นัด 

คำตอบ

        ประเพณีการยิงสลุตในประเทศไทย มีปรากฏในพงศาวดารว่ารู้จักกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะช่วงดังกล่าว ไทยเราคบค้าสมาคมกับฝรั่งหลายชาติหลายภาษา จึงรู้ขนบธรรมเนียมของฝรั่ง ตามจดหมายเหตุของฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ ศ ๒๒๒๓ เรือรบฝรั่งเศสชื่อ เลอโวตูร์ ได้เข้ามาในบางกอก และมองซิเออร์คอนูแอล นายเรือได้สอบถามไปทางกรุงศรีอยุธยาว่าจะยิงสลุตให้ชาติไทยเมื่อเรือผ่านป้อมที่บางกอกคือป้อมวิชัยประสิทธิ์จะขัดข้องหรือไหม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็รับสั่งให้ออกพระศักดิ์สงคราม ชาวเตอรกีผู้รักษาป้อม ยอมให้ฝรั่งเศสยิงสลุตได้ และมีเรื่องเล่าว่าธงชาติไทยเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกที่นี่ เพราะตามธรรมเนียมต้องชักธงชาติขึ้นก่อน ฝรั่งเศสจึงจะยิงสลุตได้ ป้อมดังกล่าว คือ ป้อมวิชาเยนทร์ที่สร้างขึ้นที่ปากน้ำบางกอกใหญ่เมื่อ พ ศ ๒๒๐๘ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิชัยประสิทธิ์สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และทูตไทยที่ได้รับการยิงสลุตเป็นคนแรกเมื่อเดินทางไปฝรั่งเศสเป็นจำนวน ๕ นัดคือ ขุนพิชัยวาทิต และขุนพิทักษ์ไมตรี หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไทยเราไม่นิยมฝรั่งเศส ประเพณีการยิงสลุตจึงหายไป จนมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเริ่มประเพณีนี้ขึ้นอีก เมื่อเซอร์จอนเบาริง เป็นราชทูตมาเมื่อพ ศ ๒๓๙๘ ก็มีการขออนุญาตยิงสลุต ๒๑ นัด และพระองค์ท่านก็ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต พร้อมให้มีการยิงตอบด้วยจำนวนเท่ากัน โดยได้มีการออกประกาศให้ประชาชนได้ทราบเพื่อมิให้ตื่นตกใจด้วย เพราะสมัยนั้นเรายังไม่ถือการยิงสลุตเป็นประเพณีที่ต้องปฏิบัติ จนมาในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ เราจึงมีหลักเกณฑ์การยิงสลุต ที่เรียกว่า “ ข้อบังคับว่าด้วยการยิงสลุต ร ศ ๑๒๔ ” ขึ้น โดยผู้มีหน้าที่ยิงคือ เรือรบหลวง ยิงในทะเล และป้อมยิงสลุตยิงบนบก ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวได้ใช้มาตลอดรัชกาลที่ ๕ ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเปลี่ยนแก้ไข โดยทรงตราเป็นพระราชกำหนดเรียกว่า “ พระราชกำหนดการยิงสลุต ร ศ ๑๓๑ พ ศ ๒๔๕๕ “ การยิงสลุตแบ่งเป็นของหลวง แบบธรรมดา ใช้ยิง ๒๑ นัด แบบพิเศษใช้ยิง ๑๐๑ นัดในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งพระราชกำหนดนี้ใช้ตลอดรัชกาลที่ ๖ ครั้นรัชกาลที่ ๗ มิให้ใช้เพื่อความประหยัด และได้ยกเลิกไปเมื่อพ ศ ๒๔๘๓ โดยปัจจุบัน การยิงสลุตใช้ข้อบังคับที่เรียกว่า “ ข้อบังคับทหารว่าด้วยการยิงสลุต ที่           สำหรับหลักเกณฑ์การยิงสลุตปัจจุบันพอสรุปได้ดังนี้                 ถ้าเป็นงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชินีหรือสมเด็จพระยุพราช รวมถึงงานต้อนรับพระมหากษัตริย์ หรือประมุขแห่งรัฐ ยิงสลุตจำนวน ๒๑ นัด                   ถ้าเป็นระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นทหาร ผู้บัญชาการทหารเรือ จอมพลเรือ และเอกอัครราชทูต ยิงสลุต ๑๙ นัด         รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่เป็นพลเรือน พลเรือเอก และเอกอัครราชทูตพิเศษ ยิงสลุต ๑๗ นัด         พลเรือโท และอัครราชทูต ยิงสลุต ๑๕ นัด                 พลเรือตรี และราชทูต ยิงสลุต ๑๓ นัด สามเหล่าทัพยศเท่ากัน ยิงสลุตเท่ากัน         อุปทูตยิงสลุต ๑๑ นัด         กงสุลใหญ่ ยิงสลุต ๙ นัด

ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน), ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน) หมายถึง, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน) คือ, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน) ความหมาย, ต้องการทราบประวัติการยิงสลุต(ยิงกี่นัด ยิงในโอกาสไหน) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำถามแนะนำ

คำถามในหมวดอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu