ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ หมายถึง, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ คือ, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ ความหมาย, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่

          ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ จวบจนปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เพิ่มขึ้นในอัตราเร่งอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างที่แจ่มแจ้งที่สุด คือ การสร้างเครื่องบิน ซึ่งสามารถบินขึ้นครั้งแรกได้ในระยะทาง ๑๒๐ ฟุต โดยอยู่บนอากาศได้ไม่ถึงหนึ่งนาที ด้วยการทำงานร่วมกันของพี่น้องตระกูลไรท์ชาวสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเพียง ๖๖ ปี มนุษย์ก็สามารถสร้างยานอวกาศนำมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ ซึ่งไกลจากโลกถึง ๓๕๔,๓๓๖ กิโลเมตร ได้

          สำหรับประเทศไทยนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ซึ่งเป็นปีที่สนธิสัญญาบาวริงสิ้นสุดลง จัดว่าเป็นอิสระทางด้านเศรษฐกิจในแง่ของกฎหมายมากขึ้นแต่ก็ยังไม่จริงจังนัก เนื่องจากมีระบบเศรษฐกิจที่ เรียกว่า "เศรษฐกิจแบบจักรวรรดินิยม" คือ  บรรดาประเทศใหญ่ๆ ยังคงได้เปรียบในเรื่องเงินทุน เทคโนโลยี และความรู้ในการดำเนินการอยู่อย่างมาก ที่แน่นอนที่สุดคือ ประเทศไทยมุ่งหน้าเข้าสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมตั้งแต่นั้นมา โดยในช่วงแรกเป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาก็เป็นการผลิตเพื่อส่งออก มูลค่าของการผลิตทางอุตสาหกรรมได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีมูลค่าสูงกว่าผลิตผลทางการเกษตร เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยได้เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่แล้ว

          จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงหมายถึง วัฒนธรรมอันเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยซึ่งได้รับอิทธิพลจากวิถีการดำเนินชีวิตของประเทศทางตะวันตก ส่วนใหญ่คือประเทศอุตสาหกรรมซึ่งเป็นต้นแบบอันมีสหรัฐอเมริกา ประเทศในยุโรปญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นๆ นอกเหนือไปจากนี้มีอิทธิพลและความสัมพันธ์กับประเทศไทยน้อยมากซึ่งรูปแบบของวัฒนธรรมที่รับมาอย่างมากนั้น ก็คือรูปแบบมาตรฐานของสังคมอุตสาหกรรมนั่นเองหากพิจารณาดูอย่างละเอียดแล้ว ก็จะเห็นว่าแต่ละแห่งมีลักษณะไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก

          วัฒนธรรมของสังคมอุตสาหกรรมมีแกนหลักอยู่ ๖ ประการคือ
          ๑) การกำหนดมาตรฐาน
          ๒) ความชำนาญเฉพาะด้าน
          ๓) การสร้างความพร้อมเพรียงกัน
          ๔) การรวมหน่วย
          ๕) การสร้างคุณค่าสูงสุด
          ๖) การรวมเข้าศูนย์กลาง
ซึ่งขยายความได้ดังนี้          เมื่อสังคมได้กำหนดมาตรฐานทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องผลิตสิ่งนั้นๆ ให้ได้มาตรฐานดังที่กำหนดไว้ในขั้นแรกการผลิตให้ได้มาตรฐานก็ต้องอาศัยแรงงานที่มีคุณภาพและมีความชำนาญพอ ด้วยเหตุนี้เองการผลิตแรงงานผู้ชำนาญเฉพาะด้านจึงเกิดขึ้น นอกจากนี้สังคมอุตสาหกรรมยังเชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญจึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          อดัม สมิธ (Adam Smith) กล่าวว่า การแจกแจงงานสามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น ในงานอุตสาหกรรมรถยนต์ระยะแรกๆ ที่ยังใช้แรงงานคนกับระบบสายพานนั้น ขั้นตอนการทำงานระบบสายพานก็คือชิ้นส่วนของรถยนต์จะเลื่อนมาเรื่อยๆ ตามสายพาน ซึ่งมีคนงานยืนคอยอยู่ในตำแหน่งประจำของตนเมื่อชิ้นส่วนเลื่อนมาถึงตัว คนงานคนนั้นมีหน้าที่ขันนอตที่ล้อทั้งสองข้าง เมื่อขันแล้วก็รอล้อรถคันต่อไปที่จะเลื่อนเข้ามาถึงตัว คนงานคนนั้นขันนอตที่ล้อรถทุกวันเป็นเดือนๆ ปีๆ จนชำนาญเข้ามากๆ ถึงแม้หลับตาก็ยังขันได้ และยังขันนอตได้แน่นพอเหมาะพอดีอีกด้วย ถือว่าคนงานผู้นั้นเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านทางการขันนอตที่ล้อรถยนต์แล้ว จากตัวอย่างนี้เองจะสังเกตเห็นว่าคนงานผู้นี้ชำนาญเกี่ยวกับการขันนอตจริงๆ แต่ถ้าให้ไปทำงานอย่างอื่น แม้จะเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ เขาผู้นี้อาจทำได้ไม่ดีหรืออาจทำไม่ได้เลย

          ปัจจุบันการฝึกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมิได้จำกัดอยู่เพียงในหมู่ผู้ใช้แรงงานในโรงงานเท่านั้น หากยังมุ่งฝึกผู้มีความชำนาญในทุกขั้นตอนการผลิต และรวมถึงผู้บริหารก็ยังได้รับการศึกษาอบรมเพื่อการบริหารโดยเฉพาะเช่นเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งแยกแขนงวิชาของตนเองออกไปเป็นพิเศษ ได้รับความรู้ที่ใช้ในการประกอบอาชีพส่วนใหญ่จากสถาบันการศึกษาของตน เราอาจเรียกผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ว่า มืออาชีพ (Professional) อันได้แก่ ผู้ประกอบอาชีพแพทย์ อาจารย์ หรือ บรรณารักษ์ เป็นต้น

          นอกจากนี้ ผู้ที่ประกอบอาชีพ ซึ่งมาจากสถาบันการศึกษาเฉพาะด้านดังที่ยกตัวอย่างแล้วยังสามารถแยกแขนงความชำนาญเฉพาะด้านของตนย่อยออกไปได้อีก เช่น แพทย์ สามารถศึกษาเพื่อจะเป็นแพทย์ผู้ชำนาญด้านโรคภูมิแพ้ จักษุแพทย์ ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์ วิสัญญีแพทย์ หรือ จิตแพทย์ เช่นเดียวกับ บรรณารักษ์ เช่น บรรณารักษ์ผู้ชำนาญด้านเศรษฐศาสตร์การเกษตร บรรณารักษ์ผู้ชำนาญด้านวรรณคดีตะวันตก หรือด้านการเมืองการปกครอง เป็นต้น

          สำหรับประเทศไทยนั้น หากกล่าวถึงแรงงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม ก็อาจกล่าวได้ว่าเรามีแรงงานจำนวนมหาศาลเพื่อรองรับการขยายตัวทางอุตสาหกรรม จะเป็นแรงงานที่มีความชำนาญหรือไม่นั้น แล้วแต่ประสบการณ์และระยะเวลาในการทำงานของคนงานแต่ละคน เช่น ในการก่อสร้างอาคารต่างๆ ต้องใช้ช่างปูนเป็นจำนวนมาก หากช่างปูนที่รับสมัครมานั้น เป็นแรงงานที่มีความชำนาญอยู่แล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรงานจะดำเนินไปได้โดยราบรื่นรวดเร็วไม่ติดขัดและอัตราค่าแรงก็เป็นไปตามปกติสำหรับช่างปูนผู้ชำนาญเช่นกัน ตรงกันข้ามหากรับสมัครแรงงานที่ไม่มีความชำนาญเข้ามาบ้าง ก็จำต้องมีการฝึกฝนงานก่อน โดยอาจเป็นผู้ช่วยในขั้นแรก จนมีความสามารถพอที่จะปฏิบัติงานช่างปูน และรับค่าแรงเท่าช่างปูนผู้ชำนาญในที่สุด การเร่งฝึกแรงงานให้มีความชำนาญนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอันมากต่อการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมของไทย กล่าวคือ ขณะนี้จากการที่รัฐบาลส่งเสริมให้ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นแหล่งอุตสาหกรรมแห่งใหม่ของประเทศ หรือโครงการ "อีสเทิร์นซีบอร์ด" (Eastern Seaboard) อันได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง และท่าเรือน้ำลึก แหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ใช้ทุนมหาศาล ต้องการแรงงานในการก่อสร้างมากมาย ถือว่าเป็นการระดมกำลังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งทีเดียว ทั้งแรงงานในการวางแผนควบคุมการก่อสร้างทั้งหมด อันได้แก่ คณะสถาปนิก วิศวกร และผู้เกี่ยวข้องและแรงงานผู้ปฏิบัติการก่อสร้างจริง หากทุกฝ่ายเป็นแรงงานที่มีความชำนาญและมีคุณภาพแล้วการดำเนินงานก็สามารถก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็วทันการณ์ อุปสรรคในการทำงานที่เนื่องมาจากการขาดแคลนแรงงานที่ชำนาญ ก็จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

          แต่ในปัจจุบันความต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมและการจัดการมีขึ้นอย่างมากมาย จนไม่สามารถผลิตบุคลากรออกมารองรับการขยายตัวของแรงงานในภาคดังกล่าวได้ทัน เนื่องจากความสัมพันธ์ของไทยกับนานาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมได้มีอัตราเร่งเพิ่มขึ้นมาก จนเกิดการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดังกล่าว นี่ก็เป็นแง่หนึ่งของผลของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของไทยกับต่างประเทศนั่นเอง

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ หมายถึง, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ คือ, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ ความหมาย, ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

บทความอื่น ของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 20

สารานุกรมเล่มอื่นๆ

คำยอดฮิต

Sanook.commenu